รับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

SMF - Just Installed!

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมการทำธุรกิจจะต้องยิงแอด Google  (อ่าน 56 ครั้ง)

nanasee

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 97
    • ดูรายละเอียด
ทำไมการทำธุรกิจจะต้องยิงแอด Google
« เมื่อ: ธันวาคม 19, 2024, 02:49:25 AM »


ความสำคัญของ Google ads ในด้านการตลาด
Google Ads คือการทำโฆษณาผ่าน Search Engine ของ Google อัลกอริทึมจะจับคู่ Keyword ที่ผู้ใช้ค้นหาเข้ากับคำบนโฆษณาที่เขียนขึ้นจากทั้งใน Landing Page และข้อความโฆษณาโดยปกติแล้วส่วนที่เป็นโฆษณาหรือ SEM จะปรากฏอยู่ในอันดับบนสุดถัดมาถึงจะเป็นคอนเทนต์แบบ SEO เพื่อให้ผู้ใช้งานให้ความสนใจกับโฆษณาก่อนเป็นอย่างแรกซึ่งตัวโฆษณาสามารถสร้าง CTA กำหนดให้ผู้ใช้งานเข้ามามีส่วนร่วมกับโฆษณาในแบบต่าง ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็น เพิ่มยอดการโทร ยอดการเข้าชมเว็บไซต์ หรือกรอกข้อมูลติดต่อกลับเพื่อให้ปิดการขาย โดยที่ผู้ลงโฆษณาสามารถกำหนดงบประมาณ การออกแบบแคมเปญ และควบคุมการยิงโฆษณาผ่านหลังบ้าน Google Ads ได้ด้วย ปัจจุบันมีคอร์สสอนยิงแอด google เอาไว้มากมายให้ผู้ที่สนใจสามารถเลือกเข้าไปเรียนรู้ เพื่อนำมาปรับใช้กับธุรกิจของตนเองได้อย่างตรงจุด และได้ผลลัพธ์ดีที่สุด

การยิงแอด Google มีหลักการทำงานอย่างไร?
การยิงแอด Google ใช้ระบบการโฆษณาแบบ PPC (Pay Per Click) ซึ่งหมายถึงการโฆษณาบนเครื่องมือค้นหา โดยผู้ลงโฆษณาจะกำหนด Keyword หรือคำค้นหาที่ผู้คนใช้ในการค้นหาบน Google และเสนอราคา Bidding ใน Keyword ตามที่ต้องการได้ นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดงบประมาณสำหรับโฆษณารายวันสูงสุดได้อีกด้วย โดยการจ่ายเงินในการประมูลโฆษณา Google Ads มี 3 รูปแบบดังนี้
1.Cost per click (CPC)  รูปแบบนี้เป็นการจ่ายเงินตามจำนวนครั้งที่มีการคลิกโฆษณาของคุณ สำหรับ Google Ads โดยการกำหนดราคาใช้จ่ายเป็นแบบ CPC นี้ได้รับความนิยมสูงมาก
2.Cost per mille (CPM) คือ CPM หมายถึงต้นทุนต่อพันครั้งการแสดงผล คุณจะต้องกำหนดราคาในการโฆษณาโดยจ่ายเงินสำหรับการแสดงผลครบ 1,000 ครั้ง โดยจะนับรวมทั้งหมด ทั้งโฆษณาที่มีการคลิกเข้ามาดู และโฆษณาที่ไม่มีการคลิกเข้ามาดูเลยก็ตาม
3.Cost per engagement (CPE) คือ รูปแบบนี้เป็นการกำหนดราคาสำหรับการโฆษณาโดยจ่ายเงินตามจำนวนครั้งที่มีคนเข้ามาเข้ามาชม หรือทำการจ้างงานกับโฆษณา เช่น การดูวิดีโอหรือการลงทะเบียน

