พนักงานการเงิน ระดับ 4 ธกส ใหม่ล่าสุด1. วิชาความรู้ความสามารถทั่วไป (Aptitude test) 1.1 แนวข้อสอบความสามารถเชิงคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย วิธีคิด
1.2 แนวข้อสอบการคิดวิเคราะห์ด้านเหตุผล พร้อมเฉลย วิธีคิด
1.3 แนวข้อสอบความสามารถทางด้านภาษาไทย พร้อมเฉลย
1.4 แนวข้อสอบรูปภาพและมิติสัมพันธ์ พร้อมเฉลย
2. วิชาความรู้เฉพาะตำแหน่งพนักงานการเงิน 2.1 แนวข้อสอบหลักการบัญชี พร้อมเฉลย
2.2 สรุปหลักการบัญชี
2.3 แนวข้อสอบการเงินการธนาคาร
2.4 แนวข้อสอบสินเชื่อ
2.5 แนวข้อสอบการตลาด
2.6 แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวการบริหารเบื้องต้น
2.7 แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
อัพเดทล่าสด 2.8 แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาชนบท
2.9 แนวข้อสอบเศรษฐศาสตร์ และสรุป พร้อมเฉลย
2.10แนวข้อสอบจริยธรรม/จรรยาบรรณ/ธรรมาภิบาล
2.11แนวข้อสอบสินเชื่อ ความรู้สินเชื่อ ธกส. พร้อมเฉลย
2.12สรุปความรู้เกี่ยวกับธนาคาร ( ธกส.) และ
แนวข้อสอบ ธกส. พร้อมเฉลย
2.13สรุปเนื้อหา แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับการให้บริการที่ดี พร้อมเฉลย
3. แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ ชุดที่ 1 พร้อมเฉลย อธิบายภาษาไทย4. แนวข้อสอบวิชาความละเอียดแม่นยำ พร้อมเฉลย4[/b]" />
ความรู้เกี่ยวกับ ธกส. ประวัติการก่อตั้ง จุดเริ่มต้น ธ.ก.ส. พ.ศ. 2509 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์การเกษตร สำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมหรืออาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มรายได้หรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรหรือครอบครัวของเกษตรกร
นายจำเนียร สาระนาค ผู้จัดการ ธ.ก.ส. คนแรกได้วางรากฐานการดำเนินงานพร้อมทั้งอุดมการณ์การทำงานให้พนักงาน ธ.ก.ส. ทุกคนละเว้นการอันควรต่าง ๆ โดยได้อบรมสั่งสอนให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็ว ซื่อสัตย์ สุจริต และไม่เบียดเบียนลูกค้า เพราะ ? งานสินเชื่อเพื่อการเกษตร เป็นงานที่กว้างขวางและซับซ้อน ต้องศึกษาและค้นคว้าเพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อให้มีความรู้ ความชำนาญยิ่งขึ้น ขอให้ท่านละเว้นการอันควรละเว้น ไม่เบียดเบียนเกษตรกรลูกค้า จงทำงานหนัก เร่งรัด ฉับไว ถูกต้อง และแม่นยำ กอร์ปด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งพนักงาน ธ.ก.ส. ถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน
ปรับบทบาท สู่ธนาคารพัฒนาชนบท
ทศวรรษที่ 1 (พ.ศ.2509-2519) มุ่งลดบทบาทเงินกู้นอกระบบ
ในทศวรรษแรก ธ.ก.ส. ให้ความสำคัญกับการให้สินเชื่อเพื่อการผลิตระยะสั้น และระยะปานกลาง แก่เกษตรกรให้ทั่วถึงอย่างรวดเร็ว เพื่อลดบทบาทของเงินกู้นอกระบบ โดยสร้างนวัตกรรมทางการเงินใหม่ที่ให้สินเชื่อแก่เกษตรกรรายคน โดยใช้บุคคลในกลุ่มค้ำประกันรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน สร้างรากฐานความพร้อมของเกษตรกรเพื่อสร้างรายได้ และฐานะทางการเงินที่มั่นคงให้แก่เกษตรกร
ทศวรรษที่ 2 (พ.ศ.2520-2529) พัฒนาการให้สินเชื่อและบริการครบวงจร
ช่วงทศวรรษที่ 2 ธ.ก.ส.ได้พัฒนาแนวทางปฏิบัติงานให้รวดเร็วยิ่งขึ้นโดยการให้บริการสินเชื่อแก่เกษตรกรรายคน ในรูปแบบของสัญญาเครดิตเงินสด เพื่อให้เกษตรกรเบิกรับเงินกู้โดยสะดวก และเริ่มดำเนินงานบนพื้นฐานความร่วมมือกับส่วนราชการและเอกชน ในการช่วยหาปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ที่อำนวยต่อการพัฒนาการเกษตรอย่างครบวงจร ในรูปของวัสดุอุปกรณ์การเกษตร และเชื่อมโยงการตลาด โดยการจัดตลาดกลางพืชผลการเกษตรตลอดจนการรับจำนำข้าวเปลือก
