รับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

SMF - Just Installed!

ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อควรปฎิบัติหากคุณไม่อยากเป็นโรคหัวใจ  (อ่าน 1220 ครั้ง)

nanasee

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 90
    • ดูรายละเอียด


โรคหัวใจ คือโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ แบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจ, โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคลิ้นหัวใจ, โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น ปัจจุบันโรคหัวใจและหลอดเลือดมีอัตราการเสียชีวิตสูง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ปัจจัยเสี่ยงที่เราสามารถควบคุมได้ด้วยตนเอง
• ไม่ควรสูบบุหรี่
• อย่าให้ความดันโลหิตสูง
• อย่าให้มีไขมันในเลือดสูงเกินไป
• หากเป็นโรคเบาหวานควรควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
• อย่าปล่อยให้มีภาวะโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกินปกติ
• ไม่ควรเครียด
• ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
• สตรีที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนแล้ว
• สตรีที่ทานยาคุมกำเนิด
• ไม่ควรรับประทานอาหารเค็มจัด
ปัจจัยเสี่ยงที่เราไม่สามารถควบคุมได้
• กรรมพันธุ์  ผู้ที่มีประวัติครอบครัว ซึ่งพ่อแม่ หรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ ก็มักจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจตามไปด้วย
• อายุ  โดยปกติแล้ว ความเสี่ยงของโรคหัวใจจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น
• เพศ ผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิง

สัญญาณเตือนอาการเป็นโรคหัวใจ
มีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกกําลังกาย หรือเวลาเดินเร็วๆ จะหายใจเข้าได้ลำบาก อาจจะเป็นตลอดเวลา หรืออาจจะเป็นขณะออกกำลังกาย หากใช้แรงมาก หรือเป็นเฉพาะในเวลากลางคืน ซึ่งอาการโรคหัวใจจะเจ็บหน้าอก หรือแน่นบริเวณกลางหน้าอก หรือด้านซ้าย หรือทั้ง 2 ด้าน ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก นอกจากนั้น อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึก หรืออาจถึงขั้นเป็นลมหมดสติไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ขา และเท้าจะบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำ

การป้องกันและการรักษาโรคหัวใจ
ทั้งนี้เราสามารถป้องกันโรคหัวใจได้ด้วยตนเอง จากการเปลี่ยนแปลงการใชีวิตประจำวัน อย่างเช่น  การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และควรที่จะต้องหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควรที่จะต้องตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำ ส่วนในด้านการรักษาโรคหัวใจนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของโรคและระดับความรุนแรง รวมถึงการรับประทานยา การผ่าตัด หรือการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อกระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ

สรุป
การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดย่อมดีกว่าการรักษา ดังนั้นควรเฝ้าสังเกตอาการตนเองให้ดี ๆ ว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจไหม หากรับรู้ได้เร็ว ก็จะทำให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพไปมากกว่านี้ ก็ควรที่จะต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตของคุณเองด้วย อย่างเช่น การเลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หรือดีต่อหัวใจ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมกับรูปร่างของคุณ เป็นต้น เพื่อสุขภาพที่ดีปลอดภัย และลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้ค่ะ

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคหัวใจได้ที่ :
https://www.nonthavej.co.th/heart-attack-early-diagnosis.php
บันทึกการเข้า