การลงทุนในกองทุนรวมเป็นทางเลือกสำหรับผู้ลงทุนที่ไม่มีเวลาในการติดตามข้อมูลข่าวสารและต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล กองทุนรวมมีผลิตภัณฑ์หลากหลายสามารถกระจายการลงทุนได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนที่สูง นอกจากนั้นกองทุนรวมยังสามารถลดหย่อนภาษีได้ เช่น
ssf กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Saving Fund) ที่เหมาะกับผู้ที่สนใจลงทุนระยะยาวตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
สำหรับกองทุนรวมเพื่อการออม ssf ลดหย่อนภาษี ได้ และยังมีข้อดีอีกหลายอย่าง คือ
เป็นการลงทุนที่ไม่กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ
ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี จึงมีความยืดหยุ่นในการลงทุนมากกว่า สามารถเลือกซื้อเฉพาะปีที่ต้องการลดหย่อนภาษีได้
ลงทุนได้ทุกประเภทสินทรัพย์ และมีให้เลือกระดับความเสี่ยงหลายระดับ
มีให้เลือกทั้งแบบจ่ายเงินปันผลเพื่อรับผลตอบแทนก่อนครบกำหนดขายคืนหน่วยลงทุน หรือเลือกแบบไม่มีการจ่ายเงินปันผลเพื่อให้ผลตอบแทนทบกับเงินต้นไปเรื่อย ๆ จนครบกำหนดขายคืน
ไม่กำหนดอายุของผู้ลงทุนเมื่อต้องการขายคืนหน่วยลงทุน
ssf มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีดังนี้
ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท แต่เมื่อรวมกับเงินเพื่อการเกษียณอื่น ๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินประกันชีวิตบำนาญ และอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ยกตัวอย่างเช่น ถ้าปีนี้มีรายได้ 1,000,000 บาท สามารถซื้อกองทุน ssf ได้สูงสุด 200,000 บาท แต่หากซื้อกองทุน ssf ไปแล้ว 200,000 บาท มีเงินประกันชีวิตบำนาญ 200,000 บาท และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีก 200,000 บาท จะสามารถลดหย่อนภาษีจาก ssf ได้เพียง 100,000 บาท เนื่องจากเงินเพื่อการเกษียณทั้งหมดเมื่อรวมกับ ssf แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท เป็นต้น
ลดหย่อนภาษีได้จนถึงปี พ.ศ. 2567
ต้องถือครองหน่วยลงทุนนั้นไว้อย่างน้อย 10 ปี โดยการนับปีชนปี
นอกจากกองทุนรวม ssf แล้วยังมีกองทุนรวม rmf กองทุนรว
ผลตอบแทนจากกองทุนรวม มเพื่อการเลี้ยงชีพที่ได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีเช่นกัน แต่ทั้งสองกองทุนมีความแตกต่างกันดังนี้
ระยะเวลาการถือครองหน่วยลงทุน rmf กำหนดให้ถือครองอย่างน้อย 5 ปี ในขณะที่ ssf ต้องถือครองอย่างน้อย 10 ปี
rmf กำหนดให้ผู้ลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้เมื่อมีอายุ 55 ปีขึ้นไปเท่านั้น แต่ ssf ไม่ได้กำหนดอายุของผู้ลงทุน
rmf ไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดสิทธิการลดหย่อนภาษี แต่ ssf ในปัจจุบันสามารถลดหย่อนภาษีได้จนถึงปี พ.ศ. 2567 หลังจากนั้นต้องรอมาตรการจากภาครัฐ
rmf มีเฉพาะแบบไม่มีการจ่ายเงินปันผล แต่ ssf มีทั้งแบบไม่มีการจ่ายเงินปันผลและจ่ายเงินปันผล
rmf เหมาะกับผู้ที่ต้องการออมเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณ เนื่องจากเงื่อนไขของ rmf คือผู้ลงทุนสามารถขายคืนกองทุนเมื่ออายุ 55 ปีขึ้นไป ในขณะที่
กองทุน ssf ลดหย่อนภาษี และต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาวที่สามารถเลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงได้ เนื่องจากการลงทุนระยะยาวสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนได้
ผู้ลงทุนที่มีอายุไม่มาก คือไม่เกิน 45 ปี การเลือกลงทุนในกองทุนรวม ssf คือ ทางเลือกที่เหมาะสมกว่า rmf เพราะไม่ต้องรอจนอายุครบ 55 ปี ก่อนจึงสามารถขายคืนกองทุนได้ รวมถึงได้มีโอกาสเลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อโอกาสที่ได้รับผลตอบแทนที่สูงด้วย