แนวนโยบายของผู้ถือหุ้นภาครัฐ (Statement of Directions : SOD)
กระทรวงการคลังในฐานะกระทรวงเจ้าสังกัดได้กำหนดแนวนโยบายของผู้ถือหุ้นภาครัฐ (Statement of Directions) ที่จะใช้เป็นแนวทางในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจและชี้ประเด็นที่รัฐวิสาหกิจควรให้ความสำคัญและเร่งดำเนินการ ตลอดจนใช้เป็นแนวทางในการกำหนดตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งแนวนโยบายของผู้ถือหุ้นภาครัฐ มี 3 ระดับ ดังนี้
แนวนโยบายสำหรับรัฐวิสาหกิจในภาพรวม
1. เป็นกลไกขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศบนพื้นฐานการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
แนวนโยบายสำหรับรัฐวิสาหกิจในสาขาสถาบันการเงิน
2. เป็นกลไกของภาครัฐ เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้การบริหารจัดการองค์การที่มั่นคง มีมาตรฐาน ตลอดจนใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
แนวนโยบายสำหรับ ธ.ก.ส.
3. มุ่งเน้นการให้บริการทางการเงินอย่างครบวงจรแก่ภาคการเกษตรและชนบท ควบคู่กับการเสริมสร้างองค์ความรู้และสนับสนุนการพัฒนาอาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารและบริการประชาชน
แผนระยะยาว
1. ปรับปรุงผลิตภัณฑ์เพื่อให้บริการทางการเงินอย่างครบวงจรแก่ภาคการเกษตรและชนบท ควบคู่กับการเสริมสร้างองค์ความรู้และสนับสนุนการพัฒนาอาชีพของเกษตรกร?
2. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารและบริการประชาชน
3. จัดทำระบบฐานข้อมูลลูกค้าของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้งระบบเพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายในการช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน
วิสัยทัศน์ (Vision)
เป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่มั่นคง มีการจัดการที่ทันสมัย ให้บริการทางการเงินครบวงจร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
พันธกิจ (Mission) เพื่อก้าวสู่การเป็นธนาคารพัฒนาชนบทเต็มรูปแบบ ธ.ก.ส. ได้กำหนดพันธกิจสำคัญคือ
1. บริการทางเงินครบวงจร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตร และตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
2. พัฒนาการบริหารและการจัดการทรัพยากร เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร ชุมชน สถาบันการเงินชุมชน และสถาบันเกษตร อย่างเกื้อกูล แบ่งปันและเป็นธรรม
3. บริหารจัดการเงินทุน ให้เพียงพอและมีต้นทุนที่เหมาะสมต่อลูกค้าและการดำเนินงาน
4. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการบริการ
5. มุ่งมั่นหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน
ค่านิยม (Core Values) ธ.ก.ส. ยึดหลัก SPARK ในการบริหารงานเพื่อช่วยสะท้อนความรับผิดชอบขององค์การที่มีต่อประชาชน สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นตัวขับเคลื่อนในการดำเนินการตามพันธกิจให้บรรลุวิสัยทัศน์อันพึงประสงค์ ประกอบด้วย
Sustainability (S) ความยั่งยืนทั้งองค์การ ธ.ก.ส. ลูกค้า ผู้ถือหุ้น สังคม และสิ่งแวดล้อม
Participation (P) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
Accountability (A) ความสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการและบุคลากร
Respect (R) ความเคารพและให้เกียรติต่อตนเองและผู้อื่น
Knowledge (K) การส่งเสริมและยกระดับความรู้ให้เป็นธนาคารแห่งการเรียนรู้
แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับธนาคาร1. ข้อใดคือวิสัยทัศน์ของ ธกส.
