รับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

SMF - Just Installed!

ผู้เขียน หัวข้อ: เหตุใด การโอนขายที่ดินที่จะซื้อขายกับคุณไปให้บุคคลอื่น ไม่เป็นโกงเจ้าหนี้ !!  (อ่าน 536 ครั้ง)

saibennn9

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 274
    • ดูรายละเอียด
    • ทนายความเชียงใหม่

กรณีนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง เรื่องมีอยู่ว่า นาย เอ ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดิน 15 แปลง กับนาย บี ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินทั้งสามแปลง ในราคา 9 ล้านบาท ในวันทำสัญญาจะซื้อขาย นาย เอ ได้ชำระเงินให้แก่นาย บี จำนวน 5 แสนบาทแล้ว ยังคงค้างอยู่อีกจำนวน 8.5 ล้านบาท ตกลงโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กันภายหลังจากทำสัญญา อีก 4 เดือน ปรากฎว่า ระหว่างรอโอนกรรมสิทธิ์ นาย บี ได้แอบเอาที่ดินตามสัญญา จำนวน 3 แปลงไปขายให้แก่บุคคลอื่น จึงเป็นปัญหาว่า นาย บี โกงเจ้าหนี้ คือนาย เอ หรือไม่ปรากฎว่า สู้กันอยู่ 3 ศาล ศาลช้ั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตัดสินว่า นาย บี มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ แต่ศาลฎีกากลับยกฟ้องโจทก์ เพราะเหตุที่ว่า 1.เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2555 โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินรวม 15 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างกับจำเลยที่ 1 ในราคา 9,000,000 บาท วางมัดจำในวันทำสัญญา 500,000 บาท ส่วนที่เหลือ 8,500,000 บาท จะชำระในวันที่ 31 ตุลาคม 2555 อันเป็นวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน2.วันที่ 22 ตุลาคม 2555 โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแจ้งยืนยันกำหนดวันนัดทำสัญญาซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปยังจำเลยที่ 1 และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 4779, 4780 และ 4781 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน 15 แปลง ที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายให้แก่โจทก์ ให้แก่จำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาขายที่ดินพร้อมโฉนดที่ดิน3.มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามฟ้องหรือไม่ 4.สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินรวม 15 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องไปทำสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน5.เมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระหนี้ค่าที่ดินส่วนที่เหลือจำนวน 8,500,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 สิทธิเรียกร้องที่จะให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินรวม 15 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาจะซื้อจะขายยังมิอาจบังคับกันได้ โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามความหมายในบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3506.การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่โอนที่ดิน 3 แปลงดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ขาดองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตามฟ้องคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2559สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินรวม 15 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องไปทำสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอีกครั้งหนึ่ง และเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 8,500,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 สิทธิเรียกร้องที่จะให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินรวม 15 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาจะซื้อจะขายยังมิอาจบังคับกันได้ โจทก์ยังไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามความหมายในบทบัญญัติของ ป.อ. มาตรา 350 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่โอนที่ดิน 3 แปลงใน 15 แปลงดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 จึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้โดย ทนายความเชียงใหม่
บันทึกการเข้า