รับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

SMF - Just Installed!

ผู้เขียน หัวข้อ: การยึดโฉนดที่ดินไว้เป็นประกันหนี้สินเงินกู้สามารถทำเป็นหรือเปล่า  (อ่าน 868 ครั้ง)

saibennn9

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 274
    • ดูรายละเอียด
    • ทนายความเชียงใหม่

                ตามปัญหาที่เคยเผชิญมานั้น ลูกหนี้ได้เอาโฉนดของตนเองมาให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกัน ก็เลยกำเนิดปัญหาว่าเป็นการเลี่ยงกฎหมายหรือไม่ เพราะการเอาที่ดินประกันหนี้นั้น จำเป็นต้องมีการทำสัญญาจำนองและจดทะเบียนจำนองต่อสำนักงานที่ดินในเขตที่ดินนั้น ๆ ในวันนี้ ทนายความเชียงใหม่ จะได้มาไขข้อข้องใจในเรื่องนี้กัน
                ก่อนอื่นทนายเชียงใหม่ ขอเสนอหลักกฎหมายที่เกี่ยวพันกับข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อนว่า มีบทบัญญัติกฎหมายใด มาตราใดเข้ามากำกับดูแลกรณีนี้บ้าง มาดูกันได้เลย ดังต่อไปนี้
                ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 บัญญัติว่า ผู้ใดเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครอบครองนั้นไซร์ ท่านว่าผู้นั้นจะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนหว่าจะได้ชำระหนี้ก็ได้ แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ เมื่อหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนด
                ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 บัญญัติว่า ในสัญญาต่างตอบแทนนั้น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้ หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าหนี้ของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ถึงกำหนด
                จากบทบัญญัติของกฎหมายทั้งสองมาตราดังกล่าว ทนายจังหวัดเชียงใหม่ ขอเสนอเป็นภาษาบ้านๆ ว่า ถ้าลูกค้าไม่ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์ที่ลูกหนี้ให้ไว้เป็นประกันการชำระหนี้ได้ ตามข้อกฎหมายดังกล่าวดังนั้น เราจะได้คำตอบแล้วว่า เจ้าหนี้เงินกู้สามารถยึดหน่วงโฉนดที่ดินของผู้กู้ได้แม้จะไม่ได้จดทะเบียนจำนองก็ตาม
                ทนายความจังหวัดเชียงใหม่ ได้รวบรวมคำตัดสินของศาลฎีกามาเพื่อเป็นกรศึกษาของผู้ท่านสนใจในประเด็นนี้ ดังนี้
                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6664/2556
                แม้จำเลยในฐานะผู้ให้กู้ยืมจะไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 เพราะหนี้เงินกู้ไม่เกี่ยวกับตัวทรัพย์พิพาท แต่เมื่อข้อตกลงตามสัญญากู้ระบุให้ผู้ให้กู้มีสิทธิยึดทรัพย์พิพาทไว้เป็นประกันจนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้เป็นข้อตกลงที่คู่สัญญาสมัครใจทำกันไว้ ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมมีผลบังคับ ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิยึดถือทรัพย์ที่นำมาประกันไว้จนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้ตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอโฉนดที่ดิน และหนังสือสัญญากู้เงินคืนจนกว่าโจทก์จะได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลย
 