ก.เป็นธนาคารของชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย
ข.เป็นธนาคารพัฒนาชุมชนเกษตรกรไทยอย่างถาวรและยั่งยืน
ค.เป็นธนาคารเพื่อการเกษตรที่พัฒนาสู่ระดับสากล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรรายย่อย
ง.เป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่มั่นคง มีการจัดการที่ทันสมัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรรายย่อย
ตอบ ง.
2. Payment Function คืออะไร
ก. หน้าที่รับฝากเงิน ค. หน้าที่ให้กู้ยืม
ข. หน้าที่จ่ายเงิน ง. หน้าที่ทั่วไปเกี่ยวกับการเงิน
ตอบ ข.
3. ข้อใด ไม่ใช่ ความหมายของธนาคารพาณิชย์
ก.ธนาคารพาณิชย์ไทยที่ขึ้นตรงกับธนาคารแห่งประเทศไทย
ข.บริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์
ค.สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์
ง.ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
ตอบ ก.
4. ข้อใดมิใช่หน้าที่ของธนาคารพาณิชย์
ก.รับฝากเงิน ข.หน้าที่จ่ายเงิน
ค.หน้าที่ให้กู้ยืมเงิน ง.หน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการเงิน
ตอบ ง.
5. การฝากเงินประเภทกระแสรายวัน มีวัตถุประสงค์ตามข้อใด
ก.เพื่อความปลอดภัยในเงินฝาก
ข.เพื่อความสะดวกแก่ผู้ฝากเงินเมื่อต้องการจ่ายเงิน
ค.เพื่อก่อเกิดรายได้จากการนำเงินมาฝาก
ง.เพื่อช่วยให้การกู้ยืมเงินธนาคารง่ายขึ้น
ตอบ ข.
6. ธนาคารพาณิชย์มีแหล่งเงินได้กี่แหล่ง
ก. 2แหล่ง ข. 3แหล่ง
ค. 4แหล่ง ง. 5แหล่ง
ตอบ ก.
7. ข้อใดมิใช่เหตุผลในการฝากเงินไว้กับธนาคาร
ก.เพื่อความสะดวกในการจ่ายเงิน
ข.เพื่อความปลอดภัยในเงินฝาก
ค.ใช้รายการบัญชีเงินฝากเป็นสถิติรับ-จ่ายเงินของเจ้าของบัญชี
ง.ใช้รายการบัญชีเงินฝากเป็นหลักฐานเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ
ตอบ ง.
8. ข้อใด คือ เหตุผลในการฝากเงินประเภทเงินฝากประจำ
ก.เพื่อความปลอดภัยในเงินฝาก และความสะดวกในการจ่ายเงิน
ข.เพื่อก่อให้เกิดรายได้จากการนำฝาก และใช้เป็นสถิติการรับ-จ่ายเงิน
ค.เพื่อช่วยในการกู้ยืมง่ายขึ้น และความสะดวกในการจ่ายเงิน
ง.เพื่อก่อให้เกิดรายได้ และความปลอดภัยในเงินฝาก
ตอบ ง.
9. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)มีระบบการธนาคารเป็นแบบใด
ก.ระบบธนาคารเดี่ยว ข.ระบบธนาคารสาขา
ค.ระบบธนาคารกลุ่ม ง.ถูกเฉพาะข้อ ก.และข.
ตอบ ข.
