ซีเนอร์ไดโอด (Zener Diode)
ซีเนอร์ไดโอด (Zener Diode) เป็นไดโอดชนิดหนึ่งมีโครงสร้างเหมือนไดโอด คือประกอบขึ้นมาจากสารกึ่งตัวนำ 2 ตอน ชนิด P และ N ขาแอโนด (A) และขาแคโถด (K) เช่นเดียวกับไดโอด ความแตกต่างของซีเนอร์ไดโอดที่แตกต่างไปจากไดโอดธรรมดาตรงขบวนการผลิตซีเนอร์ไดโอด การเติมสารเจือปนลงไปในธาตุซิลิกอนมีจำนวนน้อยและจำนวนมากกว่าปรกติ พร้อมกับขบวนการผลิตเฉพาะ จึงได้ซีเนอร์ไดโอดขึ้นมาใช้งาน
ซีเนอร์ไดโอดจะนำไปใช้งานในช่วงไบอัสกลับที่ค่าเบรคดาวน์ ที่เรียกว่า ซีเนอร์ เบรคดาวน์ (Zener Berakdown) ซึ่งมักจะเรียกว่าแรงดันซีเนอร์เบรคดาวน์ (Zener Berakdown Voltage) เป็นค่าแรงดันที่ตัว ซีเนอร์ไดโอดทำการควบคุมให้คงที่ตลอดเวลา
โครงสร้างและสัญลักษณ์ของซีเนอร์ไดโอด
กราฟลักษณะสมบัติทางไฟฟ้าของซีเนอร์ไดโอด
การพังทลายของซีเนอร์ การพังทลายของซีเนอร์ไดโอดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ การพังทลายแบบอะวาเลนซ์ (Avalanche) คือเมื่อไดโอดได้รับไบอัสกลับแรงดันสูงสุดจนทำให้มีกระแสไหลย้อนกลับผ่านไดโอดจำนวนมากทำให้รอยต่อของไดโอดทะลุและใช้งานไม่ได้ การพังทลายอีกแบบหนึ่งคือ การพังทลายแบบซีเนอร์ เป็นการพังทลายที่เกิดขึ้นกับแรงดันไบอัสกลับค่าต่ำๆ ซึ่งกำหนดได้จากการโด๊ป
สารกึ่งตัวนำที่ใช้ผลิตซีเนอร์ไดโอด การพังทลายแบบซีเนอร์นี้จะมีกระแสไหลผ่านซีเนอร์ไดโอดจำนวนหนึ่ง ซึ่งต้องจำกัดไม่ให้เกินค่าพิกัดสูงสุดและจะเกิดสภาวะที่แรงดันตกคร่อมซีเนอร์ไดโอดมีค่าคงที่เรียกว่า แรงดันซีเนอร์ คุณสมบัติข้อนี้สามารถนำซีเนอร์ไดโอดไปเป็นวงจรควบคุมแรงดันไฟตรงให้คงที่ได้
คุณลักษณะของการพังทลาย จากกราฟคุณสมบัติทางไฟฟ้าขอแรงดันและกระแสดังรูป VZ เป็นแรงดันเบรกดาวน์หรือแรงดันซีเนอร์ ในการพังทลายของซีเนอร์ไดโอดเมื่อได้รับไบอัสกลับ เมื่อเพิ่มแรงดันไบอัสกลับจนถึงค่าแรงดันซีเนอร์จะมีกระแสไหลผ่านซีเนอร์ไดโอดมากขึ้น ที่จุดเอียงของกราฟจะมีกระแสไหลผ่านซีเนอร์ไดโอดเท่ากับ IZ (knee current) ซึ่งเป็นกระแสบริเวณเส้นโค้งดังรูปด้านบน และถ้าซีเนอร์ไดโอดได้รับแรงดันย้อนกลับสูงขึ้นอีก กระแสจะเพิ่มขึ้นแต่แรงดันซีเนอร์จะคงที่ แต่ถ้าเพิ่มกระแสเกินกว่าค่ากระแสซีเนอร์สูงสุด IZm(maximum current) แรงดันซีเนอร์จะไม่คงที่และชำรุดได้