บริการ Google Ads มีอะไรบ้าง?
1. Google Search
เป็นบริการของ กูเกิล แบบปกติทั่วไป เมื่อมีคนพิมพ์คำค้นหาลงในช่องค้นหา Google จะจับคู่ผลลัพธ์ที่มี Keyword ใกล้เคียงที่สุดขึ้นแสดงผลให้ผู้ใช้งานเห็น แตกต่างจากแบบ SEO คือจะมีการ Bid หรือการประมูลซื้อพื้นที่โฆษณาให้กับแบรนด์ลงบนข้อความโฆษณาส่วนนี้คุณต้องเขียน Headline และ Description โดยใช้ Keyword ที่ครอบคลุมการค้นหาให้มากที่สุด เพื่อให้เว็บไซต์ถูกจัดอันดับที่สูงขึ้น เพราะลิงก์ที่อยู่ลำดับบนจะได้ยอด Click Through Rate สูงกว่าลิงก์ที่อยู่ด้านล่าง

2. Google Display Network (GDN)
เป็นโฆษณาที่เห็นได้มากพอ ๆ กับ Google Search แต่จะเพิ่มลูกเล่นมากกว่าโดยการแทรกรูปภาพสินค้าหรือวิดีโอเข้าไปในแบนเนอร์ ซึ่งก็มักจะปรากฏในหน้าค้นหาของ Google และในหน้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เปิดพื้นที่ให้ลงโฆษณาได้ ซึ่งก็ต้องเลือกเว็บไซต์ที่จะนำไปลงอีกที โดยแต่ละเว็บที่จะนำไปลงต้องเป็นเว็บที่เกี่ยวข้องกับสินค้า หรือบริการที่คุณมีมากที่สุดเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดที่สุด ยกตัวอย่าง บริษัทที่ให้บริการเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ ควรเลือกทำ GDN กับเว็บไซต์ที่พูดถึงเรื่องเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ แก็ดเจ็ตอุปกรณ์ไอที เป็นต้น

3. YouTube Ads
ถ้าใครที่ไม่มี YouTube Premium ก็ต้องพบเจอกับโฆษณาเข้ามาคั่นเวลาดูวิดีโอกันบ่อยมาก และบางโฆษณาก็กินเวลาหลายวินาทีกว่าจะกดข้ามได้ หรือบางทีก็กดไม่ได้ ซึ่งโฆษณาเหล่านี้คือผลจากการทำ YouTube Ads ที่เอารูปแบนเนอร์หรือวิดีโอลงไปโฆษณาบนยูทูบ ก็เพื่อให้ผู้ใช้งานเห็นผ่านตามากขึ้น โดยการจัดหมวดหมู่โฆษณาว่าแบนเนอร์ไหนควรไปอยู่ในคลิปไหนนั้น มักเลือกจากช่องของ Influencers ที่มีความสนใจตรงกับสินค้าของแบรนด์ด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ คลิปที่มียอดเข้าชมสูง ๆ ก็เป็นที่หมายตาของแบรนด์ด้วยเช่นกัน หรือจะฝากโฆษณากับช่องที่มีกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ติดตามอยู่ก็ดีไม่แพ้กัน

4. Mobile App Ads
เรามักมีภาพจำมาเสมอว่า Google โดยปกติจะให้บริการบนเว็บไซต์แพลตฟอร์มเป็นส่วนใหญ่ แต่จริง ๆ แล้ว Google ยังให้บริการผ่านแอปพลิเคชันด้วยเช่นกัน ซึ่งก็ต้องเป็นแอปฯ ที่เป็นลูกข่ายของ Google Partner ถึงจะใช้งานโฆษณาแฝงนี้ได้ พบได้บ่อยในระบบ Android อย่าง Google Play Store (ส่วนระบบของ Apple เป็นระบบแยกของตัวเองไม่ได้เป็นเครือข่ายของ Google จึงหาแอปฯ Google ได้น้อยกว่า) ซึ่งทุกแอปฯ ที่เปิดให้ดาวน์โหลดใน Play Store ก็นับเป็นส่วนหนึ่งของ Google ที่สามารถแฝงโฆษณาลงไปในแอปฯ ได้แบบเนียน ๆ ซึ่งส่วนมากแล้วจะเป็นแอปฯ ฟรีมากกว่า ยกตัวอย่าง เกมฟรีที่พอเล่นไปสักพักก็จะมีโฆษณาเด้งขึ้นมาให้ซื้อไอเทมหรือเวลาตายก็โฆษณาขึ้นเพื่อชุบชีวิตอย่างนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำ Mobile Apps Ads ด้วยเช่นกัน