10. ใครเป็นผู้มีอำนาจกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร
ก.รัฐบาล ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ค.ธนาคารแห่งประเทศไทย ง.นายกรัฐมนตรีโดยอิงอัตราในตลาดต่างประเทศ
ตอบ ก.
รวมแนวข้อสอบล่าสุด ที่ใช้ในการสอบครั้งนี้ไว้ในไฟล์ทั้งหมด ทั้งความรู้ทั่วไป ความรู้เฉพาะตำแหน่ง(ครบทุกเนื้อหา)
หมดปัญหากับการปวดหัวว่าจะอ่านอะไรดี เพราะเราได้รวบรวมแนวข้อสอบ พร้อมเฉลยไว้ให้เรียบร้อยแล้ว
เอกสารแนวข้อสอบพนักงานการเงิน 4 ธกส.59 ,แนวข้อสอบ พัฒนาธุรกิจ ธกส.
อ่านง่าย เข้าใจเร็ว สรุปสาระสำคัญพร้อมเฉลย ประหยัดเวลาในการอ่าน จำง่าย เหมาะที่สุดสำหรับการเตรียมตัวสอบ
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สามารถนำไปปริ้นอ่านได้ทันที ในราคาเพียง 389 บาทสนใจติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อแนวข้อสอบการชำระสินค้าสิ่งที่ต้องแจ้งหลังการโอนเงิน1.แจ้งเวลาการโอน(ตามสลิปธนาคาร)
2.แจ้งอีเมล์ที่ให้ส่งไฟล์
3.แจ้งตำแหน่งและหน่วยงาน
ส่งเร็วทันใจ ภายใน 5 นาที หลังการโอนเงินตัวอย่างวิชาบัญชีเบื้องต้น
สาระสำคัญ
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี สมการบัญชี และการวิเคราะห์รายการค้า
1.1 ความหมายและประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี
1.1.1 ความหมายของการบัญชี (Accounting)
การบัญชี คือ ศิลปะของการเก็บรวมรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชี คือ การให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ
สมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของประเทศอเมริกา (American Institue of Certified Public Accountants หรือ AICPA) ให้คำนิยามไว้ดังนี้ “การบัญชี คือ การจดบันทึก การจำแนก การสรุปผล และการจัดทำรายงานทางการเงิน โดยใช้หน่วยวัดเป็นเงินตรา รวมถึงการแปลความหมายของรายงานเกี่ยวกับการเงินดังกล่าว เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง”
1.1.2 ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี
การบัญชีที่ทำขึ้นเพื่อให้ได้รายงานทางการเงินนั้นถือเป็นแหล่งข้อมูลหลักที่ผู้ใช้รายงานทาง
การเงินใช้หาข้อมูลที่ตนต้องการทราบ กลุ่มผู้ใช้รายงานทางการเงินประกอบด้วย
1.1.2.1 ผู้ลงทุนและผู้บริหาร ผู้ลงทุนที่เป็นผู้ถือหุ้นต้องการใช้ข้อมูลที่จะช่วยประเมินความสามารถของกิจการในการจ่ายเงินปันผล ผู้เป็นเจ้าของทุนต้องการทราบถึงความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการลงทุน รวมทั้งพิจารณาตัดสินใจ ซื้อ-ขาย หรือถือเงินลงทุน ต่อผู้บริหารใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ การวางแผน การติดตามผล และการควบคุมการปฏิบัติงานของพนักงาน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานของกิจการ
1.1.2.2 สถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่อแก่ธุรกิจหรือผู้จำหน่ายสินค้าหรือบริการแก่ธุรกิจ ก่อนพิจารณาให้สินเชื่อแก่ธุรกิจการค้า จะทำการประเมินความมั่นคงทางการเงินของธุรกิจและสภาพความเสี่ยงที่มีอยู่ กรณีให้สินเชื่อแล้วจะช่วยในการพิจารณาว่าเงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจะได้รับเมื่อครบกำหนดหรือไม่
