ขั้วต่อต่าง ๆ

สายที่ต่อออกจากกล่องเพาเวอร์ซัพพลายจะมีลักษณะแตกต่างกันเพื่อใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนี้

           "ขั้วต่อกับเมนบอร์ด"ขั้วที่ใช้ต่อเข้ากับเมนบอร์ดจะมีลักษณะที่ไม่เหมือนใคร เนื่องจากมีทั้งไฟเลี้ยงและสัญญาณมากมายจะต้องต่อเชื่อม ในยุคเริ่มแรกหรือแบบที่เรียกว่า AT จะมี 2 ขั้วต่อสำหรับเมนบอร์ดที่มักจะเรียกว่า P8 กับ P9 ขั้วต่อเหล่านี้จะมีสายไม่มากนัก เนื่องจากมีเพียงสัญญาณPower Good กับไฟ +5V , +12V , -12V และกราวด์เท่านั้น โดย +5V และกราวด์ จะมีหลายเส้นเนื่องจากจะต้องจ่ายกระแสไฟปริมาณมาก ซึ่งสายไฟขนาดต่าง ๆจะมีความสามารถในการรองรับกระแสได้จำกัดดังที่ได้แสดงไว้ในตาราง

AWG เส้นผ่านศูนย์กลาง (มม.) พื้นที่หน้าตัด (ตารางมม.) รับกระแสได้สูงสุดโดย ประมาณ (แอมป์)
16
1.29
1.31
19
18
1.02
0.82
15
20
0.81
0.52
10
22
0.644
0.33
8

          ปกติแล้วสีของฉนวนหุ้มสายไฟก็จะแตกต่างกันไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นไฟต่างชนิดกันแต่ก็ไม่มีการกำหนดมาตรฐานที่แน่นอนไว้ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้สีดำเป็นกราวด์ (0 โวลต์) และแดงเป็น +5V
          ขั้วต่อของเพาเวอร์ซัพพลายแบบ ATX ได้รับการเปลี่ยนแปลงให้ลดความเสี่ยงในการติดผิดได้ โดยใช้ขั้วต่อชุดเดียวที่มี 20 ขั้วต่อและเสียบสลับข้างไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีกำหนดขนาดของสายไว้ชัดเจนว่าจะต้องเป็น AWG 18 โดยสายไฟ 3.3Vที่เพิ่มขึ้นมาจะเป็นสีส้ม
          นอกจากนี้ยังมีการกำหนดมาตรฐานสำหรับสายต่อเพิ่มเติมในกรณีของเพาเวอร์ซัพพลายที่ต้องจ่ายไฟมาก ๆ ให้มีสายเพิ่มอีก 1 ชุด เป็นเบอร์ AWG 16 จำนวน 6 ขั้วต่อ สำหรับ +3.3V 2 เส้น , +5V และกราวนด์อีก 3 เส้น ส่วน SFX และ WTX ก็จะมีเพิ่มเติมอีกต่าง ๆ กันออกไป

          "ขั้วต่อเมนบอร์ด Pentium 4" สำหรับเมนบอร์ดของ Pentium 4 พาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้จะต้องมีขั้วต่อเพิ่มขึ้นมาอีกเป็นพิเศษ เพื่อจ่ายไฟที่เพิ่มมากขึ้นให้แก่ เมนบอร์ดได้ และต้องใช้แหล่งจ่ายไฟที่จ่ายกระแสได้สูงขึ้นด้วย ซึ่งขั้วต่อนี้ไม่มีอยู่ในแหล่งจ่ายไฟ ATX รุ่นเดิม ๆ ดังนั้นเมนบอร์ดนี้จึงต้องใช้กับแหล่งจ่ไฟเฉพาะสำหรับ Pentium 4 ด้วยเช่นกันดังรูป

