"ด่ากันทางโทรศัพท์"เชื่อว่า หลายคนในที่นี้ ได้เคยด่าผู้อื่นทางโทรศัพท์หรือไม่ก็ถูกผู้อื่นด่าทางโทรศัพท์ หากต้องการจะเข้าผิดกับบุคคลเหล่านี้ จะต้องดูกฎหมายก่อนว่า สามารถกระทำได้เพียงใดในวันนี้ ผมจะได้นำเสนอข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว ซึ่งเป็นกฎหมายอาญา เรื่องดูหมิ่นซึ่งหน้า โดยมีหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๙๓ บัญญัติว่า "ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"องค์ประกอบของกฎหมาย คือ ๑. ผู้ใด๒.ดูหมิ่น๓.ผู้อื่น๔.ซึ่งหน้าข้อความที่สำคัญในทางกฎหมายในข้อนี้ คือคำว่า ซึ่งหน้า โดยหลักกฎหมายหรือเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า คำว่า ซึ่งหน้า จะต้องสามารถป้องกันเหตุร้ายที่อาจเข้าถึงตัวกันทันทีที่มีการกล่าวดังนั้น การที่ด่ากันทางโทรศัพท์ซึ่งอยู่คนละท้องที่กัน ย่อมไม่อาจป้องกันเหตุร้ายที่อาจเข้าถึงตัวกันทันที จึงไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าได้กรณีนี้ เคยมีการสู่คดีกันมาแล้วศาลได้ตัดสินดังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2557จำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 แต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่า จำเลยโทรศัพท์ไปหาผู้เสียหาย ด่าว่าและทวงเอกสารจากผู้เสียหาย ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายอยู่ที่สถานีบริการขนส่ง (บขส.) ตำบลท้ายช้าง อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา จำเลยอยู่ที่ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นสถานที่ห่างไกลกันคนละอำเภอ แต่องค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 นั้น ถ้าเป็นการกล่าวด้วยวาจา ผู้กระทำต้องกล่าวซึ่งหน้าผู้เสียหาย เพราะบทบัญญัติมาตรานี้มีเจตนารมณ์ป้องกันเหตุร้ายที่อาจเข้าถึงตัวกันทันทีที่มีการกล่าวดูหมิ่นโดย
ทนายความเชียงใหม่,
ทนายเชียงใหม่,
ทนายเชียงใหม่