1.1.2.3 หน่วยราชการของรัฐบาล ต้องการข้อมูลเพื่อจุดประสงค์ในการจัดเก็บภาษี การออกกฎและระเบียบที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเสียภาษี การควบคุมจัดให้มีรายงานการเงินให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และข้อมูลทางการเงินของธุรกิจนั้นรัฐบาลสามารถนำมาวิเคราะห์แนวโน้มความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้งประเทศ
1.1.2.4 พนักงานขององค์การธุรกิจ ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงและความสามารถในการทำกำไรของกิจการที่ตนทำงานอยู่ นอกจากนี้ยังต้องการข้อมูลที่จะช่วยให้สามารถประเมินความสามารถของกิจการในการจ่ายค่าตอบแทน บำเหน็จบำนาญ หรือโอกาสในการจ้างงาน
1.2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีและจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี
1.2.1 สภาวิชาชีพบัญชี (Federation of Accounting Profession หรือ FAP) เป็นสถาบันตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 มีฐานะเป็นนิติบุคคล อำนาจหน้าที่ของสภาวิชาชีพบัญชีมีดังนี้
1.2.1.1 กำหนดมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี และมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี
1.2.1.2 กำหนดจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
1.2.1.3 รับขึ้นทะเบียนการประกอบวิชาชีพบัญชี ออกใบอนุญาต พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
1.2.1.4 รับรองวุฒิการศึกษาของผู้สมัครเป็นสมาชิก รับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพบัญชี และรับรองหลักสูตรการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการและการศึกษาต่อเนื่องในด้านต่างๆ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
1.2.1.5 ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของสมาชิกและผู้ขึ้นทะเบียนให้เป็นไปตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี
1.2.1.6 ให้คำปรึกษาและเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบาย และปัญหาของวิชาชีพบัญชี
1.2.2 วิชาชีพบัญชี หมายถึง วิชาชีพในด้านการทำบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร ด้านการ วางระบบบัญชี ด้านการบัญชีภาษีอากร ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี และบริการเกี่ยวกับการบัญชีด้านอื่นตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
1.2.3 จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี
ตัวอย่างแนวข้อสอบ บัญชีเบื้องต้น
ข้อ 9 กรรมสิทธิ์ที่บุคคลหรือกิจการมีในสินทรัพย์ เป็นความหมายของข้อใด
1. หนี้สิน
2. รายได้
3. สินทรัพย์
4. ค่าใช้จ่าย
5. ส่วนของเจ้าของ
ข้อ 10 ร้านชอบบริการล้างรถ มีเงินสด 10,000 บาท เงินฝากธนาคาร 50,000 บาท อุปกรณ์ล้างรถ 20,000 บาท และค่าเช่าอาคารค้างจ่าย 8,000 บาท ทุน-นายชอบมีจำนวนตามข้อใด
1. 72,000 บาท
2. 77,000 บาท
3. 80,000 บาท
4. 88,000 บาท
5. ยังสรุปแน่นอนไม่ได้
ข้อ 11 ร้านสวยบีวตี้ มีสินทรัพย์ดังนี้ อุปกรณ์เสริมสวย 35,000 บาท เงินฝากธนาคาร 20,000 บาท
บัตรเครดิต 2 ใบ เงินสด 9,000 บาท ทุนร้านสวยบิวตี้ จำนวน 50,000 บาท ร้านสวยบิ้วตี้ มีหนี้สินตาม
ข้อใด
1. 4,002 บาท
2. 10,000 บาท
3. 14,000 บาท
4. 14,002 บาท
5. ไม่มีหนี้สิน
ข้อ 12 รายการใดที่วิเคราะห์รายการค้าว่า สินทรัพย์ลด หนี้สินลด
