สำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ค่าเงินบาท (ประจำวันที่28กรกฎาคม2557)31.810บาท/$ |
|
ทองคำแท่ง ซื้อ 19,600.00บาท |
ขาย 19,700.00 บาท |
ทองรูปพรรณซื้อ 19,313.84บาท |
|
เบนซินออกเทน 9548.75 บาท/ลิตร |
ดีเซลหมุนเร็ว29.85บาท/ลิตร |
แก๊สโซฮอล 9540.23 บาท/ลิตร |
แก๊สโซฮอล 9137.78 บาท/ลิตร |
ข่าวในประเทศ
1. บีโอไอนำทัพ SME เจรจาธุรกิจ(ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง, ประจำวันที่ 29 กรกฎาคม2557) นายนฤชา ฤชุพันธุ์ ผู้อำนวยการหน่วยพัฒนาการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (BUILD) เปิดเผยว่า วันที่ 19 สิงหาคมนี้ หน่วย BUILD จะจัดกิจกรรมผู้ซื้อพบผู้ขาย ครั้งที่ 240 โดยนำผู้ผลิตชิ้นส่วนซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่เกี่ยวข้องในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ครอบคลุมทั้งกลุ่มพลาสติก เหล็ก รวมถึงชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เดินทางไปเยี่ยมชม บริษัท ดูคาติมอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ DUCATI MOTOR (Thailand) ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ 4 จังหวะ ที่มีกระบอกสูบของเครื่องยนต์ตั้งแต่ 500 ซีซี. ขึ้นไป ณ จังหวัดระยอง โดยการผลิตและจำหน่ายในประเทศไทยมุ่งเน้นตลาดส่งออกเป็นหลัก หรือประมาณร้อยละ 95 อาทิ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ทั้งนี้กิจกรรมสำคัญ จะเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีไทยได้ร่วมรับฟังนโยบายการจัดซื้อชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ของบริษัท ซึ่งปัจจุบันมีเป้าหมายที่จะลดสัดส่วนการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศลง และหันมาใช้ชิ้นส่วนที่จัดซื้อในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสให้กับเอสเอ็มอีที่ร่วมกิจกรรมได้ร่วมเจรจาธุรกิจเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นพันธมิตรในการผลิตชิ้นส่วนป้อนให้กับความต้องการของบริษัทในอนาคต
อย่างไรก็ตาม บริษัทกำลังมองหาวัตถุดิบที่ผู้ประกอบการไทยสามารถผลิตได้เพื่อที่จะลดการนำเข้าจากต่างประเทศลง ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการลดต้นทุนของบริษัทไปด้วย ดังนั้นในกิจกรรมครั้งนี้นอกจากจะสร้างโอกาสให้กับเอสเอ็มอีไทยในการเจรจาเพื่อก้าวไปสู่การเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนป้อนให้กับบริษัทแล้ว ยังจะช่วยทำให้ผู้ผลิตไทยสามารถนำความรู้ในเทคโนโลยีต่างๆ ที่ได้จากการเยี่ยมชมโรงงานไปพัฒนาและต่อยอดการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดได้เพิ่มขึ้นในอนาคตอีกด้วย
2.ส่งออกมิ.ย.โต 3.9% ชี้ครึ่งปีหลังฟื้น(ที่มา: เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ, ประจำวันที่ 29กรกฎาคม 2557) นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่ายอดการส่งออกเดือนมิถุนายน 2557 มีมูลค่า 19,842 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 3.90% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 18,049 ล้านดอลล์ ลดลง14.03 % เกินดุลการค้ากว่า 1.7 พันล้านดอลลาร์ส่วนการส่งออกช่วงครึ่งปีแรก (มกราคม - มิถุนายน) มีมูลค่า 112,704.4.ล้านดอลลาร์ลดลง 0.35% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนการนำเข้ามูลค่า 112,467.7 ล้านดอลลาร์ ลดลง 14% เกินดุลการค้ามูลค่า 236.7 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ สินค้าที่ทำให้ภาพรวมการส่งออกในเดือนมิถุนายนกระเตื้องขึ้น คือสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 2.6% โดยสินค้าข้าวขยายตัว 35.1% มันสำปะหลัง 42.3% แต่ยางพาราลดลง 20.9% หมวดอาหาร 7.6% แต่รายสินค้าทูน่ากระป๋องลดลง 15.2% ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 3.9% เช่นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัว 3.4% เครื่องใช้ไฟฟ้า ขยายตัว 3.4%ด้านตลาดส่งออกเดือนมิถุนายน 2557 ตลาดหลักขยายตัว 8.4% มูลค่า 5,798 ล้านดอลลาร์ แต่ญี่ปุ่นทรงตัว 0% มูลค่าการค้า 1,919 ล้านดอลลาร์ สหรัฐขยายตัว 