การเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้น จะต้องมีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือเจ้ามรดกด้วย หากว่าไม่มีสิทธิ์ได้รับทรัพย์มรดกแล้ว ทายาทดังกล่าวย่อมมิอาจเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ แต่ทั้งนี้ หากว่า ผู้ตายมีทายาทที่มีสิทธิรับมรดก แต่ต่อมาทายาทคนดังกล่าวได้ถึงแก่ความตายไปก่อนที่จะได้ยื่นคำร้องแต่งตั้งผู้จัดการมรดก บุตรหรือทายาทของทายาทของผู้ตายจะมีสิทธิ์ที่จะร้องขอแต่งตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่อย่างไร
ซึ่งในประเด็นนี้
ทนายความเชียงใหม่ จะให้คำตอบว่า สามารถแต่งตั้งได้เพราะทายาทดังกล่าวเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย ดังนั้นแล้ว จึงสามารถยื่นคำร้องขอแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกได้
แม้ผู้คัดค้านที่ 3 ไม่อาจเข้ารับทรัพย์มรดกแทนที่ อ. เพราะ อ. ถึงแก่ความตายภายหลังเจ้ามรดกก็ตาม แต่ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นบุตรของ อ. ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับทรัพย์มรดกของผู้ตายเพราะเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ซึ่งไม่มีสามีและบุตร และบิดามารดาตายไปก่อนแล้ว เมื่อ อ. ถึงแก่ความตายภายหลังผู้ตาย ทรัพย์มรดกในส่วนของ อ. จึงตกแก่ผู้คัดค้านที่ 3 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599 ดังนั้น ผู้คัดค้านที่ 3 ย่อมเป็นทายาทผู้สืบสิทธิ์ของ อ. ในการรับมรดกของผู้ตาย จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิ์ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง :
ทนายเชียงใหม่ขอบคุณบทความจาก :
https://www.xn--42cgi4cjab1btnchd1exbza5gvad6dvnqc6f.com/Tags : ทนายความเชียงใหม่