1. รับชำระหนี้จากลูกหนี้
2. จ่ายชำระหนี้เจ้าหนี้
3. ซื้อรถยนต์เป็นเงินเชื่อ
4. ถอนเงินจากธนาคารใช้ในร้าน
5. เจ้าของถอนเงินจากร้านไปใช้ส่วนตัว
ข้อ 13 รายการค้าใดที่วิเคราะห์รายการค้าว่า สินทรัพย์เพิ่ม ทุนเพิ่ม
1. ส่งใบแจ้งหนี้ค่าบริการเช่ารถและจ่ายชำระหนี้เงินกู้
2. กู้เงินจากธนาคารและได้รับดอกเบี้ยเงินฝากจากธนาคาร
3. ส่งใบแจ้งหนี้ค่าบริการเช่ารถและรับชำระหนี้จากลูกหนี้
4. รับชำระหนี้จากลูกหนี้และให้บริการเช่ารถได้รับเป็นเงินสด
5. เจ้าของกิจการนำเงินสดมาลงทุนและรับเงินค่าเช่าหน้าร้าน
ข้อ 14 บัญชีใดต่อไปนี้เป็นบัญชีหมวด 2
1. เจ้าหนี้ และเงินกู้
2. ตั๋วสัญญาใช้เงินและเจ้าหนี้
3. เจ้าหนี้และเงินฝากธนาคาร
4. ตั๋วแลกเงินและเงินเบิกเกินบัญชี
5. เงินเบิกเกินบัญชีและเงินฝากธนาคาร
ตัวอย่างแนวข้อสอบ สินเชื่อ
ข้อ 1 สินเชื่อหมายถึงอะไร
ตอบ สินเชื่อ (Credit)= Trust, Believes เป็นความเชื่อถือและไว้วางใจระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ในการที่จะให้สินค้าหรือบริการไปใช้ก่อนโดยมีสัญญากำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาการชำระคืนในอนาคต สินเชื่อจะให้ความสำคัญและคำนึงถึงในเรื่องของสภาพคล่องเป็นอย่างมาก
ข้อ 2 สินเชื่อประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญอะไรอย่างไรบ้าง
ตอบ สินเชื่อประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ ดังนี้คือ
• ความเชื่อ Trust
• การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ Economic Exchange
• ความเสี่ยง Risk
• เวลาในอนาคต Futurity
ข้อ 3 สินเชื่อธนาคาร ธกส.มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ สินเชื่อธนาคาร ธกส.มี 3 ประเภท ลูกค้าบุคคล ลูกค้าผู้ประกอบการ ลูกค้าสหกรณ์
ข้อ 4 อัตราดอกเบี้ยในระบบธนาคารปัจจุบันมีประเภทใดบ้าง
ตอบ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเสนอในตลาดขณะนี้ประกอบด้วย
1. อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floathing rate loan)
2. อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed rate loan)
3. อัตราดอกเบี้ยคงที่และลอยตัวผสมกัน (Mixed rate loan)
4. อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะหนึ่งและปรับเป็นคงที่ใหม่ทุกรอบเวลา (Rollover Mortgage loan)
ข้อ 5 ให้อธิบายลักษณะของอัตราดอกเบี้ยลอยดัว
ตอบ อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามต้นทุนของสถาบันการเงิน ซึ่งสถาบันการเงินจะประกาศออกมาเป็นคราว ๆ ไป เช่น อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เช่น MLR MOR MRR
ตัวอย่าง แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน/ชนบท
1. การพัฒนาชุมชนหมายความว่าอะไร
ตอบ. การพัฒนาชุมชน คือ การทำงานร่วมกับประชาชนเพื่อทำให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
2. การพัฒนาชุมชนมีปรัชญาขั้นมูลฐานกี่ประการ อะไรบ้าง
ตอบ มี 5 ประการ ดังต่อไปนี้
1) มนุษย์พึงได้รับการปฏิบัติด้วยความยุติธรรมและมีศักดิ์ศรี ในฐานะเป็นปุถุชน
2) มนุษย์มีเสรีภาพกำหนดวิถีการดำรงชีวิตของคนในทิศทางที่ต้องการ
3) มนุษย์สามารถพัฒนาได้ถ้ามีโอกาสและได้เรียนรู้
4) มนุษย์มีพลังความคิด ความเป็นผู้นำ ฯลฯ ความสามารถเหล่านี้เป็นสิ่งซ่อนเร้น แต่สามารถนำออกมาใช้ได้ถ้าได้รับการพัฒนา