11.2% มูลค่า 2,057 ล้านดอลลาร์ สหภาพยุโรปขยายตัว 15.4 % มูลค่า 1,822 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ตลาดอาเซียน ขยายตัว 2.3% มูลค่า 5,257 ล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม ขณะที่สินค้าส่งออกช่วง 6 เดือนแรก ในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 2% จากเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนวัสดุกลุ่มก่อสร้างลดลง 20.4% เนื่องจากอุปทานเหล็กในตลาดโลกอยู่ในระดับสูงสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรลดลง 5% เพราะยางพารา อาหารทะเลแช่แข็งกระป๋องและแปรรูปรวมถึงน้ำตาลหดตัว จากสาเหตุราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง 3. สมาคมค้าปลีกฯชงคสช.ตั้งกระทรวงดูแลเฉพาะ(ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์, ประจำวันที่ 29 กรกฎาคม 2557) น.ส.บุษบา จิราธิวัฒน์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า สมาคมได้มีการนำเสนอ 12 มาตรการ ผ่านสภาหอการค้าไทยไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมค้าปลีกให้มีการขยายตัวต่อเนื่องทั้งนี้ หนึ่งในมาตรการที่นำเสนอและอยากให้มีการจัดตั้ง คือ กระทรวงพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และการค้า เพื่อเข้ามาดูแลอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีและผู้ประกอบการค้าปลีกโดยเฉพาะ เนื่องจากปัจจุบันอุตสาหกรรมค้าปลีกยังไม่มีหน่วยงานเฉพาะของภาครัฐเข้ามาดูแลสำหรับกระทรวงพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และการค้าที่เสนอให้จัดตั้งต้องนำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกรมพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย รวมถึงหน่วยงานที่กระจายอยู่มารวมกันในกระทรวงดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ขณะที่มาตรการที่เหลือ ได้แก่ 1.การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน 2.การช่วยเหลือภาคเอกชน 3.การสนับสนุนการขยายตัวของภาคค้าปลีกอย่างชัดเจน 4.รัฐบาลควรเจรจาในระดับ G2G กับรัฐบาลในกลุ่มอาเซียน 5.ควรจัดให้มีหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางในการออกใบอนุญาต 6.ส่งเสริมการค้าชายแดนอย่างชัดเจน 7.การสร้างความเชื่อมั่นและบรรยากาศการจับจ่ายและลงทุน 8.กำหนดมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการSME 9.ประเทศไทยให้เป็นจุดหมายการท่องเที่ยวที่ครบวงจร 10.ต้องไม่ปิดกั้นการเข้าไปทำธุรกิจร้านค้าปลอดภาษีในสนามบินและพื้นที่ค้าปลีกนอกสนามบิน11.ในนิมิตของการจ้างงานให้สมาคมผู้ค้าปลีกไทยเป็นสถาบันที่จะสร้างงานและพัฒนาบุคลากรที่สำคัญ และ12.การชงตั้งกระทรวงดังกล่าว
ข่าวต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นปล่อยกู้รายย่อยพม่า(ที่มา:หนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์,ประจำวันที่ 29กรกฎาคม 2557) เว็บไซต์ข่าวอีเลเวน เมียนมาร์ เปิดเผยว่า องค์กรเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจกา) กำลังพิจารณาการให้สินเชื่อแก่ธนาคารพม่าแห่งหนึ่ง เพื่อให้มีสภาพคล่องในการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก(เอสเอ็มอี) ต่อไป ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าธนาคารดังกล่าวคือ ธนาคารเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มไอดีบี) ทั้งนี้ เอสเอ็มไอดีบีเป็นธนาคารที่ตั้งขึ้นเพื่อการปล่อยสินเชื่อแก่บรรดาธุรกิจรายย่อยในพม่า โดยคิดอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 8.5%และให้วงเงินแก่ธุรกิจรายย่อยได้มากที่สุด100 ล้านจ๊าด (ราว 3 ล้านบาท)
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ไจกายังคงอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาว่า จะปล่อยสินเชื่อให้แก่ธนาคารเอสเอ็มไอดีบี หรือจะเป็นธนาคารซีบี ซึ่งธนาคารเอกชนรายใหญ่เช่นกันปัจจุบันธุรกิจเอสเอ็มอีคิดเป็น 99%ของธุรกิจทั้งหมดในพม่า และมีความสำคัญในทางเศรษฐกิจ โดยในรายย่อยยังขาดการลงทุนขนาดใหญ่ นอกจากนี้ส่วนใหญ่ประสบปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินกู้อีกด้วย