ขุนวิจิตรมาตรา เกิดเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ เป็นบุตรชายคนเดียว ของบิดามารดา บิดาชื่อ ขุนสารการ (ทองดี) อาชีพรับราชการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย และเป็นผู้พิพากษา ส่วนมารดาชื่อ พับ
ขุนวิจิตรมาตรา มีนิสัยชอบอ่าน และจำเก่ง มาตั้งแต่เด็ก ๆ ได้เสาะหาหนังสือต่าง ๆ ในเรื่องที่สนใจไว้มากมาย เท่าที่จะหามาได้ ตั้งแต่เป็นนักเรียนเรื่อยมา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่าน มีโอกาสฝึกฝนฝีมือ ทางด้านการประพันธ์ มาโดยตลอด
ชีวิตการประพันธ์ของ ขุนวิจิตรมาตรา เริ่มด้วยการเขียน บทละครร้อง ตั้งแต่อายุได้ ๒๐ ปี หลังจากนั้นก็ได้ขยาย ฐานการประพันธ ์ไปตามสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่ งานเขียนประเภท นิยาย สารคดี การประพันธ์เพลง หรือแม้แต่งานทางด้านภาพยนตร์
ขุนวิจิตรมาตรากับงานด้าน ภาพยนตร์เริ่ม มีความเกี่ยวข้องกันในช่วงปี พ.ศ. 2473 เมื่อได้รับการติดต่อจาก หม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร์ แห่งบริษัทหัสดินทร์ภาพยนตร์ ให้ช่วยแต่งเรื่อง สำหรับภาพยนตร์เรื่องต่อไป ของบริษัท หลังจากตอบตกลงได้ไม่นาน ในที่สุดขุนวิจิตรมาตราก็สามารถ ประพันธ์บทภาพยนตร์เรื่องแรก ในชีวิตออกมาเป็นผลสำเร็จในชื่อเรื่อง "รบระหว่างรัก" โดยในภาพยนตร์เรื่องนี้นอกจาก ท่านขุนวิจิตรมาตรา จะได้รับมอบหมาย ให้ประพันธ์เรื่องแล้ว ก็ยังได้รับหน้าที่เป็น ผู้กำกับการแสดงอีกด้วย
ในช่วงเวลานั้น พี่น้องวสุวัต เพิ่งประสบความสำเร็จ ในการประดิษฐ์คิดค้น กล้องถ่ายภาพยนตร์เสียง จึงมีดำริที่ จะสร้างภาพยนตร์เสียง เรื่องแรกของบริษัทและของสยาม อย่างไรก็ตาม ในการบุกเบิกครั้งนี้ จำเป็นต้องอาศัย ผู้กำกับภาพยนตร์ ฝีมือดีมาช่วยประคับประคอง ผลงานชิ้นสำคัญนี้ด้วย ดังนั้นภายหลังจากได้ ประจักษ์ถึงความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่อง "รบระหว่างรัก" แล้ว พี่น้องวสุวัตจึงดำเนินการติดต่อ ขนุวิจิตรมาตรา ให้มารับหน้าที่ประพันธ์เรื่อง และกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก ของบริษัททันที
"หลงทาง" ออกฉายเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 ที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร ได้รับคำชมเชยเป็นอย่างดี ความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่อง "หลงทาง" ทำให้บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุงได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกยุคภาพยนตร์เสียงอย่างสมบูรณ์แบบ
ส่วนขุนวิจิตรมาตรา หลังจากกำกับภาพยนตร์เรื่อง "หลงทาง" แล้วก็ได้ ร่วมงานกับบริษัท ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงมาโดยตลอด สร้างผลงานที่น่าจดจำไว้หลายเรื่อง ทั้งภาพยนตร์ข่าวสารคดี และภาพยนตร์บันเทิงคดีอาทิเช่น ภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์ ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี (2475) ภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์ สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญ (2475) ซึ่งทั้งสองเรื่องเป็นภาพยนตร์ ประเภทข่าวสารคดี ส่วนภาพยนตร์บันเทิงคดีที่โดดเด่น อาทิ ภาพยนตร์เรื่อง "ปู่โสมเฝ้าทรัพย์" (2476) ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่มีการย้อมส ีเป็นบางฉากเรื่องแรกของไทย ภาพยนตร์เรื่อง "เลือดทหารไทย" (2477) ภาพยนตร์ที่แสดงแสนยานุภาพ ของกองทัพไทย ซึ่งบริษัทศรีกรุงได้รับการว่าจ้าง จากกระทรวงกลาโหมให้สร้าง หรือภาพยนตร์เรื่อง "เพลงหวานใจ" (2480) ภาพยนตร์เพลงที่ลงทุนสูง เป็นประวัติการณ์ของศรีกรุง โดยเฉพาะการเนรมิตฉาก ประเทศสมมุติ ซานคอซซาร์ให้ดูสมจริง
นอกจากบทบาท ผู้กำกับการแสดงแล้ว อีกบทบาทหนึ่งที่ขุนวิจิตรมาตรา กระทำควบคู่ไปด้วยก็คือการแต่ง เพลงประกอบ ซึ่งส่วนใหญ่ขุนวิจิตรมาตราจะรับหน้าท ี่ในการประพันธ์คำร้องมากกว่า บทเพลงหลายเพลงที่ท่านแต่ง มักได้รับความนิยม อย่างต่อเนื่องแม้ ภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ จะออกจากโรงไปแล้ว อาทิ เพลง "บัวบังใบ" และ เพลง "ขึ้นพลับพลา" จากภาพยนตร์เรื่องหลงทาง (2475) เพลง "ลาทีกล้วยไม้" จากภาพยนตร์เรื่อง ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ (2476) เพลง "กุหลาบในมือเธอ" จากภาพยนตร์เรื่อง เลือดทหารไทย (2477) เพลง "บวงสรวง" จากภาพยนตร์เรื่อง เมืองแม่หม้าย (2470) เพลง "เธอใกล้หรือไกล" จากภาพยนตร์เรื่อง เพลงหวานใจ (2480) เป็นต้น
