อสังหาริมทรัพย์นั้น คงหนีไม่พ้นที่ท่านจะต้องเข้าใจว่ามันคือที่ดิน แล้วการซื้อที่ดินหละ จะต้องทำอย่างไร หากปรากฏว่า ผู้ขายไม่ยินยอมโอนที่ดินที่จะซื้อให้แก่ท่าน
วันนี้
ทนายเชียงใหม่จะพาท่านมาหาคำตอบจากข้อกฎหมายของประเทศไทยกันว่า จะช่วยให้ท่านได้รับความยุติธรรมกันอย่างไร
ก่อนอื่น ผู้อ่านจะต้องเข้าใจก่อนว่า การทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินนั้น จะต้องมีหลักฐานเสียหายก่อน นั้น อาจจะเป็น การวางมัดจำ การชำระเงินบางส่วน หรือการจัดทำสัญญาจะซื้อขาย นอกจากนั้นแล้วในบางกรณีได้มีการส่งมอบที่ดินให้ได้ครอบครองที่ดินในระหว่างรอการโอนกรรมสิทธิ์ ใครจะขาดคิดว่า ผู้จะขายที่ดินกลับไม่ยินยอมโอนที่ดินให้แก่ผู้จะซื้อ (
ทนายความเชียงใหม่)
กฎหมายที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 บัญญัติว่า ผู้ใดเป็นผู้ครองทรัพย์สินของผู้อื่น และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครองนั้นไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะได้ชำระหนี้ก็ได้ แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ เมื่อหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนด
จากหลักกฎหมายดังกล่าว ทนายจังหวัดเชียงใหม่ ได้ข้อกฎหมายว่า การที่จะยึดหน่วงทรัพย์ได้ ทรัพย์นั้นจะต้องอยู่ในความครอบครองของผู้อ่าน และมีหนี้เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย เมื่อเข้าหลักเกณฑ์ 2 ประการนี้แล้ว ผู้อ่านก็มีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นจนกว่าจะได้รับชำระหนี้ได้
จากข้อกฎหมายที่ท่านได้ทราบมาแล้ว ทนายความจังหวัดเชียงใหม่ จะขอให้แก่พิจารณา ข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อเราซื้อที่ดินและได้รับการส่งมอบที่ดินระหว่างรอการโอนเปลี่ยนแปลงชื่อทางทะเบียนที่สำนักงานที่ดินแล้ว แต่ผู้ขายไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ ดังนั้น เราก็สามารถที่จะยึดหน่วงที่ดินได้จนกว่าผู้ขายจะยอมโอนที่ดินให้แก่คุณได้
ทั้งนี้ มีกรณีเช่นเกิดขึ้นมาแล้ว และได้มีคำตัดสินของศาลฎีกาออกมาให้ท่านได้พิจารณาแล้ว ดังนี้
คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 6531/2541 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยรับเงินมัดจำไว้แล้วทั้งได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองตลอดมา เมื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงที่ดินพิพาทไว้จนกว่าจะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 และมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้ คดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 193/27 และโจทก์หาจำต้องใช้สิทธิบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินภายในกำหนดอายุความ 10 ปีไม่
Tags : ทนายเชียงใหม่,ทนายความเชียงใหม่,ทนายความจังหวัดเชียงใม่