ไม่ว่าจะเป็น
IoT หรือ
AI ต่างก็เป็นเทคโนโลยีที่คอยขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงโลกไปสู่อนาคต แต่หลายๆ คนอาจจะยังมีข้อสงสัยกันอยู่ว่า
IoT กับ AI เป็นเทคโนโลยีแบบเดียวกันหรือไม่ ซึ่งในบทความนี้เราจะกล่าวถึงความแตกต่างของสองเทคโนโลยีนี้กันว่า IoT กับ AI นั้นมีข้อแตกต่างกันอย่างไร
ทำความรู้จักกับ IoT กับ AI กันก่อน
IoT เป็นคำย่อมาจาก Internet of Things แปลงตรงตัวก็คือ “
อินเทอร์เน็ตของทุกสิ่ง” หมายถึง การที่อุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำงานเชื่อมต่อกันอย่างอัจฉริยะผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถทำงานร่วมกับสมาร์ทโฟนและเซ็นเซอร์ที่คอยตรวจจับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ตัวอย่างเช่น กล้องวงจรปิดที่สามารถดูออนไลน์ผ่านมือถือได้ เป็นต้น
IoT ไม่ได้หมายถึงการที่อุปกรณ์เข้าถึงโครงข่ายอินเทอร์เน็ตได้เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุปกรณ์ใดๆ ก็ต่างที่สามารถสั่งการและควบคุมแบบไร้สายได้ด้วย
เราสามารถดูกล้องวงจรปิดผ่านมือถือได้โดยผ่านแอปพลิเคชั่นต่างๆ จากผู้ผลิตแต่ละแบรนด์ AI หรือ Artificial Intelligence หรือชื่อภาษาไทยที่เรามักเรียกกันติดปากว่า “
ปัญญาประดิษฐ์” คือโปรแกรมที่ถูกเขียนและพัฒนาให้มีความฉลาด มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจได้ และยังสามารถดัดแปลงการประมวลผล ประยุกต์ ให้เป็นไปตามสถานการณ์ต่างๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องรอการอนุมัติจากมนุษย์ ตัวอย่างเช่น Tengai หุ่นยนต์ HR (Human Resource) สามารถสัมภาษณ์งานและวิเคราะห์สีหน้า ท่าทาง และ น้ำเสียงของมนุษย์ได้ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่เรามักจะเข้าใจว่า AI ทั้งหมดหมายถึงหุ่นยนต์ที่มีความคิดความอ่านเหมือนมนุษย์เท่านั้น แต่อย่างที่กล่าวไปข้างว่า AI คือโปรแกรม ดังนั้นไม่จำเป็นว่าต้องเป็นหุ่นยนต์เสมอไปอย่างเช่น แอปถ่ายรูปส่วนใหญ่เราใช้งานก็มี AI ที่ตรวจจับใบหน้าและประมวลผลแต่งรูปให้เราเองได้อัตโนมัติ เป็นต้น
Tengai หุ่นยนต์สัมภาษณ์งานจากสวีเดน สรุปความแตกต่างของ IoT และ AI
ถ้าจะให้สรุปความแตกต่างของสองเทคโนโลยีเข้าใจง่ายเลยก็คือ
-
IoT หมายถึงอะไรก็ตามที่สามารถเชื่อมต่อและเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
-
AI คือโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้มีความฉลาดและประมวลผลได้เหมือนมนุษย์
การทำงานร่วมกันของ IoT และ AI
หลังจากที่ได้ทราบความหมายและตัวอย่างเบื้องต้นของทั้งสองเทคโนโลยีกันแล้ว สังเกตได้ว่า
IoT และ AI จะมีการทำงานร่วมกับอุปกรณ์เหมือนกัน แต่หลักการทำงานต่างกันชัดเจน แต่หากนำเทคโนโลยีทั้ง 2 มารวมกันแล้ว จะทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นมีความฉลาดและสมบูรณ์แบบมากยิ่งขั้น ยกตัวอย่างเช่น
- โทรศัพท์มือถือ iPhone ที่มีผู้ช่วยฉลาดสุดล้ำอย่าง Siri ที่สามารถพูดคุยโต้ตอบกับเราและสามารถสืบค้นหาข้อมูลที่เราต้องการได้จากอินเทอร์เน็ต
- Facebook โซเซียลมีเดียที่เรานิยมใช้กันมี AI ที่สามารถวิเคราะห์ความชอบหรือความสนใจของเราจากกิจกรรมที่เราทำต่างๆ ในโซเซียล และจากนั้นก็แสดงโพสต์หรือโฆษณาที่ตรงกับความสนใจของเราขึ้นมา
- กล้องวงจรปิดแบบ Robot บางรุ่นที่สามารถตรวจจับการเคลื่อนไวของมนุษย์ได้ และสามารถส่งข้อความแจ้งเตือนมามือถือของเราได้ทันที
- ตู้เย้นอัจฉริยะที่มีกล้องภายในตัวสามารถมองเห็นของที่อยู่ข้างในตู้ได้ และวิเคราะห์หาสูตรอาหารต่างๆ จากของที่เห็นภายในตู้
ตู้เย็นอัจฉริยะที่นอกจากเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้แล้ว ยังสามารถเชื่อมต่อกับมือถือได้ด้วย