กระทรวงอุตสาหกรรม ถก ส.อ.ท.18 ส.ค.ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 7 เดือนอนุมัติ รง.4 ลงทุน 2.1 แสนล้าน

กระทรวงอุตสาหกรรม ถก ส.อ.ท.18 ส.ค.ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 7 เดือนอนุมัติ รง.4 ลงทุน 2.1 แสนล้าน

 

สำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

 Description: OIENewLogo
 



สรุปประเด็นข่าวสำคัญ : ประจำวันพุธที่ 6 สิงหาคม 2557
 

ค่าเงินบาท (ประจำวันที่ 5 สิงหาคม 2557)   32.118 บาท/$

ทองคำแท่ง    ซื้อ   19,600.00  บาท

ขาย   19,700.00   บาท

ทองรูปพรรณ  ซื้อ   19,313.84 บาท

ขาย   20,100.00    บาท

เบนซินออกเทน 95   48.75 บาท/ลิตร

ดีเซลหมุนเร็ว     29.85 บาท/ลิตร

แก๊สโซฮอล 95        40.23 บาท/ลิตร

แก๊สโซฮอล 91    37.78 บาท/ลิตร

ข่าวในประเทศ
กล่องข้อความ: นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมกล่องข้อความ:              1. กระทรวงอุตฯ ถก ส.อ.ท.18 ส.ค.ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ        7 เดือนอนุมัติ รง.4 ลงทุน 2.1 แสนล้าน (ที่มา: หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการรายวัน, ประจำวันที่ 6 สิงหาคม 2557)   
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า   วันที่ 18 สิงหาคม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมจะหารือร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อบูรณาการร่วมการทำงานกับเอกชน หลังจากการหารือร่วมกับ ส.อ.ท.เมื่อเดือนกรกฎาคม 57 ได้เห็นชอบตั้งคณะทำงานร่วมกัน 4 คณะ ได้แก่ 1.คณะทำงานการปรับ ปรุงการอนุญาตของกระทรวงอุตสาหกรรม 2.คณะทำงานกำกับโรงงานให้ปฏิบัติตามกฎหมาย 3.กระตุ้นเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและ 4.การต่อต้านคอร์รัปชัน โดยคณะทำงานของกระทรวงอุตสาหกรรมกับ ส.อ.ท.จะมีการประชุมเพื่อขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันในทุกเดือน และเดือนสิงหาคมนี้ทางส.อ.ท.จะเป็นเจ้าภาพจัดประชุม ซึ่งการตั้งคณะทำงาน 4 ชุดล่าสุดได้กำหนดให้มีตัวแทนจากฝ่ายละ 3 คนเข้าร่วมในคณะทำงานทุกชุด ซึ่งจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและรวดเร็วซึ่งจะทำให้อุปสรรคการลงทุนต่างๆ หมดไป สำหรับการอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน(รง. 4) ทั่วประเทศผ่านหน่วยงานอนุญาตของกระทรวงอุตสาหกรรม 7 เดือน (มกราคม-กรกฎาคม 57) มีทั้งสิ้น 2,212 โรงงาน คิดเป็นเงินลงทุนทั้งสิ้น 211,314 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงาน 60,692 ซึ่งมีทิศทางลดลงเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการอนุญาตรง. 4 ที่ 2,339 โรงงานเงินลงทุน 194,535 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หลังกระทรวงอุตสาหกรรมลดขั้นตอนการพิจารณา รง. 4 ตั้งแต่ 1 กรกฎาคมให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ทำให้เดือนกรกฎาคมมีการอนุญาต รง.4 จำนวน 241 รายคิดเป็นเงินลงทุน 43,581 ล้านบาท ดังนั้น แนวโน้มการอนุญาต รง.4 ไตรมาส 4 จะดีขึ้น ทั้งนี้ การอนุญาตโรงงานในกรอบใหม่ 30 วัน คาดว่าจะเห็นชัดเจนในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งยืนยันว่าสามารถดำเนินการได้จริงนับจากวันที่ได้รับเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง โดยการอนุญาตโรงงานที่ใช้เวลาเร็วขึ้นได้ดำเนินการควบคู่ไปกับการบังคับกฎหมายอย่างเคร่งครัดและกำกับอย่างเข้มงวดซึ่งสะท้อนจากยอดคำร้องเรียน 10 เดือน(1 ตุลาคม56 - 31 กรกฎาคม 57) มีการร้องเรียน 202 เรื่องลดลง 36% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดร้องเรียน 274 เรื่อง โดยเรื่องหลักๆ ที่มีการร้องเรียนได้แก่ 1. กลิ่น 2. ฝุ่นละออง 3. น้ำเสีย ส่วนจำนวนเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น 115 ครั้งลดลง 3% โดยเหตุฉุกเฉินคือ ไฟไหม้ 66% ระเบิด 10% และอุบัติเหตุ 8%
กล่องข้อความ:              2. เอสเอ็มอีลงทุนนอกหอการค้านำทัพขยายธุรกิจในเวียดนาม รองเท้า-สิ่งทอ-ชิ้นส่วนมอเตอร์ไซค์เด่น (ที่มา: โพสต์ ทูเดย์, ประจำวันที่ 6 สิงหาคม 2557)
กล่องข้อความ: นายอิสระ ว่องกุศลกิจ   ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยได้ร่วมมือกับมูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย (ไอเมท) จัดทำโครงการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยที่ต้องการไปลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ต้องการไปลงทุนต่างประเทศ แต่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศนั้นๆ รวมทั้งขาดแผนรองรับความเสี่ยงในการทำธุรกิจ จึงทำให้การออกไปทำธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ โดยโครงการนี้จะให้บริษัทใหญ่ที่ประสบความสำเร็จเป็นพี่เลี้ยงให้แก่เอสเอ็มอี และจะนำร่องส่งเสริมการลงทุนในประเทศเวียดนาม ตอนนี้เวียดนามเริ่มนิ่งขึ้นทั้งเรื่องราคาที่ดิน กฎหมายต่างๆ ที่มีความชัดเจนขึ้น จากช่วงแรกที่มีบริษัทใหญ่ๆ ของไทยหลายรายเข้าไปลงทุนและประสบความสำเร็จมาแล้ว จึงเหมาะที่จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเข้าไปลงทุน ทั้งนี้ เบื้องต้นตั้งเป้าว่าภายใน 1 ปี จะมีธุรกิจไทยไปลงทุนในเวียดนามอย่างน้อย3 ราย โดยอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมให้ไปลงทุน ได้แก่ รองเท้า สิ่งทอ ชิ้นส่วนมอเตอร์ไซค์ และบรรจุภัณฑ์ และหากโมเดลนี้ประสบความสำเร็จก็จะขยายผลการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนอื่นๆเช่น อินโดนีเซียและพม่า
สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่จะมาเป็นพี่เลี้ยงมี 14 บริษัท เช่น ปตท. กลุ่มเครือ เจริญโภคภัณฑ์ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์และเครือเอสซีจี เป็นต้น
กล่องข้อความ:  3. อุตฯ ชิ้นส่วนบุกอินโดฯ (ที่มา: โพสต์ ทูเดย์, ประจำวันที่ 6 สิงหาคม 2557)  
กล่องข้อความ: นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ   มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า นโยบายเศรษฐกิจภายใต้ผู้นำคนใหม่น่าจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศอินโดนีเซียให้ดีขึ้น โดยเฉพาะด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่เป้าหมายที่จะผลักดันให้อินโดนีเซียเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์อาจส่งผลดีต่อผู้ประกอบการไทยเช่นกัน ทั้งนี้ ที่ผ่านมานักลงทุนญี่ปุ่นจำนวนมากได้ตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ในอินโดนีเซีย และในอนาคตจะมีผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไปลงทุนในอินโดนีเซียมากขึ้น โดยอุตสาหกรรมขั้นกลางหรือชิ้นส่วนยานยนต์ยังมีโอกาสเติบโตไปพร้อมกัน ซึ่งผู้ประกอบการไทยน่าจะเข้าไปลงทุนเพื่อป้อนวัตถุดิบให้กับผู้ผลิตยานยนต์ได้
อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ประกอบการไทยที่มีโอกาสเข้าไปลงทุนคงเป็นกลุ่มซัพพลายเออร์ของบริษัทญี่ปุ่นหรือกลุ่มที่มีลูกค้าอยู่แล้ว แต่กลุ่มที่ไปเดี่ยวๆ อาจจะทำได้ยากกว่า เพราะผู้ประกอบการอินโดนีเซียค่อนข้างมีความเข้มแข็งอยู่แล้ว และภาครัฐย่อมให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการท้องถิ่นมากกว่า ขณะที่อุตสาหกรรมอื่นๆที่ควรเข้าไปลงทุน คือ การแปรรูปสินค้าเกษตรที่ไทยมีความเชี่ยวชาญ ซึ่งในอินโดนีเซียยังมีไม่เพียงพอ

