รับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

SMF - Just Installed!

ผู้เขียน หัวข้อ: มีวิธีแก้อย่างไร เมื่อแอร์ไม่เย็น  (อ่าน 487 ครั้ง)

akapatneo

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 543
    • ดูรายละเอียด
มีวิธีแก้อย่างไร เมื่อแอร์ไม่เย็น
« เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2016, 08:37:15 AM »


    วันนี้มีวิธีการตรวจสอบสอบแอร์วิธีง่ายๆ แต่ได้ผลด้วยตัวท่านเอง โดยไม่จำเป็นต้องเรียกช่างมาซ่อมแอร์
    ในช่วงหน้าร้อน ปัญหาที่มาราวีใจช่างของอาคารและบริษัท ต่างๆมากที่สุดคือ การได้รับโทรศัพท์แจ้งว่าแอร์ไม่เย็น “สวัสดีครับ แผนกช่างไช่ไหมครับ ตอนนี้แอร์ไม่เย็นเลย ห้องทำงานของหัวหน้าร้อนจะตายอยู่แล้ว ช่วยขึ้นมาดูเดี๋ยวนี้ได้ไหม” เสียงตามสายแจ้งมาว่าแอร์ไม่เย็นมักจะมีอารมณ์ไม่เย็นแฝงมาด้วยเพราะว่าอากาศรอบๆตัวก็ไม่เย็น แถมยังโดนเจ้านายพ่นไฟใส่อีกต่างหาก เมื่อได้รับแจ้งแอร์ไม่เย็น สิ่งที่ช่างเกือบทุกคนต้องมองดูเป็นสิ่งแรกคือเทอร์โมสตาตตั้งไว้นั้นว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าตั้งสูงเกินไปก็ปรับลดลงมา ก็เป็นอันหมดข้อสงสัย แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่โชคดีขนาดนั้นเพราะเทอร์โมสตาต มักถูกจะตั้้งไว้อยู่ในระดับที่ 22-23 องศาเซลเซียส(หรือต่ำกว่า) แต่อุณหภูมิในห้องยังสูง 29-30 องศาเซลเซียสอยู่มาถึงตอนนี้ช่างเกือบทั้งร้อยก็จะตั้งเทอร์โมสตาตต่ำลงไปอีกบางที่ก็บิดกันจนสุด โดยมีที่คาดหวังเล็กๆน้อยๆว่ามันจะช่วยให้มีความเย็นขึ้นบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วมันไม่ได้ช่วยอะไร เพราะถ้าเครื่องปรับอากาศปกติดีอยู่ ก็จะต้องทำความเย็นตามที่ตั้งไว้เดิมอยู่แล้ว ไม่ต้องมาตั้งกันลงไปอีก ถ้าท่านเคยพบปัญหาลักษณะนี้ บทความนี้อาจช่วยท่านได้ในการตรวจสอบไปทีละขั้นตอน เพื่อให้รู้แน่ชัดว่าปัญหาของแอร์ไม่เย็น เกิดมาจากอะไรกันแน่ แล้วจะแก้ไขซ่อมแอร์ให้ถูกจุด เหมือนกับเกาได้ถูกที่ในขณะคันเมื่อพบปัญหาแอร์ไม่เย็นให้เริ่มต้นที่การตรวจสอบตามหัวข้อดังนี้ เพื่อเป็นตรวจสอบอุณหภูมิลมจ่ายการตรวจสอบอุณหภูมิลมจ่ายทำได้โดยใช้เทอร์โมมิเตอร์ถ้าจะให้ดีก็ควรเป็นแบบดิจิตอล ซึ่งจะวัดได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วกว่าวิธีการวัดควรจะวัดให้ใกล้กับหน้ากากจ่ายลมเย็นให้มากที่สุด ถ้าจะให้ดีควรยืนเข้าไปวัดในหน้ากากที่จ่ายลมเลยครับ แต่ต้องระวังไม่ให้หัววัดสัมผัสกับหน้ากากการตรวจสอบ1.ถ้าวัดได้ 10-15 C ถือว่าเป็นปกติ2.