รับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

SMF - Just Installed!

ผู้เขียน หัวข้อ: ให้โดยเสน่หา  (อ่าน 482 ครั้ง)

saibennn9

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 274
    • ดูรายละเอียด
    • ทนายความเชียงใหม่
ให้โดยเสน่หา
« เมื่อ: กันยายน 13, 2018, 01:31:17 AM »

" ให้ "  เป็นสัญญาประเภทหนึ่ง ตามกฎหมาย ซึ่งบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 521 บัญญัติว่า " อันว่าให้นั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น "มาตรา 536 บัญญัติว่า " การให้อันจะให้เป็นผลต่อเมื่อผู้ให้ตายนั้น ท่านให้บังคับด้วยกฎหมายว่าด้วยมรดกและพินัยกรรม "   จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ทำให้เข้าใจได้ว่า การให้นั้นมี 2 ประเภท คือ        1. การให้ที่มีผลในระหว่างที่ผู้ให้ยังมีชีวิตอยู่         2. การให้ที่มีผลเมื่อผู้ให้ถึงแก่ความตาย (อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยมรดกและพินัยกรรม)ในวันนี้พวกเราทนายความเชียงใหม่ จะขอพูดถึงเรื่อง การให้โดยเสน่หา สัญญาให้โดนเสน่หา ต้องมีองค์ประกอบของสัญญาดังนี้1.1."คูู่สัญญา"  ในสัญญาให้โดยเสน่หานั้นต้องมีคู่สัญญาสองฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ และอีกฝ่ายหนึ่ง้รียกว่าผู้รับ                                            " ผู้ให้ " นั้นจะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ให้ เพราะตามมาตรา 521 นั้นเป็นเรื่องที่ผู้ให้ " โอนทรัพย์สินของตน " ให้แก่ผู้รับ หากผู้รับไม่ใช่เจ้าของ การให้คือการโอนทรัพย์สินย่อมเกิดขึ้นไม่ได้                                                                                                                              บุคคลที่จะเป็น " ผู้ให้ " หากเป็นบุคคลธรรมดา ก็จะต้องมีความสามารถในการใช้สิทธิตามกฎหมาย                                                                                             หากเป็นนิติบุคคล การให้นั้นต้องอยู่ในกรอบวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในตราสารจัดตั้ง                                               " ผู้รับการให้ " เป็นการรับทรัพย์สินที่ผู้ให้ยกให้ไปเปล่าๆ โดยไม่ต้องมีอะไรตอบแทน จึงไม่กระทบกระเทือนกับประโยชน์ของผู้รับการให้ บุคคลธรรมดาทุกคนจึงเป็นผู้รับการให้ได้แม้จะเป็นบุคคลที่ไม่มีความสามารถตามกฎหมาย 1.2. วัตถุประสงค์ สำหรับวัตถุประสงค์ของสัญญาให้นั้นคือ การที่ฝ่ายหนึ่งโอนทรัพย์สินให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งโดยฝ่ายหลังไม่มีหน้าที่ต้องให้อะไรตอบแทน ** หากมีการตกลงให้อะไรตอบแทนการให้ การให้นั้นก็ไม่ใช่การให้โดยเสน่หา แต่อาจกลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนไป1.3. เจตนา เจตนาที่แสดงออกต้องตรงกับเจตนาภายใน 1.4. แบบ กฎหมายได้กำหนดแบบของการให้โดยเสน่หา ไว้ดังนี้     มาตรา 523 บัญญัติว่า " การให้นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ "                                                                               จะเห็นได้ว่า หากผู้ให้ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์มินที่ให้แก่ผู้รับไปในทันที สัญญาให้ย่อมไม่สมบูรณ์ ผู้รับจะเรียกให้ผู้ให้ส่งมอบทรพย์สินที่ให้ไม่ได้     มาตรา 525 บัญญัติว่า " การให้ทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีเช่นนี้ การให้ย่อมเป็นอันสมบูรณ์โดยมิพักต้องส่งมอบ"                                                                                                                                             ทรัพย์สินที่หากมีการซื้อขายจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ(เรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป รวมทั้งแพและสัตว์พาหนะด้วย)  เมื่อมีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการให้เรียบร้อยแล้ว ก็ถือว่าการให้นั้นสมบูรณ์
บันทึกการเข้า