ล่วงเข้าสู่ปี พ.ศ. 2485 เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพาขึ้น สร้างความเดือดร้อน หวาดกลัวให้กับคนไทยทุกหนระแหง ในช่วงเวลานี้เกิด ภาวะขาดแคลนขึ้น ในอุตสาหกรรม ทุกระดับไม่เว้นแม้แต่ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ที่ได้รับผลกระทบ จากการขาดแคลน ฟิล์มจนทำให้จำนวนภาพยนตร์ ออกฉายน้อยลงอย่างมาก ภาพยนตร์ที่สร้างออกฉายส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ที่สร้างโดยรัฐบาล มีเนื้อหาปลุกใจให้รักชาติทั้งหมด ซึ่งหนึ่งในภาพยนตร์ที่โดดเด่น ในปีนั้นคือภาพยนตร์เรื่อง "บ้านไร่นาเรา" ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ขุนวิจิตรมาตรามีหน้าที่ใน การประพันธ์ เนื้อเรื่องโดยท่านได้ผูกเอาเรื่องราว ของชาวนาเข้ากับอุดมการณ์รักชาติ อันสอดคล้องกับนโยบาย การบริหารประเทศของ จอมพล ป . พิบูลสงครามผู้นำประเทศ ในสมัยนั้น นอกจากประพันธ์บทแล้ว ท่านยังได้ประพันธ์เพลงประกอบ ด้วยซึ่งบทเพลง "บ้านไร่นาเรา" ที่ท่านแต่งยังคง ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ยุติลงในปี พ.ศ. 2488 รูปแบบของการสร้างภาพยนตร์ไทย เริ่มเปลี่ยนไป เมื่อภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตร พากย์ ได้กลายมาเป็นที่นิยม ของผู้ชมแทนภาพยนตร์ 35 มิลลิเมตรมาตรฐานเสียงในฟิล์ม ในช่วงนี้ ขุนวิจิตรมาตรา ก็ยุติการสร้างภาพยนตร์ลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตามท่านก็มิอาจตัดขาด จากภาพยนตร์ ได้นานนัก ก็ต้องวนกลับมาทำภาพยนตร์ อีกครั้งในปี พ.ศ. 2495 เรื่อง "ทะเลรัก" ซึ่งอำนวย การสร้างโดย นาย เสวตร์ เปี่ยมพงศ์สานต์ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2496 ท่านได้สร้าง ภาพยนตร์อีกหนึ่งเรื่องชื่อ " วารุณี " ซึ่งท่านดัดแปลง มาจากนวนิยายชื่อเดียวกัน ที่ท่านได้ ประพันธ์ไว้เมื่อปี พ.ศ. 2469 ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องเป็นภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตรบันทึกเสียงลงในฟิล์ม ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนี้ ประสพความสำเร็จพอสมควร แต่ท่านก็ไม่สร้าง ภาพยนตร์ต่ออีกเลยเป็นเวลา 16 ปี
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2512 บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ได้หวนกลับมาสร้างภาพยนตร์อีกครั้ง ภายหลังจากปิดกิจการลงใน ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จึงได้เชิญขุนวิจิตรมาตรา มาเป็นที่ปรึกษาของบริษัท แต่บริษัทศรีกรุงไม่สามารถทัดทานกับกระแสภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตร ซึ่งกำลังแรงอยู่ไปได้ ดังนั้นภายหลังจาก สร้างภาพยนตร์ออกมาได้ไม่กี่เรื่อง บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ก็จำต้องปิดกิจการลงในปี พ.ศ.2514
สำหรับขุนวิจิตรมาตรา ภายหลังจากร่วมงานกับบริษัทภาพยนตร ์เสียงศรีกรุงในครั้งนั้นก ็ไม่ได้ข้องเแวะกับการสร้าง ภาพยนตร์อีกเลย จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 มีอายุได้ 83 ปี
ภาพยนตรานุกรม : ขุนวิจิตรมาตรา- รบระหว่างรัก* (2474) กำกับ / ประพันธ์เรื่อง
- หลงทาง (2475) กำกับ / ประพันธ์เรื่อง / ประพันธ์เพลง
- ท้าวกกขนาก* (2475) กำกับ / ประพันธ์เรื่อง
- ปู่โสมเผ้าทรัพย์ (2476) กำกับ / ประพันธ์เรื่อง / ประพันธ์เพลง
- เลือดทหารไทย (2478) กำกับ / ประพันธ์เรื่อง / ประพันธ์เพลง
- พญาน้อยชมตลาด (2478) ประพันธ์เพลง
- เมืองแม่หม้าย (2478) ประพันธ์เพลง
- เพลงหวานใจ (2480) กำกับ / ประพันธ์เรื่อง/ประพันธ์เพลง
- บ้านไร่นาเรา (2485) ประพันธ์เรื่อง / ประพันธ์เพลง
- ทะเลรัก (2495) กำกับ / ประพันธ์เรื่อง
- วารุณี (2496) กำกับ / ประพันธ์เรื่อง
- * เป็นหนังเงียบ
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง :
เพลงชาติไทยเครดิต :
http://www.market.today1sell.com/index.php?topic=149570.newTags : เพลงชาติไทย