ถ้าวัดได้สูงกว่า 15 C ถือว่าสูงกว่าปกติ ให้ตรวจสอบดังนี้การตรวจสอบทั่วไป– ตรวจสอบว่ามี flesh airm เข้ามามากเกินไปหรือไม่– ตรวจสอบว่าท่อลมกลับรั่ว และดูดลมร้อนเข้ามาหรือไม่– ตรวจสอบว่าในช่องฝ้าเพดาน หรือในจั่วมีรอยรั่วให้ลมร้อนเข้าผ่านมาหรือไม่ในกรณีที่ดูดลมกลับเหนือฝ้าเพดานแอร์ชนิด Spilt type– ตรวจสอบว่าน้ำยาหมดหรือยัง– ตรวจสอบว่าคอยล์เย็นและคอยล์ร้อนสกปรกหรือไม่– ตรวจสอบว่ามีสิ่งกีดขวางทางช่องระบายลมร้อนหรือไม่– ตรวจสอบว่าลมร้อนถูกดูดย้อนกลับไปหรือไม่แอร์ชนิดน้ำเย็น-ตรวจสอบอัตราการไหลของน้ำเย็นว่าตรงตามข้อที่กำหนดหรือไม่(ปกติจะต้อง 24 gmp/ตัน)– ตรวจสอบว่าอุณหภูมิน้ำที่เข้าเครื่องว่าสูงกว่าข้อกำหนดหรือไม่(ปกติจะมีค่า 45 F)– ตราจสอบว่าคอยล์สกปรกหรือไม่หากตรวจสอบตามรายการด้านบนแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติก็อาจเป็นไปได้ว่าเครื่องปรับอากาศมีขนาดทำความเย็นไม่เพียงพอหรือเครื่องที่มีขนาดเล็กเกินไปนั้นเอง ทั้งนี้ขอให้ตรวจสอบปริมาณของลมจ่ายในข้อถัดไป และแก้ไขให้มีลมจ่ายมากขึ้นก็อาจจะทำให้ห้องเย็นขึ้นได้ หากเครื่องแอร์มีขนาดเล็กเกินไปไม่ใหญ่มากนัก ตรวจสอบปริมาณลมจ่ายของแอร์การวัดปริมาณลมจ่ายทำโดยวัดความเร็วของลม แล้วนำไปคูณกับพื้นที่ ของหน้ากากจ่ายลมของแอร์ เครื่องวัดความเร็วลมมีหลายรูปแบบแต่ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องแบบใบพัด ซึ่งจะมีความแม่นยำและราคาไม่แพงเพื่อหน้ากากลมขนาดใหญ่ ควรวัดความเร็วลมหลายๆจุดแล้วนำค่ามาเฉลี่ยกัน เพื่อหัวจ่ายลมที่ติดเพดาน จะสะดวกกว่าถ้าทำกรวยไปครอบแล้วต่อคอลงมาถึงระดับที่วัดไว้ได้ง่าย การตรวจดูปริมาณลมว่าน้อยกว่าที่กำหนดหรือไม่ ถ้าไม่มีแบบหรือข้อกำหนดให้พิจารณาดังนี้[list=1]
    • ห้องทั่วไป ควรมีปริมาณลมจ่าย 15-30 cfm/ตารางเมตร[/*]
    • ห้องติดริมกระจก ควรมีปริมาณการจ่ายลม 30-40 cfm/ตารางเมตร[/*]
    เมื่อพบว่าปริมาณลมจ่ายน้อยเกินไปให้ตรวบสอบดังนี้– สังเกตว่าแผงกรองอากาศของแอร์อุดตันหรือไม่– ตรวจว่าความเร็วรอบของพัดลมต่ำกว่ากำหนดหรือไม่หรือตรวจสอบว่าสายพานสลิปหรือไม่– สำรวจว่าลมไปออกห้องอื่นๆมากเกินหรือไม่– สำรวจว่ามีท่อลมรั่วไหลตามตะเข็บข้อต่อหรือไม่หรือไม่– ตรวจสอบว่าท่อลมอ่อนฉีกหรือไม่– สำรวจว่ามีลมรั่วที่รอยต่อระหว่างคอหัวจ่ายกับท่อลมหรือไม่โดยทั่วไปแล้วตัวปัญหาแอร์ไม่เย็นมากกว่า 90% จะเกิดจากปมปัญหาอุณหภูมิลมจ่ายสูงเกิน หรือปริมาณลมจ่ายน้อยเกินไปหรือเกิดจากทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกันดังนั้น เมื่อตรวจสอบตามรายการข้างต้นแล้วก็น่าจะพบต้นสายปลายเหตุของปัญหา และสามารถแก้ปัญหาและซ่อมแอร์ได้อย่างถูกต้องต่อไป 

    ติดต่อสอบถาม หรืออ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่ http://handymancm.com/

    *** บทความมีการเรียบเรียงใหม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนทั่วไปรับทราบสาระที่อาจเป็นประโยชน์ ไม่มีเจตนามุ่งแสวงหากำไร บุคคลอื่นสามารถใช้บทความต่างๆ ที่เรียบเรียงของเราได้ ***
    บันทึกการเข้า