การทำโรงเรือนเพาะชำช่วยในการจัดการดูแลรักษาก็จะง่ายดายขึ้น และดูมีระเบียบเรียบร้อย อีกทั้งยังช่วยป้องกัน หรือลดปัญหาจากฝนฟ้าอากาศ และแสงแดดได้ ส่งผลให้พืชพรรณไม้ที่ปลูกนั้นมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ล้มตายไปก่อน แถมยังช่วยป้องกันภัยจากเหล่าแมลงศัตรูพืชและสัตว์นักทำลายได้เป็นอย่างดี
ซึ่งในการเพาะปลูกเหล่าต้นกล้า ต้นอ่อน กิ่งตอน กิ่งชำ ของไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้ดอกไม้ประดับต่างๆ เราจำเป็นต้องมีการทำ โรงเรือนเพาะชำ เพราะมันเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะช่วยดูแลรักษาต้นไม้ของเรา เพราะ ไม้แต่ละชนิดมาจากหลายที่ต่างๆ ทั่วโลก ความต้องการน้ำ อุณหภูมิ และแสงแดดที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้ต้นไม้เหล่านั้นต้องการการดูแลเอาใจใส่ รักษา ทั้งจากฝนฟ้า หรือแม้กระทั่งแสงแดด เพราะสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้ต้นไม้ของเรานั้นเกิดความเสียหาย หรือหยุดการเจริญเติบโตไปเลยก็เป็นได้
ขนาดของ
โรงเรือนเพาะชำขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและความต้องการของเจ้าของ เช่น 6-7 เมตรหรือ 6×10 เมตร โตหรือเล็กกว่านี้ก็ได้ ขนาดของความสูงอยู่ระหว่าง 2.5-3 เมตร
ในการเตรียมการสำหรับการสร้างเรือนเพาะชำควรจะเลือกพื้นที่สร้างเรือนเพาะชำที่ดี โดยควรเลือกพื้นที่สร้างเรือนเพาะชำที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ และมีปริมาณที่เพียงพอทั้งปี
2. พื้นที่ที่มีความลดชันประมาณ 1 – 2% เพื่อการระบายน้ำดี
3. พื้นที่ควรสูงกว่าระดับน้ำของแม่น้ำหรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติอื่นๆ เพื่อจะทำให้น้ำไม่ท่วมในฤดูฝน
4. สภาพดินในพื้นที่ที่สร้างเรือนเพาะชำควรเป็นดินร่วนปนทรายเพราะมีการระบายน้ำดีและเตรียมกล้าไม้ได้ด้วย
5. ควรมีภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นกล้า เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณแสงแดดที่เพียงพอ
6. ควรสำรวจคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำที่จะนำมาใช้ ถ้าเป็นน้ำกร่อย จะทำให้ต้นกล้าเจริญเติบโตไม่ดีหรือตายได้
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำโรงเรือนเพาะชำ 1. วัสดุในการทำหลังคา โดยทั่วไปจะนิยมใช้สแลนหรือ
ตาข่ายกรองแสงในการคลุมหลังคา เพราะมีน้ำหนักเบา ใช้งานและติดตั้งง่าย การกำหนดความสูงจากจุดที่ติดตั้งตาข่ายกรองแสงนั้นก็มีส่วนสำคัญมาก โดยส่วนมากจะนิยมติดตั้งกันที่ความสูงประมาณ 3 เมตร จากพื้นดิน ส่วนเวลาขึงสแลนควรจะขึงให้มันตึงที่สุดเท่าที่จะตึงได้ เพราะว่าการขึงให้ตึงนั้นมันจะช่วยป้องกันการกระพือ และอีกอย่างคือช่วยลดการอุ้มน้ำเวลาเจอฝนตกได้ ต่อมาคือการทำโครงสร้างหลังคาให้เหมาะกับสแลน ควรจะทำเป็นทรงโค้ง หรือสามเหลี่ยม แล้วขึงตาข่ายกรองแสงให้ตึงที่สุด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานและความคงทนให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
2. วัสดุที่ใช้ทำเรือนเพาะชำ อาจใช้วัสดุได้หลายอย่างเช่น ไม้กลมสำหรับทำเสาคาน หลังคา ประตู ใช้ไม้ไผ่กลม ๆ ตีเป็นหลังคาและฝาห่างกัน 1 นิ้ว และอาจจะใช้ทางมะพร้าวกั้นด้านข้าง หรือวางบนหลังคาเพื่อพรางแสงให้มากน้อยตามต้องการ ถ้าจะทำให้ถาวรควรใช้เสาไม้หรือเสาปูน หลังคาและด้านข้างมุงด้วยไม้ระแนงเนื้อแข็งวางห่างกัน 1 นิ้ว ถ้าจะเพาะชำไม้อ่อนหรือไม้ที่ต้องการแสงน้อย อาจตีระแนงเป็น 2 ชั้นโดยตีไม้ระแนงให้ยาวไปทางทิศเหนือ-ใต้
3. ภายในเรือนเพาะชำควรขุดดินให้ลึก 6 นิ้ว ย่อยดินแล้วใช้ขี้เถ้าแกลบ ทราย อัดลง บนพื้นเพื่อช่วยเก็บความชื้นบางคนอาจใช้อิฐ อิฐหักปูทับเพื่อวางกระถาง หรือทำเป็นทางเดิน
4. ควรสร้างกะบะสำหรับเพาะและชำไว้หลาย ๆอัน โดยใช้อิฐก่อเป็นขอบกะบะสูงขึ้นมา 1 ฟุต กว้าง 60 ซ.ม. ยาวตามชอบ ข้างในใส่ทราย ขี้เถ้าแกลบ หรือผสมขี้เถ้าและทราย แล้วแต่วัตถุประสงค์ของงาน
ที่มา: m-group.in.th/article