ข่าวต่างประเทศ
กล่องข้อความ:  1. ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานสหรัฐพุ่งขึ้น 1.1% ในเดือนมิ.ย.
(ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 6 สิงหาคม 2557)   
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าที่ผลิตในโรงงานสหรัฐปรับตัวขึ้น 1.1% ในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งที่สี่ในรอบห้าเดือน และมากที่สุดในรอบสามเดือน อีกทั้งยังมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ถึงเกือบสองเท่า โดย       นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่ายอดสั่งซื้อเดือนมิถุนายนจะเพิ่มขึ้น 0.6% หลังจากที่ร่วงลง 0.6% ในเดือนพฤษภาคม มียอดสั่งซื้อเดือนพฤษภาคมถูกปรับทบทวนจากรายงานก่อนหน้านี้ซึ่งระบุว่าลดลง 0.5% ยอดสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน นำโดยยอดสั่งซื้อเครื่องบิน เครื่องจักรอุตสาหกรรม รวมถึงคอมพิวเตอร์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยยอดสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์พุ่งขึ้น 8.4% ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรเพิ่มขึ้น 2.9% ขณะที่ยอดสั่งซื้อคอมพิวเตอร์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น 2.9%
สำหรับยอดสั่งซื้อสินค้าทุนนอกภาคกลาโหมซึ่งไม่รวมอากาศยาน เพิ่มขึ้น 3.3% ในเดือนมิถุนายน โดยนักเศรษฐศาสตร์จับตาดูสินค้าหมวดนี้ เพราะเป็นข้อมูลที่ใช้ประเมินแผนการใช้จ่ายและความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ซึ่งเป็นสินค้าที่มีราคาแพงและมีอายุการใช้งานอย่างน้อย 3 ปี เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ และเครื่องจักร เพิ่มขึ้น 1.7% ขณะที่ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ไม่รวมสินค้าด้านการขนส่งซึ่งมีความผันผวน ปรับตัวขึ้น 1.9% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้น 2.5%

http://www.star-circuit.com/news/Ministry-of-Economy.html