รับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

SMF - Just Installed!

ผู้เขียน หัวข้อ: ปรับโครงสร้างหนี้ vs รีไฟแนนซ์ แตกต่างกันอย่างไร แบบไหนดีกว่ากัน  (อ่าน 385 ครั้ง)

waanbotan_

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 45
    • ดูรายละเอียด

ไขข้อสงสัยที่หลายคนอยากทำความเข้าใจว่า “ปรับโครงสร้างหนี้” และ “รีไฟแนนซ์” แตกต่างกันอย่างไร หากเรากำลังผ่อนบ้านหรือผ่อนรถ แต่ดอกเบี้ยสูงเกินไป เราผ่อนชำระหนี้ในอัตราเดิมต่อไปไม่ไหว อาจแก้ปัญหาให้หนี้เบาลงด้วยวิธีใดได้บ้าง แนะนำให้อ่านเรื่องนี้ก่อนตัดสินใจว่าแบบไหนที่เหมาะกับเรา

1.การ ขอปรับโครงสร้างหนี้ เนื่องจากหนี้บ้านส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาวเป็น 10-30 ปี ถือเป็นภาระหนักสำหรับคนทำงานมีรายได้ระดับหมื่นต้น ๆ ดอกเบี้ยจะค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นในระยะถัดไป เมื่อติดขัดเงินขาดมือ ควรรีบปรึกษากับสถาบันการเงินที่เป็นหนี้อยู่โดยเร็ว อย่าผิดนัดชำระหนี้หรือชำระหนี้สินล่าช้ากว่ากำหนด พยายามอย่าให้เป็นหนี้เสียที่ก่อปัญหาใหญ่โตมากขึ้น ลูกหนี้ควรเจรจาต่อรองกับทางธนาคารหรือสถาบันการเงินขอปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ลดอัตราดอกเบี้ยต่ำลง เช่น จากเดิมผ่อนเดือนละ 20,000 บาท ลดเหลือ 5,000-10,000 บาท และอาจจะกลับมาผ่อนเหมือนเดิมได้เมื่อผ่านพ้นปัญหาติดขัดไปได้แล้ว
จุดเด่นของการปรับโครงสร้างหนี้ คือรวมหนี้ทั้งหมดเป็นยอดเดียวกันแล้วผ่อนจ่ายแค่ดอกเบี้ยก่อนด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเดิม ช่วยให้หาทางออกในเวลานั้นสามารถยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปอีกหน่อย นับเป็นวิธีที่เหมาะกำลังคนที่มีกำลังจ่ายหนี้ไหว แต่เพราะติดขัดปัญหาบางอย่าง เช่น ตกงานกะทันหัน หรือเกิดอุบัติเหตุ ทำให้เกิดอาการตึงมือชั่วคราวและหมุนเงินไม่ทันเวลานั้น การปรับโครงสร้างหนี้จึงเป็นคำตอบที่น่าสนใจ แต่ถ้าคนเป็นหนี้ไม่มีกำลังจะจ่ายไหวและมีปัญหาเรื่องการชำระเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การปรับโครงสร้างหนี้ไม่ใช่ทางออกแน่นอน เพราะถึงจะผ่อนจ่ายแค่ดอกเบี้ยไปก่อน แต่หนี้เงินต้นก็ยังบานปลายอยู่แบบนั้น อาจเพิ่มภาระให้มากกว่าเดิมด้วยซ้ำ

2.การรีไฟแนนซ์บ้าน เป็นการกู้เงินก้อนใหม่มาปิดหนี้ก้อนเดิม เรียกว่าเป็นการย้ายหนี้เก่าไปผ่อนกับสถาบันการเงินแห่งใหม่ เพื่อให้ยอดผ่อนชำระแต่ละเดือนลดลง ยกตัวอย่างง่าย ๆ กรณีที่คุณเป็นหนี้สินเชื่อบ้านหรือสินเชื่อรถยนต์ แล้วต่อมาเกิดอาการชักหน้าไม่ถึง รู้สึกว่าผ่อนต่อไปไม่ไหวแล้ว การรีไฟแนนซ์ช่วยคุณได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือรถยนต์ รวมถึงสามารถรีไฟแนนซ์ ปรับโครงสร้างหนี้บัตรเครดิต ได้ด้วย เพียงแค่ย้ายสัญญาสินเชื่อเดิมไปเป็นสัญญาประเภทใหม่ ช่วยให้เราจัดการหนี้ได้ง่ายขึ้น
จุดเด่นของการรีไฟแนนซ์คือ ช่วยยืดระยะเวลาการผ่อนนานขึ้น ทั้งยังได้ลดดอกเบี้ยถูกลงกว่าเดิม หมายความว่ายอดผ่อนชำระต่อเดือนลดน้อยลงไปด้วย เหมาะกับช่วงที่ขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างมาก

3.การรวมหนี้ เป็นขั้นตอนหนึ่งของ การปรับโครงสร้างหนี้ โดยนำสินเชื่อบ้านไปรวมกับสินเชื่อรายย่อยอื่น ๆ รวมทั้งโอนหนี้บัตรเครดิตมารวมไว้ในธนาคารเดียวกันได้ จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยและทำให้ลูกหนี้มีสภาพคล่องมากขึ้น หากรวมหนี้สำเร็จก่อนเป็นหนี้เสียก็จะไม่เสียประวัติหรือติดแบล็กลิสต์เครดิตบูโรที่จะทำให้การกู้เงินต่าง ๆ ไม่ผ่าน
จุดเด่นของการรวมหนี้ ทำให้มีหนี้สินเหลือที่เดียว การจ่ายหนี้เพียงก้อนเดียวช่วยลดอัตราดอกเบี้ยถูกลง แต่ละงวดผ่อนจ่ายน้อยกว่าเดิมมาก ทั้งชำระหนี้ง่ายขึ้นและมีสภาพคล่องมากขึ้น สามารถทยอยผ่อนคืนเป็นงวด ๆ จนปิดหนี้ได้ทั้งหมด

สรุปว่า วิธีการ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ผ่อนบ้าน    เป็นประโยชน์สำหรับคนที่มีหนี้สินเยอะ แล้วเกิดปัญหาไม่มีกำลังในการใช้หนี้คืนตามระยะเวลาที่กำหนด แนะนำให้คิดถึงการปรับโครงสร้างหนี้หรือการรีไฟแนนซ์ได้เลย เพราะเป็นวิธีแก้หนี้ที่ได้รับความนิยมและมีสถาบันการเงินให้บริการอย่างถูกต้อง
บันทึกการเข้า