ดังนั้นการนำซีเนอร์ไดโอดไปใช้งานในการควบคุมให้แรงดันไฟตรงคงที่นั้น จึงต้องออกแบบวงจรควบคุมให้มีกระแสไหลผ่านซีเนอร์ไดโอดอยู่ระหว่างค่ากระแสบริเวณเส้นโค้ง IZK ถึงค่ากระแสสูงสุด IZM สำหรับกระแส Izt หมายถึง ค่ากระแสทดสอบที่แรงดันซีเนอร์ซึ่งเป็นค่ากระแสตามค่าที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ในตารางคุณสมบัติของซีเนอร์ที่ใช้งานทั่วไป
ดังนั้นการนำซีเนอร์ไดโอดไปใช้งานในการควบคุมให้แรงดันไฟตรงคงที่นั้น จึงต้องออกแบบวงจรควบคุมให้มีกระแสไหลผ่านซีเนอร์ไดโอดอยู่ระหว่างค่ากระแสบริเวณเส้นโค้ง IZK ถึงค่ากระแสสูงสุด IZM สำหรับกระแส Izt หมายถึง ค่ากระแสทดสอบที่แรงดันซีเนอร์ซึ่งเป็นค่ากระแสตามค่าที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ในตารางคุณสมบัติของซีเนอร์ที่ใช้งานทั่วไป
วงจรสมมูลของซีเนอร์ไดโอด
ตารางคุณสมบัติของซีเนอร์ไดโอด การที่จะนำซีเนอร์ไดโอดมาใช้งานจำเป็นจะต้องทราบพิกัดต่างๆ ของซีเนอร์ไดโอดเช่น แรงดันซีเนอร์, อัตราทนกำลังไฟสูงสุด ซึ่งสามารถศึกษาได้จากคู่มือดังแสดงในตาราง
เบอร์ |
VBR (V) |
IS (mA) |
VRWM (V) |
IR ( A) |
IRMS (mA) |
VRMS (V) |
1N6267A |
6.8 |
10 |
5.8 |
1000 |
143 |
10.5 |
1N6268A |
7.5 |
10 |
6.4 |
500 |
132 |
11.3 |
1N6269A |
8.2 |
10 |
6.02 |
200 |
124 |
12.1 |
1N6270A |
9.1 |
1 |
6.78 |
50 |
112 |
13.4 |
1N6271A |
10 |
1 |
8.55 |
10 |
103 |
14.5 |
1N6272A |
11 |
1 |
9.4 |
5 |
96 |
15.6 |
1N6273A |
12 |
1 |
10.2 |
5 |
90 |
16.7 |
1N6274A |
13 |
1 |
11.1 |
5 |
82 |
18.2 |
1N6275A |
15 |
1 |
12.8 |
5 |
71 |
21.2 |
VBR (V) หมายถึง แรงดัน Breakdown Voltage
IS (A) หมายถึง กระแสที่ไหลผ่านซีเนอร์ไดโอดขณะที่มี RS
VRWM (V) หมายถึง แรงดันย้อนกลับสูงสุด
IR ( A) หมายถึง กระแสรั่วไหลสูงสุด
IRMS (A) หมายถึง กระแสไหลย้อนกลับไม่คงที่
VRMS (V) หมายถึง แรงดันย้อนกลับสูงสุด
การใช้งานซีเนอร์ไดโอด ซีเนอร์ไดโอดนำไปใช้งานหลายอย่างเช่น วงจรคลิป (Clipping Circuit) วงจรรักษาแรงดันให้คงที่ (Voltage Regulator Circuit) โดยเฉพาะในวงจรรักษาแรงดันให้คงที่ ดังรูป ในการต่อใช้งานทุกครั้งจะต้องมีความต้านทานต่ออนุกรมเสมอ เพื่อป้องกันกระแสไหลผ่านซีเนอร์ไดโอด (IZ) เกินค่าพิกัดซึ่งจะทำให้ชำรุดได้และตัวต้านทานที่ใช้จะต้องมีการคำนวณหาค่าความต้านทานที่เหมาะสมวงจรจึงจะทำงานได้ดี
