รับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

SMF - Just Installed!

ผู้เขียน หัวข้อ: ฝังแร่..ทางเลือกใหม่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก โดยไม่ต้องผ่าตัด  (อ่าน 419 ครั้ง)

itroom0016

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 39
    • ดูรายละเอียด

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคของผู้ชายที่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 พบได้มากถึง 1 ใน 6 ของผู้ชายที่สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มะเร็งต่อมลูกหมากมักจะไม่แสดงอาการแต่จะทราบได้จากการตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก PSA
สาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด แต่น่าจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยดังนี้
    - อายุ เพราะมะเร็งต่อมลูกหมากพบได้มากในผู้ชายที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป
    - มีประวัติคนในครอบครัวที่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้สูงกว่าคนทั่วไป
    - คนที่สูบบุหรี่ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้กว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่
    - การรับประทานอาหารที่มีไขมันสัตว์ หรือเนื้อสัตว์ติดมันจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าปกติ
อาการทั่วไปของมะเร็งต่อมลูกหมาก
    - ปัสสาวะอ่อนแรง
    - ปัสสาวะบ่อยหรือต้องปัสสาวะทันทีกลั้นไม่ได้
    - ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน
    - ปัสสาวะลำบาก
    - ไม่สามารถปัสสาวะเองได้
    - มีอาการเจ็บขณะปัสสาวะ
    - มีเลือดหรือหนอง ออกมาระหว่างปัสสาวะ
    - ปวดหลังหรือปวดกระดูกอย่างต่อเนื่อง
 

แนวทางการวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก
      เนื่องจากมะเร็งในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ การตรวจเพื่อให้ได้ผลในระยะเริ่มต้นจึงมีความสำคัญ โดยทั่วไปแล้วผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปควรตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยแพทย์เป็นประจำทุกปี หากมีประวัติญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรจะมารับการตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากทุกปี ตั้งแต่อายุ 40 ขึ้นไป การตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากประกอบด้วย การตรวจทางทวารหนัก และ การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง  PSA เมื่อได้ค่าพื้นฐานเหล่านี้แล้วแพทย์จะแปลผล และสามารถระบุได้ว่าผู้ป่วยรายใดมีความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมาก
ทางเลือกในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
       การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มแรกที่มะเร็งยังไม่แพร่กระจายออกไปนอกต่อมลูกหมาก สามารถรักษาให้หายขาดได้ในหลายวิธีอาทิ
การผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออก
     โดยผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง หรือใช้การผ่าตัดแบบส่องกล้อง ซึ่งมีข้อดีคือ เจ็บแผลน้อย เนื่องจากเป็นแผลเจาะรู เสียเลือดน้อย ฟื้นตัวไว การตัดเลาะต่อมลูกหมากทำได้โดยละเอียดแม่นยำ เนื่องจากภาพที่ขยายจากการส่องกล้อง แต่ข้อเสียของการผ่าตัดคือ หลังผ่าตัดผู้ป่วยอาจมีอาการการควบคุมปัสสาวะสูญเสียไปชั่วคราวหรือภาวะสูญเสียความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
การฉายรังสี
     เข้าไปยังตำแหน่งที่เกิดมะเร็ง หรือใช้การฝังแร่เข้าไปที่บริเวณต่อมลูกหมาก วิธีนี้มีโอกาสสูญเสียความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศน้อยกว่าการผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออก แต่อาจทำให้เกิดอาการอุจจาระบ่อย มีการระคายเคืองที่ทวารหนักและปัสสาวะลำบาก
การฝังแร่
     เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากที่นานาชาติให้การยอมรับว่าประสบความสำเร็จ ในการรักษาสูง
การผังแร่ (Brachytherapy) ทางเลือกใหม่ ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
      การฝังแร่มะเร็งต่อมลูกหมาก (Brachytherapy) เป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษามะเร็งต่อมลูกมากในระยะเริ่มแรกที่มีความเสี่ยงต่อการลุกลามของมะเร็งน้อย ให้ผลการรักษาเท่าเทียมการผ่าตัด แต่มีข้อดีคือไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว จึงพบได้น้อยกว่าการผ่าตัด
      ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมีโอกาสรักษาให้หายได้สูงถึง 85-90% หากตรวจพบในระยะเริ่มแรก และหลังจากได้รับการฝังแร่แล้ว เมื่อตรวจหาค่า PSA อีกครั้ง พบว่า ระดับPSA ของผู้ป่วยลดลง ถึงระดับปกติหรือต่ำกว่าถึง 80%
ผลจากการติดตามผู้ป่วยเป็นเวลาถึง 10 ปี พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบ Brachytherapy สามารถดำเนินชีวิตได้ดีกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายแสง หรือด้วยการผ่าตัด อย่างไรก็ดี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้อธิบายถึงทางเลือกในการรักษาแก่ผู้ป่วย เพื่อให้ได้ตัดสินใจเลือกวิธีการ ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวเอง
วิธีการรักษาด้วยวิธีการ “ ฝังแร่ ”
        การรักษาด้วยวิธีนี้ทำได้โดยการฝังเม็ดแร่ หรือต้นกำเนิดรังสีที่สามารถแผ่รังสีอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่งเข้าไปที่อวัยวะเป้าหมายเพื่อให้รังสีที่แผ่ออกมานั้นทำลายเซลล์มะเร็งโดยไม่กระทบกระเทือนอวัยวะใกล้เคียงอื่น ๆ การรักษาด้วยวิธีนี้ค่อนข้างง่าย และมีความเสี่ยงน้อย สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะโรคหัวใจหรือภาวะความดันผิดปกติเนื่องจากผู้ป่วยไม่เสียเลือดมาก (ไม่เกิน 20 CC.)


ที่มา : http://www.chularat.com/knowledge_detail.php?lang=th&id=52

Tags : โรงพยาบาลในสมุทรปราการ,โรงพยาบาลในประเทศไทย, ศูนย์ศัลยกรรมมือและกระดูก (จุลศัลยกรรม)
บันทึกการเข้า