          "ขั้วต่อไดรว์ต่าง ๆ" ขั้วต่อดิสก์ไดรว์จะมีลักษณะที่ต่างจากขั้วต่อเมนบอร์ด โดยมีอยู่ 2 ขนาดคือ ขนาดเล็กสำหรับฟล๊อปปี้ดิสก์ และขนาดใหญ่สำหรับอาร์ดดิสก์และไดรว์ซีดีรอม โดยทั้งหมดจะมีสาย 4 เส้นเหมือน ๆ กัน คือ ไฟ + 5V. + 12V กับกราวด์ 2 เส้น

สเป็คของเพาเวอร์ซัพพลาย
          ถ้าสนใจที่จะศึกษาหรือเรียนรู้เพิ่มเติมไม่ว่าเพื่อการเลือกซื้อหรือประโยชน์อื่น ก็ควรจะทราบว่ามีจุดใดบ้างที่จะต้องพิจารณาและมีความหมายว่าอย่างไร

          "สเป็คและรายละเอียดทางกายภาพ" ขนาดและรูปแบบของตัวเพาเวอร์ซัพพลายก็เป็นสิ่งสำคัญถ้าต้องการซื้อมาใช้ในเครื่องที่มี
อยู่แล้ว รูปแบบหรือ Form Factor ก็คือ พิจารณาว่าเป็น ATX , micro ATX หรือ ATธรรมดา (ถ้ายังต้องการใช้อยู่)
          ขั้วต่อกับเมนบอร์ดก็เป็นส่วนสำคัญที่แบ่งแยกกันชัดเจนถึงรูปแบบซึ่งจะต้องขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดที่ใช้ ได้แก่ AT , ATX , SFX , WTX เป็นต้น ส่วนขั้วต่อไดรว์ก็ต้องดูว่ามีขนาดเล็กจำนวนเพียงพอหรือไม่ ขนาดใหญ่มีเท่าไร ส่วนพัดลมก็มักจะไม่บอกว่าใช้ sleeve beating หรือ
ball bearing ส่วนทิศทางการเป่าลมก็มักจะไม่รู้จนกว่าจะทดลองเปิดดู แต่ที่เห็นแน่ ๆ ก็คือไม่ว่าขนาดใหญ่หรือเล็ก แรงดันก็มักจะเป็น 12 โวลต์ ส่วนความสามารถในการเป่าลมจะวัดเป็นCFM (Cubic Feet per Minute) คือ กี่ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที ซึ่งยิ่งมากก็ยิ่งดี

          "สเป็คเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมในการทำงาน" ได้แก่ อุณหภูมิที่สามารถทำงานได้ ซึ่งหมายถึง่วงอุณหภูมิภายนอกว่าต่ำสุดเท่าไรและสูงสุดเท่าไร ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอุณหภูมิห้องของบ้านเรา (0-50°C)
          ส่วนอุณหภูมิในการเก็บ (storage temperature) ก็คือ อุณหภูมิขณะที่ไม่ได้ใช้งาน ซึ่งมักจะเป็นช่วงกว้างกว่าอุณหภูมิที่ใช้งาน ความชื้น (humidity) ก็มักจะเป็นความชื้อสัมพัทธ์ระหว่าง 10-90% และความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเล (altitude) ก็มักจะเป็นตัวเลขทีไม่มีปัญหาแม้จะเอาเครื่องขึ้นไปบนยอดดอยอินทนนท์ก็ตาม

          "ช่วงแรงดันไฟฟ้าเข้าที่รับได้"  เป็นตัวเลขที่สำคัญ โดยมากเวลาพูดถึงแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ จะพูดถึงตัวเลขเฉลี่ยคือ 115โวลต์หรือ 230 โวลต์ แต่ช่วงแรงดันไฟที่รับได้จริง ๆ อาจจะอยู่ระหว่าง 85-135 โวลต์หรือ170-270 โวลต์ ซึ่งถ้าไฟบ้านไม่เกินไม่ตกมากจนเกินไปก็มักจะอยู่ในช่วงที่เพาเวอร์ซัพพลายเตรียมไว้ให้รับได้อยู่แล้ว ส่วนสำคัญก็คือ เลือกช่วงแรงดันได้หรือไม่ถ้าอาจจะมีการนำไปใช้ในประเทศอื่น ๆ ในส่วนของความถี่ของไฟบ้านก็มักจะรับได้ทั้ง 50Hz และ 60Hz อยู่แล้วโดยมี ช่วงอยู่ระหว่าง 48-62 Hz ตัวเลขสุดท้าย คือ Power Factor เป็นตัวเลขที่บอกให้เห็นประสิทธิภาพการแปลงแรงดันของเพาเวอร์ซัพพลายว่าในขนาดกำลังไฟที่ใช้นั้นต้องการกำลังไฟมากน้อยเพียงใด โดยมากจะทำงานอยู่ที่ 60-70% ซึ่งตัวเลขยิ่งสูงก็ยิ่งดี

