หลังจากการทำนาเกษตรกรส่วนหนึ่งจะปลูกถั่วหลังนา เพื่อเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ถั่วลิสงเป็นถั่วชนิดหนึ่งที่เกษตรกรเลือกปลูก ดังนั้นการผลิตและแปรรูปโดยทำเป็นถั่วคั่วทรายตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้วัตถุดิบจากเกษตรกรในชุมชนที่ปลูกถั่วลิสงในฤดูฝนและฤดูแล้งนับเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย
ขั้นตอน / วิธีการ
การเก็บรักษาถั่วลิสง นำถั่วลิสงดิบมาคัดเกรดและทำความสะอาดโดยล้างเศษดิน หิน ที่ติดมากับถั่วลิสงให้สะอาดแล้วนำไปตากแดดประมาณ 3-4 แดด แล้วแต่สภาพอากาศขณะนั้น จนถั่วลิสงแห้งสนิทดีแล้วก็นำบรรจุในกระสอบตาข่ายเพื่อให้ระบายอากาศ จัดเก็บในชั้นไม้โรงเรือนที่มีอากาศถ่ายเทดี เพื่อป้องกันความชื้นและการเกิดเชื้อราต่างๆ
การทำถั่วลิสงคั่วทราย ที่นำถั่วลิสงที่ตากแดดแห้งสนิทแล้วมาคั่วโดยใช้ทรายละเอียดที่คัดแล้วเป็นสื่อผ่านความร้อนจากกระทะ วิธีนี้จะทำให้ถั่วลิสงสุกสม่ำเสมอกันและป้องกันการไหม้ของถั่วลิสงเนื่องจากความร้อนโดนตรงจากกระทะและคุณภาพที่ได้จากการคั่วถั่วลิสงโดยวิธีนี้ คือ จะได้กลิ่นหอม เพื่อถั่วลิสงไม่แข็งกระด้าง รสชาติอร่อย
การบรรจุภัณฑ์ เมื่อคั่วถั่วลิสงสุกได้ที่ตามตำรับโบราณแล้วจะนำถั่วลิสงมาผึ่งในกระด้ง เสร็จแล้วใช้ผ้าฝ้ายสะอาดชุบน้ำพอหมาดๆ เช็ดเปลือกถั่วเพื่อให้ดินทรายหลุดออกจากเปลือกถั่วในขั้นตอนนี้จะสะอาดอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้เปลือกถั่วลิสงโดนความชื้นจากผ้าเช็ดนาน เมื่อเช็ดเสร็จแล้วในขณะที่ถั่วลิสงอุ่นอยู่ก็ให้นำไปบรรจุในถุงพลาสติกที่เตรียมไว้แล้วทำปิดปากถุงไม่ให้อากาศภายนอกไม่สามารถเข้าไปในถุงได้
ภูมิปัญญามีประโยชน์ทางการเกษตร
ส่งเสริมอาชีพการปลูกถั่วลิสงในพื้นที่ เพื่อทำผลผลิตมาจำหน่ายให้แก่กลุ่ม
สร้างรายได้แก่แม่บ้านในท้องถิ่นหลังฤดูเก็บเกี่ยว
มีการบริโภคอาหารโปรตีนจากถั่วลิสง
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=zeroinspace&month=10-2020&date=21&group=1&gblog=5