5. Google Shopping Ads
เคยไหม? เวลาพิมพ์ค้นหาสินค้าบางชิ้นที่อยากได้บน Google มันก็จะขึ้นรายการสินค้าน่าสนใจขึ้นมาให้ทันทีเลย นี่เป็นผลจากการทำ Google Shopping Ads นี่แหละ การโฆษณาแบบนี้จะขึ้นแสดงรายการสินค้าพร้อมราคาและแหล่งซื้อสินค้าบนบรรทัดแรกของหน้า Search ให้ดูเป็น Pre-Screen ก่อนเข้าไปดูรายละเอียดในหน้าเว็บไซต์ การโฆษณาแบบนี้จะเหมาะกับแบรนด์ที่มีร้านค้าแบบขายปลีก และไม่จำเป็นต้องใช้ Keyword แบบเดียวกับ Google Search เพราะลูกค้าที่จะหาสินค้าเหล่านี้เจอมักเป็นลูกค้าที่มีความสนใจและศึกษาสินค้ามาอยู่ก่อนแล้ว จึงมักค้นหาสินค้าเหล่านั้นได้ลึกถึงระดับชื่อรุ่น ปีที่ผลิตกันเลยทีเดียว ดังนั้น Google Ads จะเก็บข้อมูลจากหน้า Landing Page ของสินค้านั้นแล้วนำไปวิเคราะห์อีกทีว่าชิ้นไหนควรขึ้นมาอยู่ในหน้า Shopping Ads บ้าง ซึ่งการทำโฆษณาแบบให้เห็นรูปตัวอย่างสินค้าพร้อมราคาไปเลยตั้งแต่แรกแบบนี้จะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจได้เร็วขึ้นกว่าการกดเข้าเว็บไซต์แบบเดิม

6. โฆษณาแบบ Remarketing
เป็นการเรียกลูกค้าที่สนใจสินค้าของคุณแต่ยังไม่มั่นใจหรือยังไม่ได้กดซื้อสินค้าในทันที ทำให้เส้นทางถูกหยุดอยู่ที่หน้าจ่ายเงิน Remarketing จะช่วยย้ำเตือนลูกค้าให้รู้ว่า “ยังมีสินค้าที่กดเข้ามาดูแล้ว แต่ยังไม่ได้ซื้อเลยนะ กลับเข้ามาดูเราอีกสิ เราอยู่ตรงนี้” พอถึงจุดนี้ลูกค้าก็จะเห็นการ Remarketing อยู่เรื่อย ๆ ย้ำความจำในทุกช่วงเวลาให้กลับมาซื้อสินค้าชิ้นนี้ให้ได้จนกว่าลูกค้าจะซื้อสินค้าหรือไม่ก็เปลี่ยนหัวข้อการค้นหาจนอัลกอริทึมของ Google เลิกสนใจไปเองเลย

สรุป
เมื่อทำความเข้าใจถึงวิธีในการทำ Google Ad และเทคนิคการทำงานแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าการโฆษณาผ่าน Google ไม่ได้ยากอย่างที่คิด ที่สำคัญก็มีคอร์สการเรียนรู้มากมายที่สอนยิงแอด google และแนะนำการปรับค่าต่าง ๆ ใน Google Ads ให้เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานได้หลักพันล้านคน เรียกได้ว่าแค่โฆษณาผ่าน Google ก็เอาอยู่แล้ว
บันทึกการเข้า