ข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนที่ปกคลุมปลายกระดูกในข้อเข่า ซึ่งทำให้กระดูกเสียดสีกันจนเกิดการสึกกร่อน นอกจากนี้ยังการสึกกร่อนยังเกิดขึ้นตามธรรมชาติได้อีกด้วย ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ อาการหลักได้แก่ เจ็บปวด ข้อเข่าแข็ง และเคลื่อนไหวลำบาก ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นหนักควรที่จะต้องดูแลตนเองให้ดี โดยอาจจะเริ่มจากการหาพวก
แคลเซียมบำรุงข้อเข่ามาทาน หรือไม่ก็อาหารเสริมอื่นๆ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันที่อาจนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะเป็นข้อเข่าเสื่อม
อาหารที่มีแคลเซียมสูงเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมที่ควรทาน
• อาหารมีกรดไขมันโอเมก้า-3 เช่น ปลาทะเล ปลาแซลมอน หรือแม้แต่ปลาน้ำจืดประเภทปลาเนื้อขาว จะช่วยบำรุงข้อต่อกระดูกให้แข็งแรง และลดอาการปวดหรืออักเสบในผู้ป่วยที่มีข้อเข่าอักเสบ และลดอาการติดแข็งบริเวณข้อต่างๆ
• อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระหรือเบต้าแคโรทีนสูง โดยเฉพาะผักต่างๆ อย่างใบยอ ยอดแค ผักโขม ผักคะน้า บรอกโคลี ผักกระเฉด ถั่วงอก อีกทั้งยังควรกินผักให้หลากสี เช่น มะเขือเทศสีแดง แครอทสีส้ม กะหล่ำปลีสีม่วง ข้าวโพดและฟักทองสีเหลือง เพราะจะได้วิตามินที่หลากหลาย โดยเฉพาะผักใบเขียวต่างๆ จะมีวิตามินเคที่มีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกค่อนข้างสูง
• อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น อัลมอนด์อบ งาดำ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น น้ำเต้าหู้ เต้าหู้หลอด แม้แต่การกินปลาตัวเล็กตัวน้อยก็จะช่วยเพิ่มแคลเซียมให้กระดูกแข็งแรง ทั้งนี้ควรจะกินอาหารที่มีวิตามินดีสูง จำพวก นม ไข่ ปลาซาดีน ควบคู่กันไปได้ด้วย เพราะวิตามินดีจะช่วยเรื่องการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น
• อาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี โดยเฉพาะผลไม้ต่างๆ เช่น ฝรั่ง ส้ม สับปะรด มะละกอสุก เพราะวิตามินซีจะช่วยต้านการเกิดอนุมูลอิสระอีกทางหนึ่ง
• อาหารที่มีสารกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ เช่น เชอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แอปเปิ้ล ชาเขียว หัวหอม และมะเขือเทศ จะมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมวิตามินซี สร้างความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่อ ทำให้ผนังหลอดเลือดและเส้นเลือดฝอยแข็งแรง ลดโอกาสเกิดการฟกช้ำ บวม
• รับประทานอาหารประเภทอบ ต้ม ตุ๋น นึ่ง ย่าง แทนประเภทผัด ทอด หรือแกงกะทิ เพื่อควบคุมน้ำหนักตัว
การป้องกันไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย
1. รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม การมีน้ำหนักเกินเพิ่มภาระให้กับข้อเข่า ซึ่งสามารถทำให้เกิดการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนได้เร็วขึ้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจะช่วยลดความเสี่ยงนี้
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าและเพิ่มความยืดหยุ่นจะช่วยรักษาข้อเข่าให้แข็งแรง กิจกรรมที่มีผลกระทบต่ำ เช่น การเดิน ว่ายน้ำ หรือการปั่นจักรยาน เป็นต้น
3. การปรับเปลี่ยนอาหาร โดยการเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ส่งเสริมสุขภาพกระดูกและข้อ รวมถึงแคลเซียม วิตามิน D และโปรตีน อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ผักและผลไม้สด ก็ช่วยลดการอักเสบของข้อได้
4. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ข้อเข่าเสียหาย กิจกรรมที่ทำให้ข้อเข่ารับแรงกระแทกหนักหรือแรงเสียดสีมาก ควรหลีกเลี่ยงหรือปรับเปลี่ยนเพื่อลดการสึกกร่อน
5. ใช้เทคนิคการยกและการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง การยกของหนักอย่างไม่ถูกวิธีหรือการทำกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อเข่าอย่างรุนแรงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของข้อเข่า
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันให้มีความเสี่ยงน้อยสุดต่อการเป็นข้อเข่าอักเสบ และข้อเข่าเสื่อม บวกกับเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อข้อเข่า ทั้งอาหารที่ทานเป็นประจำ และอาหารเสริม ที่มีให้เลือกหลายแบรนด์มาก ทั้งของ
แคลที , Mega We Care และอีกหลายยี่ห้อ เพื่อให้ข้อเข่ามีสุขภาพดี แต่ทั้งนี้ควรรับประทาน
แคลเซียมบำรุงข้อเข่าในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์หรือนักโภชนาการ หากไม่สามารถได้รับแคลเซียมจากอาหารได้เพียงพอ อาจพิจารณาเสริมแคลเซียมตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อช่วยในการบำรุงข้อเข่าและกระดูกให้แข็งแรงขึ้นได้ค่ะ