                แต่ทรัพย์สินบางอย่าง เจ้าหนี้ก็ไม่สามารถที่จะยึดหน่วงได้ เช่น ค่าจ้างและเงินทดรองจ่ายของลูกจ้าง นายจ้างไม่มีสิทธิยึดหน่วงไว้เพื่อชำระหนี้ เป็นต้น
                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12429/2558
                ค่าจ้างและเงินทดรองจ่ายที่จำเลยค้างจ่ายแก่โจทก์เป็นเพียงหนี้ที่นายจ้างจะต้องจ่ายแก่ลูกจ้าง ไม่ใช่ทรัพย์สินของลูกจ้างที่นายจ้างครองอยู่ ทั้งค่าจ้างและเงินทดรองจ่ายกับข้ออ้างเรื่องความเสียหายจากการที่โจทก์ไม่ส่งมอบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับเอกสารการทำงานของสถานที่ก่อสร้าง 13 แห่ง เมื่อโจทก์ลาออกจากงานนั้นไม่เกี่ยวข้องกัน ค่าจ้างและเงินทดรองจ่ายดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยครองอยู่โดยมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยทรัพย์สินนั้น ดังนั้นจำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างและเงินทดรองจ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างและเงินทดรองจ่ายแก่โจทก์
                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9790/2558
                จำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารของโจทก์ ทั้งมิได้เป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินของโจทก์ในขณะทำการก่อสร้างตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงมิได้เป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินของโจทก์และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่ครอบครองนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 หากแต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ที่จะได้รับค่าจ้างงวดงานจากโจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์จ่ายค่าจ้างตามงวดงานที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่โจทก์ ทั้งปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำมูลหนี้ดังกล่าวฟ้องโจทก์ในอีกคดีหนึ่ง ซึ่งศาลพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างสิทธิยึดหน่วงเพื่ออยู่ในอาคารและพื้นที่อาคารของโจทก์
                และคำพิพากษาที่ตัดสินในเรื่องของการยึดหน่วงดังนี้
                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9790/2558
                จำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารของโจทก์ ทั้งมิได้เป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินของโจทก์ในขณะทำการก่อสร้างตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงมิได้เป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินของโจทก์และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่ครอบครองนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 หากแต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ที่จะได้รับค่าจ้างงวดงานจากโจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์จ่ายค่าจ้างตามงวดงานที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่โจทก์ ทั้งปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำมูลหนี้ดังกล่าวฟ้องโจทก์ในอีกคดีหนึ่ง ซึ่งศาลพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างสิทธิยึดหน่วงเพื่ออยู่ในอาคารและพื้นที่อาคารของโจทก์
 
                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19411/2555
                การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท และขอบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำไว้ต่อโจทก์โดยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งต้องเริ่มนับแต่ขณะที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ คือนับแต่โจทก์ทราบว่าเอกสารสูญหายและให้จำเลยนำเอกสารชุดใหม่มาให้อันเป็นช่วงระหว่างปี 2525 และเมื่อนับถึงวันฟ้องคือ วันที่ 9 ธันวาคม 2545 ล่วงเลย 10 ปี แล้วก็ตาม แต่จากคำฟ้องและคำเบิกความของโจทก์อ้างว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ชำระราคาที่ดินครบถ้วนและจำเลยส่งมอบการครอบครองที่ดินให้โจทก์แล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้ไปดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญา อันเป็นเหตุให้โจทก์นำคดีมาฟ้องให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญา เช่นนี้ หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์ ย่อมถือได้ว่าหนี้ดังกล่าวเป็นคุณประโยชน์แก่โจทก์เกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่โจทก์ครอบครองอยู่ ทำให้โจทก์อยู่ในฐานะเป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง ซึ่งย่อมมีสิทธิยึดหน่วงที่ดินพิพาทไว้จนกว่าจะมีการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทตามสัญญาแม้คดีจะขาดอายุความแล้วก็ตาม อันเป็นการใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/27 และมาตรา 241
               

ขอบคุณบทความจาก : https://www.xn--42cgi4cjab1btnchd1exbza5gvad6dvnqc6f.com/

Tags : ทนายความเชียงใหม่ , ทนายความ , รับทำคดีความเชียงใหม่
บันทึกการเข้า

saibennn9

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 274
    • ดูรายละเอียด
    • ทนายความเชียงใหม่

ขออนุญาตดันกระทู้ครับ
บันทึกการเข้า

saibennn9

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 274
    • ดูรายละเอียด
    • ทนายความเชียงใหม่

ขออนุญาตดันกระทู้ครับ
บันทึกการเข้า

saibennn9

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 274
    • ดูรายละเอียด
    • ทนายความเชียงใหม่

ขออนุญาตดันกระทู้ครับ
บันทึกการเข้า