รับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

SMF - Just Installed!

ผู้เขียน หัวข้อ: รื้อทางเท้าที่มีอยู่เดิมออกหรือเหลือเพียงบางส่วนเพื่อขยายผิวจราจร  (อ่าน 558 ครั้ง)

saibennn9

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 274
    • ดูรายละเอียด
    • ทนายความเชียงใหม่

วันนี้ทาง ทนายความเชียงใหม่ เรามีคดีปกครองที่น่าสนใจและอยู่ในชีวิตประจำวัน มาฝากเพื่อนๆทุกคนค่ะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการขยายถนนเพื่อให้รถวิ่งได้อย่างสะดวกสบาย แต่...กลับรื้อทางเท้าสำหรับคนเดินออกหรือเหลือพื้นที่สำหรับทางเท้าเพียงบางส่วน         เรื่องมีอยู่ว่า เทศบาลแห่งหนึ่งได้จัดทำโครงการก่อสร้างปรับปรุงและขยายผิวจราจรโดยรื้อทางเท้าที่มีอยู่เดิมและตัดหรือย้ายต้นไม้ที่ปลูกบนทางเท้าออกไปเพื่อทำการขยายถนนและทำเป็นที่จอดรถ  ซึ่งถนนที่เทศบาลได้ทำการขยายนั้น ล้วนเป็นถนนที่เคยมีทางเท้าอยู่ทั้งสองข้างทางทั้งสิ้น การที่เทศบาล(ผู้ถูกฟ้องคดี) จัดทำโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายผิวจราจรโดยการรื้อทางเท้าที่มีอยู่เดิมออกไปทั้งหมดหรือบางส่วน จึงถือเป็นการตัดโอกาสประชาชนที่จะใช้ทางเท้าโดยสิ้นเชิง และย่อมทำให้ประชาชนต้องลงมาเดินบนพื้นผิวจราจรแทน ซึ่งไม่มีความปลอดภัยในชีวิตร่างกาย และทรัพย์สิน และหากการขยายผิวจราจรในย่านชุมชนของเทศบาลดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อทำเป็นช่องทางจอดรถสองข้างทางดังที่อ้างมา ก็เป็นที่เห็นได้ว่าประชาชนจะต้องลงมาเดินบนผิวจราจรในช่องทางถัดไปแทน ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดอันตรายในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนดังที่กล่าวแล้ว ยังเป็นการกีดขวางการจราจรซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดหรือไม่คล่องตัวตามมาอีกด้วย          ประกอบกับอธิบดีกรมโยธาธิการได้อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ. 2535 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้ถูกฟ้องคดีจัดทำโครงการดังกล่าว ออกประกาศเรื่อง มาตรฐานและลักษณะของทางหลวงและงานทางรวมทั้งกำหนดเขตทางหลวง ที่จอดรถ ระยะแนวต้นไม้ และเสาพาดสายเกี่ยวกับทางหลวงชนบทและทางหลวงเทศบาล พ.ศ. 2543 ซึ่งกำหนดให้แบ่งทางหลวงเทศบาลออกเป็น 4 ชั้น โดยทางหลวงเทศบาลชั้นที่ 3 กำหนดให้ต้องประกอบด้วยลักษณะผิวจราจรเป็นลูกรัง หรือวัสดุอื่นที่ดีกว่า มีความกว้างผิวจราจรไม่น้อยกว่า 6 เมตร และมีทางเท้าหรือไหล่ทางทั้งสองข้าง กว้างข้างละไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร        แม้เทศบาลจะอ้างว่าถนนที่ทำการขยายทั้ง 24 โครงการนั้น ไม่ได้อยู่ในประเภททางหลวงเทศบาลตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 เนื่องจากมิได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงเทศบาลก็ตาม แต่เมื่อถนนที่เทศบาลดำเนินการขยายผิวจราจรทั้ง 24 โครงการนั้น เป็นทางหลวงที่อยู่ในเขตของเทศบาลฯจึงชอบที่จะต้องนำมาตรฐานและลักษณะของทางหลวง งานทาง และเขตทางหลวง มาตรฐานที่จอดรถ ระยะแนวต้นไม้และเสาพาดสาย ตามประกาศกรมโยธาธิการดังกล่าวมาประกอบในการพิจารณาขยายถนนทั้ง 24 โครงการโดยอนุโลม         เมื่อถนนทั้ง 24 โครงการ ล้วนแต่มีความกว้างผิวจราจรไม่น้อยกว่า 6 เมตร ซึ่งเทียบเคียงได้กับทางหลวงเทศบาลชั้นที่ 3 ดังนั้นการที่เทศบาลรื้อทางเท้าที่มีอยู่เดิมออกไปทั้งหมด หรือเหลือไว้เพียงบางส่วนของสองข้างทาง หรือเพียงข้างใดข้างหนึ่งของถนน ซึ่งมีความกว้างของทางเท้าน้อยกว่าข้างละ 1.50 เมตร จึงไม่เป็นไปตามมาตรฐานและลักษณะของทางหลวงเทศบาลตามประกาศกรมโยธาธิการฯ        การกระทำดังกล่าว จึงเป็นการคำนึงถึงแต่ความสะดวกของผู้ใช้รถเท่านั้น อีกทั้งไม่ได้ทำให้การจราจรคล่องตัวขึ้นกว่าเดิม และไม่ได้ทำให้เกิดความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนที่จะต้องใช้ทางเท้า ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานและลักษณะของทางหลวงเทศบาล กรณีจึงถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่มีเหตุผลอย่างชัดแจ้ง อันเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบและยังเป็นการละเลยต่อหน้าที่ในการจัดให้มีและบำรุงรักษาทางเท้าซึ่งเป็นการบริการสาธารณะตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติอีกด้วย         ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้เทศบาล...ดำเนินการจัดให้มีทางเท้าในถนนที่มีการขยายผิวจราจรทุกสายที่เคยมีทางเท้าอยู่เดิม โดยพิจารณาความกว้างของทางเดินเท้ารวมทั้งการปลูกต้นไม้บนทางเท้าดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพการใช้ประโยชน์ของชุมชน และขนาดของถนนแต่ละโครงการ ซึ่งจะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่าข้างละ 1.50 เมตร โดยอนุโลมให้ใช้มาตรฐานของประกาศกรมโยธาธิการฯ
(อ.54/2553)ที่มา ...ศาลปกครอง
บันทึกการเข้า