บ้านมีความสำคัญต่อชีวิตของเราในหลายด้าน ไม่เพียงแต่เป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ให้เราสามารถใช้เวลาอยู่กับครอบครัวได้อย่างมีความสุข เป็นสถานที่ที่ให้เราสามารถปลดปล่อยความเครียดจากงานได้ ซึ่งบ้านในปัจจุบันนั้น มีหลายประเภทมาก ไม่ว่าจะเป็น บ้านเดี่ยว
บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม คอนโด ทำให้ผู้ที่ต้องการซื้อบ้านมีตัวเลือกเยอะ และสามารถเลือกให้ตรงกับความต้องการของตนเองมากที่สุดได้ แต่ทั้งนี้ทั้งก็ต้องดูกฎหมายควบคู่ไปด้วยนะคะ ซึ่งบ้านแต่ละประเภทนั้นจะมีกฎหมายและข้อบังคับที่แตกต่างกันออกไป เช่น อยากซื้อที่อยู่อาศัยเป็น
บ้านแฝด ก็ต้องรู้ถึงกฎหมาย และข้อบังคับเบื้องต้นของบ้านแฝดเอาไว้ดังนี้
กฎหมายและข้อบังคับที่ควรทราบเบื้องต้นเกี่ยวกับบ้านแฝด
การซื้อ
บ้านแฝดในประเทศไทยมีกฎหมาย และข้อบังคับหลายประการที่ควรทราบ เพื่อให้การซื้อขายเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัยเอาไว้ดังนี้ค่ะ
1. โฉนดที่ดินและสิทธิ์ในทรัพย์สิน ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าโฉนดที่ดินของบ้านแฝดมีความชัดเจนและไม่มีปัญหาทางกฎหมาย โฉนดที่ดินควรจะมีการลงทะเบียนอย่างถูกต้องและปราศจากภาระผูกพันใดๆ
2. สัญญาซื้อขาย สัญญาซื้อขายควรมีรายละเอียดที่ชัดเจน เช่น ราคาซื้อขาย, รายละเอียดของทรัพย์สิน, กำหนดการชำระเงิน และข้อตกลงเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์
3. กฎหมายสร้างบ้าน ในกรณีที่บ้านแฝดอยู่ระหว่างการก่อสร้างหรือมีการปรับปรุงใหม่ ควรตรวจสอบว่าการก่อสร้างนั้นเป็นไปตามมาตรฐานและกฎหมายท้องถิ่นหรือไม่ เช่น กฎหมายควบคุมอาคาร
4. กฎหมายความเป็นเจ้าของร่วม บ้านแฝดอาจมีบางส่วนที่เป็นการเป็นเจ้าของร่วม เช่น พื้นที่ส่วนกลาง ควรมีการทำความเข้าใจในเรื่องของสิทธิและหน้าที่ในพื้นที่เหล่านี้อย่างชัดเจน
5. ภาษีและค่าธรรมเนียม ควรทราบถึงภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อบ้าน เช่น ภาษีการโอนกรรมสิทธิ์, ภาษีธุรกิจเฉพาะ และค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน
6. ข้อจำกัดในการใช้ทรัพย์สิน ควรตรวจสอบข้อจำกัดหรือข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้งานในทรัพย์สิน อย่างเช่น ข้อจำกัดในการเช่า ออก หรือการใช้พื้นที่สำหรับกิจการพาณิชย์
ทั้งนี้การทราบกฎหมาย และข้อบังคับต่างๆ ที่เราได้กล่าวเอาไว้เบื้องต้น และให้ความสำคัญกับการตรวจสอบก่อนซื้อ
บ้านแฝดกับโครงการต่างๆ อย่าง โครงการของ
ลลิล พร็อพเพอร์ตี้, โครงการ แสนสิริ หรือโครงการอื่นๆ จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น และสามารถมั่นใจได้ว่าจะไม่มีปัญหาด้านกฎหมายตามมาในภายหลังได้ค่ะ