วิธีการทดลอง
การทดลองที่ 1 วงจรการทำงานของซีเนอร์ได้โอดในลักษณะการป้อนกลับ
ผลการทดลองที่ 1
Vs (V) |
I1 (mA) |
|
7.48 |
0 |
All readings are for Vd just equal |
12 |
100.8 |
|
14 |
146.5 |
|
16 |
191.2 |
|
18 |
237 |
|
20 |
288.5 |
ตารางที่ได้จากการคำณวน
VS (V) |
Vr |
Vd = Vs-Vr |
Id = Vr |
Pd = Vd x Id |
0 |
0 |
0 |
0 |
0 |
2 |
0 |
2 |
0 |
0 |
4 |
0 |
4 |
0 |
0 |
6 |
0 |
6 |
0 |
0 |
6.5 |
0 |
6.5 |
0 |
0 |
7.0 |
0 |
7 |
0 |
0 |
7.5 |
0.2 |
7.3 |
0.2 |
1.46 |
8.0 |
0.8 |
7.2 |
0.8 |
5.76 |
8.5 |
1.25 |
7.25 |
1.25 |
9.0625 |
9.0 |
1.75 |
7.25 |
1.75 |
12.6875 |
10.0 |
2.8 |
7.2 |
2.8 |
20.16 |
15.0 |
7.6 |
7.4 |
7.6 |
56.24 |
20.0 |
12.6 |
7.4 |
12.6 |
93.24 |
สรุปผลการทดลองที่ 1
จากการทดลอง เมื่อป้อนแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงให้วงจรตามค่าต่างๆที่กำหนดให้ ตัวซีเนอร์ไดโอดจะเริ่มนำกระแสและรักษาระดับแรงดันที่ Vs = 7.5VDC เนื่องจากคุณสมบัตของซีเนอร์ไดโอดเบอร์นี้มีแรงดันซีเนอร์ที่ 7.5 V จึงเริ่มนำกระแสตั้งแต่จุดนี้เป็นต้นไปเมื่อป้อน Vs เกินแรงดันของซีเนอร์แรงดันจะไปตกคร่อมที่ตัวต้านทานที่ต่ออนุกรมแทน ดังนั้นแรงดันที่ตัวซีเนอร์ไดโอดจึงมีค่าคงที่โดยประมาณ 7.5 V ตามคุณสมบัติของซีเนอร์ไดโอดซึ่งสามารถนำไปทำเป็นวงจรรักษาระดับแรงดันให้คงที่ได้
เครื่องเมือและอุปกรณ์
วิธีทดลอง
วงจรซีเนอร์เร็กกูเรเตอร์
ผลการทดลองที่ 2
Vs (V) |
I1 (mA) |
|
20 |
127 |
All readings are for Id just equal |
19 |
108 |
|
18 |
89 |
|
17 |
72 |
|
16 |
53 |
|
15 |
33 |
สรุปผลการทดลองที่ 2
จากการทดลอง เมื่อป้อนแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงให้วงจรตามค่าต่างๆที่กำหนดให้ ตัวซีเนอร์ไดโอด จะมีแรงดันตกคร่อมตัวซีเนอร์ไดโอดคงที่7.5 V และมีโหลดเป็นตัวต้านทาน 27 ? ซึ่งมี VR ปรับค่าได้เป็นตัวปรับเพื่อเป็นวงจรแบ่งแรงดันที่ตกคร่อม ตัวต้านทาน 27 ?
http://www.star-circuit.com/article/THE_ZENER_DIODE/ZENER-DIODE.html