รับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

SMF - Just Installed!

ผู้เขียน หัวข้อ: Thermal Imager คืออะไร  (อ่าน 1162 ครั้ง)

P.CCTV_Chaiyaporn

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 43
    • ดูรายละเอียด
Thermal Imager คืออะไร
« เมื่อ: มิถุนายน 22, 2020, 07:26:09 AM »


Thermal Imager หรือ Thermal Imaging Camera เป็นเครื่องมือวัดอุณหภูมิที่ผิวของวัตถุ ทำงานโดยอาศัยหลักการแผ่รังสีอินฟราเรด (infrared radiation) ออกจากวัตถุ ซึ่งเป็นการวัดแบบไม่สัมผัสและไม่ทำลายวัตถุ และเป็นการวัดอุณหภูมิแบบพื้นที่ มีส่วนประกอบสำคัญประกอบด้วย เลนส์ (lens) ตัวตรวจจับรังสีอินฟราเรด (infrared detector) หรือเซนเซอร์ชนิดอินฟราเรด (Infrared sensor) วงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic circuit) และส่วนแสดงผล (display)

ดังนั้น Thermal Imager คือกล้องถ่ายภาพความร้อนโดยอาศัยหลักการ การแผ่รังสีอินฟราเรดจากวัตถุในการวัดอุณหภูมินั้นเอง

หลักการทำงานของกล้องถ่ายความร้อน Thermal Imager
หลักการทำงานของกล้องถ่ายความร้อน จะมีขั้นตอนเริ่มจาก ตัวตรวจจับรังสีอินฟราเรดรับรังสีอินฟราเรด (infrared) ที่แผ่ออกจากวัตถุเป้าหมาย (target) ผ่านเลนส์ของเครื่องมือวัด (instrument) แล้วแปลงรังสีอินฟราเรดเหล่านี้ให้อยู่ในรูปของสัญญาณทางไฟฟ้า โดยรังสีอินฟาเรดที่ตัวตรวจจับรับไปนั้นประกอบด้วยรังสีที่วัตถุเป้าหมายแผ่ออกมารวมกับรังสีที่แผ่จากวัตถุอื่นหรือจากสิ่งแวดล้อมสะท้อนออกจากผิวของวัตถุเป้าหมาย (ตามทฤษฎีการแผ่รังสีความร้อน:Theory of thermal radiation) จากนั้นวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่รับมาจากตัวตรวจจับและนำ ไปแสดงที่ตัวแสดงผล ซึ่งอาจแสดงผลออกมาในรูปแบบของตัวเลข สี หรือกราฟ หรือทั้ง 3 รูปแบบ


หลักการทำงานของกล้องถ่ายความร้อน

ประโยชน์ของกล้องถ่ายความร้อน (Thermal Imager)
กล้องถ่ายภาพความร้อนกำลังกลายเป็นที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรม ซึ่งถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบอาคารว่ามีประสิทธิภาพตรงกับสเปค, ใช้ตรวจว่าฉนวนถูกติดตั้งในสภาพที่ดี, หาตำแหน่งอากาศรั่วไหล, ตรวจสอบการออกแบบโครงสร้างและหาตำแหน่งที่มีความชื้นซึมออกมา ยังมีการใช้งานนอกเหนือจากนี้อีกซึ่งขึ้นอยู่กับการประยุกต์ของผู้ใช้เท่านั้น โดยทั่วไปในปัจจุบันได้นำมาใช้ในการเพื่อหาสภาพต่างๆ เช่นการเสื่อมของฉนวนในบ้าน หรือวงจรไฟฟ้าที่โอเวอร์โหลด ตัวอย่างอื่นๆ มีดังต่อไปนี้

- การตรวจสอบสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อย
- การตรวจสอบความร้อนที่สูญเสียในอาคาร
- การหาตำแหน่งของสายไฟหรือท่อที่มีความร้อน
- การหาตำแหน่งที่เชื้อราเติบโต
- การหาตำแหน่งที่หลังคาอาคารรั่ว
- การหารูปแบบการกระจายความร้อนของท่อไอน้ำ
- การตรวจสอบแบริ่ง
- การตรวจสอบการรั่วของฉนวนในอุปกรณ์ทำความเย็น


การประยุกต์ใช้งานกล้องถ่ายความร้อน (Thermal Imager) ในอุตสาหกรรม

ไม่เพียงเท่านั้นในสถาณการณ์ที่ไวรัส COVID-19 กำลังระบาด กล้องถ่ายความร้อนยังถูกนำมาใช้ในฐานะอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อคัดแยกกลุ่มคนผู้มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัส COVID-19 นี่ด้วย เพราะการวัดอุณหภูมิด้วยภาพถ่ายความร้อน ไม่จำเป็นต้องเข้าไปใกล้ชิดเพื่อวัดอุณหภูมิเหมือนกับปืนวัดอุณหภูมิ และไม่จำเป็นต้องเข้าไปไล่ยิงวัดอุณหภูมิทีละคนด้วย ทำให้การคัดกรองผู้คนได้อย่างรวดเร็ว
บันทึกการเข้า