          "สเป็คเกี่ยวกับที่จ่ายไฟออก" สเป็คที่สำคัญที่สุดก็คือ ไฟที่จ่ายออกมาจากเพาเวอร์ซัพพลายซึ่งแสดงให้เห็นการทำงานที่
ของมันว่า ทำได้ดีเพียงใด ตัวเลขหลักที่พูดถึงเสมอก็คือ สามารถจ่ายไฟได้สูงสุดเท่าใด (Output Rating) ในหน่วยเป็นวัตต์ ซึ่งเป็นตัวเลขคร่าว ๆ อาจไม่เพียงพอต่อการพิจารณาความสามารถ ในการจ่ายไฟจริงก็ได้ แท้ที่จริงแล้วจะต้องดูที่ความสามารถในการจ่ายกระแสได้สูงสุดสำหรับแต่ ละค่าแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายออกมา และอาจจะต้องดูตัวเลขกำลังไฟฟ้ารวมของแรงดันไฟ +3.3V กับ +5V ว่ารวมแล้วไม่เกินกว่าเท่าใด เพราะมักจะมีผลกระทบต่อกัน (ขึ้นอยู่กับการออกแบบ) ตัวเลขการจ่ายไฟของไฟ + 12V ก็อาจจะมีแสดงทั้งตัวเลขขณะจ่ายไฟต่อเนื่องตามปกติกับขณะที่มีความต้องการสูงในช่วงสั้น ๆ (Peak Output) ที่อาจเกิดขึ้นได้ตามปกติเช่น ตอนเปิดเครื่อง ใหม่ ๆ ที่มอเตอร์ของฮาร์ดดิสก์และอุปกรณ์อื่น ๆ บางตัวต้องใช้ไฟพร้อมกันในปริมาณมาก


          ตัวอย่าง ไฟขาออกของเพาเวอร์ซัพพลาย (ที่โฆษณาว่ามี) ขนาด 250 วัตต์ตัวหนึ่ง โดยจ่ายไฟได้สูงสุด 250 วัตต์ตลอดเวลา (Continuous Total DC Output Pattern) ดังนี้

แรงดัน
จ่ายกระแสได้สูงสุด (แอมแปร์)
คิดเป็นกำลังไฟฟ้า (วัตต์)
+12
13
12 x 13 = 156
+5V
25
5 x 25 = 125
+3.3V
16
3.3 x 16 = 52.8
-5V
0.3
5 x 0.3 = 1.5
-12V
1.2
12 x 1.2 = 14.4
รวม +5V และ +3.3V
-
ต้องไม่เกิน 150
รวม
                                                    -
156+150+1.5+14.4 = 321.9
          สังเกตว่ามีการบอกค่าสูงสุดของกำลังไฟฟ้ารวมสำหรับ +3.3V และ +5V ว่าต้องไม่เกินเท่าไหร่ด้วย จึงต้องใช้ค่ารวมนี้แทนการบอกแยกกัน ดังที่แสดงไว้ในตัวอย่างข้างต้น นอกจากนี้ค่ากำลังไฟรวมทั้งหมดที่เราบวกเองจากทุกแรงดันรวมกัน (321.9 วัตต์) ก็เป็นค่า Peak คือสูงสุดชั่วขณะหนึ่ง ๆ ซึ่งค่านี้ปกติจะมากกว่ากำลังไฟแบบต่อเนื่องที่จะต้องไม่เกิน 250 วัตต์เท่านั้น