5) การพัฒนาพลังและขีดความสามารถของชุมชน มีความสำคัญยิ่งต่อชีวิตของบุคคลชุมชนและรัฐ
3. เป้าหมายในการพัฒนาชุมชนมีกี่อย่าง อะไรบ้าง
ตอบ การพัฒนาชุมชน มี 2 เป้าหมายคือ
1) การพัฒนาคนให้มีคุณภาพดีขึ้น ทั้งกาย ใจ และสติปัญญา ในสามลักษณะดังนี้
เก่ง : มีความสามารถและรู้จักความสามารถของตนเอง (IQ)
ดี : รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองได้แสดงออกได้เหมาะสมกับบุคคล โอกาสและสถานที่ รู้จักเห็นอกเห็นใจคนอื่น (EQ)
สุข : ภูมิใจในตัวเอง เห็นคุณค่าและมีความเชื่อมั่นตนเอง พอใจชีวิต มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ ขัน มีความสงบทางใจ (การผสานประโยชน์ระหว่าง IQ และ EQ )
2) การพัฒนาสิ่งแวดล้อม :ซึ่งจะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุได้แก่อาคารสถานที่สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ และสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ
4. การพัฒนาชุมชนมีลักษณะสำคัญกี่ประการ อะไรบ้าง
ตอบ การพัฒนาชุมชนมีลักษณะสำคัญ8 ประการ ดังต่อไปนี้
1) ประชาชนริเริ่มเองหรือบุคคลภายนอก เช่น พัฒนาการกระตุ้นให้ประชาชนมีการริเริ่ม
2) ประชาชนเข้ามามีบทบาท มีส่วนร่วมในการวางแผน พิจารณาปัญหาตัดสินตกลงใจ และดำเนินการเองในการพัฒนาให้มากที่สุด
3) มุ่งพัฒนาคุณภาพของคนให้ดีขึ้น โดยใช้การพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงทางวัตถุเป็นเครื่องมือไปสู่การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
4) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามแผนงานหรือโครงการที่กำหนดไว้
5) มีความเชื่อมั่นในความสามารถของประชาชนว่า จะสามารถช่วยตนเองและพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถได้
6) ยึดหลักประชาธิปไตยในการดำเนินงาน
7) มีความเชื่อถือความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พยายามจะนำความรู้ความคิด ตลอดจนผลของความเจริญทางด้านดังกล่าวมาเผยแพร่เพื่อให้มีความรู้และนำไปปฏิบัติ
มุ่งก่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคม โดยให้ทุกคนในสังคมได้มีชีวิตความเป็นอยู่มีความเท่าเทียมกันมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
5. จุดมุ่งหมายของการพัฒนาชุมชนมีกี่ประการ อะไรบ้าง
ตอบ มี 4 ประการ ดังต่อไปนี้
1) มุ่งที่จะแปรเปลี่ยนทัศนะคติของประชาชน
2) มุ่งที่จะทำให้ประชาชนมีความสำนึกในการที่ตนเป็นสมาชิกของชุมชน รู้จักร่วมมือกันแก้ปัญหาและความต้องการของชุมชน
3) มุ่งที่จะให้ประชาชนมีความรับผิดชอบชุมชนในการทำกิจกรรม รับผิดชอบต่อตนเอง ต่อชุมชน และต่อประเทศชาติในที่สุด
4) มุ่งที่จะให้ประชาชนช่วยตนเองมีความกระตือรือร้นในการแก้ปัญหาของชุมชนมีความคิดริเริ่ม และปรับปรุงความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้นในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม โดยรัฐบาลจะเข้าช่วยเหลือในส่วนที่เกินขีดความสามารถของประชาขน
http://www.4-6-10trucks.com/index.php?topic=1636.0https://forum.eduzones.com/topic/25023https://blog.eduzones.com/filenew/154509http://webboard.yenta4.com/topic/589012เครดิต :
http://www.4-6-10trucks.com/index.php?topic=1636.0Tags : โหลดแนวข้อสอบพนักงานการเงิน,4,ธกส.59