โรคกระเพาะเวลาพักกลางวันมาถึงแล้ว ครั้นจะชวนเพื่อน ๆ ร่วมงานไปกินข้าว ก็เหมือนกับไม่มีใครอยากลุก หันไปทางซ้าย หัวหน้าก็ขะมักเขม้นกับงานตรงหน้า ไม่กล้าเรียก มองทางขวาเพื่อนร่วมงานก็กำลังเครียดกับเอกสารสารพันบนโต๊ะ สรุปว่าไม่มีใครไปกินข้าวเลยหรอ? นี่หรือเปล่าที่ทำให้คนทั้ง 2 บ่นปวดท้อง ไม่ว่าจะก่อนกิน หรือหลังกิน
สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะ
ผู้ร้ายตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะเรียกว่า "เชื้อโรค" ที่ชื่อว่า เอช.ไพโลไร (Helicobacter pylori)* มันเป็นแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร มันจะอยู่ภายในกระเพาะอาหารของคนไข้ไปตลอดชีวิต โดยจะอยู่แถวๆด้านล่างของกระเพาะอาหาร โดยเชื้อนี้จะไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของกระเพาะอาหาร ทำให้กรดถูกขับออกมามากขึ้น จนเกิดการอักเสบตรงเยื่อบุกระเพาะ นำไปสู่การเกิดภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร และลำไส้ส่วนบนนั่นเอง
ปวดและจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ เวลาท้องว่าง หรือเวลาหิว แต่บรรเทาได้ด้วยการทานอาหารหรือยาลดกรด แต่ในบางคนจะยิ่งปวดมากขึ้นหลังกินอาหาร โดยเฉพาะทานอาหารตรงรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด มักปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ มานานเป็นปี โดยมีช่วงเว้นที่ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์ และไม่แสดงอาการหลายๆ เดือน จึงอาการกเริบปวดอีก ปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากหลับไปแล้ว
บางคนอาจมีอาการเกิดขึ้นเวลากินยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ ดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ ของมันๆ ของหวานๆ อาหารที่ย่อยยาก หรือแสดงในช่วงที่กินอาหารผิดเวลาหรือปล่อยให้หิวนานๆ หรือเวลามีความเครียด ทั้งนี้ บางคนจะไม่มีอาการปวดท้อง แต่จะอาการกำเริบแน่นท้อง หรือรู้สึกไม่สบายในท้อง มักจะเป็นที่ใต้ลิ้นปี่ หรือกลางท้องรอบสะดือ มักมีอาการท้องอืดปะปนกัน โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารท้องจะอืดขึ้นชัดเจน มีลมมากในท้อง ท้องร้องโกรกกราก ต้องเรอและผายลมจะดีขึ้น อาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังอาหารแต่ละมื้อ หรือยามเช้าผู้ติดเชื้ออาจมีอาการอิ่มง่ายกว่าปกติ ทำให้กินได้ลดลง และน้ำหนักลดลงบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้ แม้บางคนจะมีอาการเรื้อรังเป็นปี แต่สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่เสื่อมสภาพ น้ำหนักตัวไม่ลด ไม่มีภาวะซีด แต่ในบางคนอาจพบภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร ทำให้ผู้ติดเชื้ออาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเหลวสีดำเหนียวคล้ายน้ำมันดิน หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ
รักษาโรคกระเพาะ สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะ
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง :
สมุุนไพรรักษาโรคกระเพาะขอบคุณบทความจาก :
https://herbsgood224.blogspot.comTags : โรคกระเพาะ