รับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

SMF - Just Installed!

ผู้เขียน หัวข้อ: ธงชาติและเพลงชาติไทย มีที่มาเยี่ยงไร  (อ่าน 416 ครั้ง)

Jirasak2708

  • บุคคลทั่วไป

ที่มาของทำนองเพลงชาติในปัจจุบัน ตามคำกล่าวของพระเจนดุริยางค์

พระเจนดุริยางค์ได้กล่าวไว้ว่า ราวปลายปี 2474 หลวงนิเทศกลกิจ ซึ่งเป็นเพื่อนทหารเรือชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งของท่าน ได้ขอให้ท่านแต่งเพลงสำหรับชาติขึ้นหนึ่งเพลง ในลักษณะเพลงลามาร์แซแยส ซึ่ง พระเจนดุริยางค์ ได้ปฏิเสธไป เพราะเห็นว่าเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงชาติอยู่แล้ว และการแต่งเพลงนี้ก็ไม่ใช่คำสั่งของทางราชการด้วย ถึงแม้ว่าในภายหลัง หลวงนิเทศกลกิจ จะมาติดต่อให้เเต่งเพลงนี้อยู่อีกหลายครั้ง แต่พระเจนดุริยางค์ ก็บ่ายเบี่ยงมาตลอด เพราะสงสัยว่าการให้แต่งเพลงนี้เกี่ยวข้องกับการเมือง ประกอบกับในเวลานั้นมีข่าวลืออย่างหนาหูเกี่ยวกับเรื่องการปฏิวัติ

ผู้ประพันธ์เพลงชาติไทยคนแรกสุด คือ ขุนวิจิตรมาตรา
 
เนื้อร้องของเพลงชาติไทยนั้น คณะผู้ก่อการได้ทาบทามให้ขุนวิจิตรมาตรา หรือ สง่า กาญจนาคพันธ์ เป็นผู้ประพันธ์โดยคำร้องที่แต่งขึ้นนั้นมีความยาว 2 บท สันนิษฐานว่าเสร็จอย่างช้าก่อนวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2475 เนื่องจากมีการค้นพบโน๊ตเพลงพร้อมด้วยเนื้อร้องซึ่งตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์ศรีกรุง ซึ่งลงวันที่ตีพิมพ์ในวันดังกล่าว แม้เพลงนี้จะได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปก็ตาม แต่เพลงนี้ก็ยังไม่ได้มีการประกาศเป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการ และมีการจดจำต่อๆกันไปเรื่อยๆ โดยไม่มีใครรู้ที่มาที่ชัดเจน และมีปรากฏว่า มีการคัดลอกเนื้อเพลงชาติของขุนวิจิตรมาตราส่งเข้าประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ ในปี พ.ศ. 2476 โดยอ้างว่าตนเองเป็นผู้แต่ง เนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราประพันธ์เริ่มแรกสุดแต่ไม่เป็นทางการและเป็นฉบับต้องห้าม การจะมีการแก้ไขเมื่อมีการประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ ในพ.ศ. 2476 มีดังนี้ (โปรดเทียบกับเนื้อร้องฉบับราชการ พ.ศ. 2477 ในหัวข้อ เพลงชาติไทยฉบับ พ.ศ.2475 และ พ.ศ. 2477)
 
ความคิดเรื่องเพลงประจำชาติเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2414 โดยได้รับอิทธิพลจากประเทศตะวันตก ซึ่งมีเพลงประจำชาติมาก่อน โดยเฉพาะอิทธิพลจากประเทศอังกฤษ ด้วยในปลายรัชกาลที่ 4 ปี พ.ศ. 2395 นายทหารของประเทศอังกฤษ 2 นาย คือ ร้อยเอกอิมเปย์ (Impey) และร้อยเอกน๊อกซ์ (Thomas G. Knox) ได้เข้ามาเป็นครูฝึกทหารเกณฑ์ในวังหลวงและวังหน้า และได้นำเพลงกอดเซฟเดอะควีน (God Save the Queen) ซึ่งเป็นเพลงประจำชาติของอังกฤษมาใช้เป็นเพลงฝึกทหารแตร และเนื่องจากในการฝึกทหารของไทยสมัยนั้นจะยึดรูปแบบการฝึกของอังกฤษเป็นต้นแบบ ดังนั้นเพลง God Save the Queen จึงใช้เป็นเพลงเกียรติยศถวายความเคารพต่อพระมหากษัตริย์สำหรับกองทหารไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2395-2414 เรียกกันว่า "เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ" ต่อมาพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่โดยใช้เนื้อเพลง God Save the Queen เดิม และตั้งชื่อเพลงขึ้นใหม่ว่า จอมราชจงเจริญ นับเป็นเพลงชาติฉบับแรก ของประเทศสยาม
 
ในปี พ.ศ. 2414 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์ ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ และกองดุริยางค์ทหารสิงคโปร์ได้บรรเลงเพลง God Save the Queen เพื่อถวายความเคารพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตระหนักดีว่าประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องมีเพลงชาติเป็นของตัวเอง เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติ
 
เพลงชาติไทยฉบับที่สอง ครั้นเมื่อทรงเสด็จกลับถึงพระนครจึงได้โปรดเกล้าฯให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยขึ้น เพื่อทรงปรึกษาหาเพลงชาติที่มีความเป็นไทยมาใช้แทน คณะครูดนตรีไทยได้เลือก เพลงทรงพระสุบัน หรือเรียกอีกอย่างว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ ให้มีความเป็นสากลขึ้นโดยเฮอุดเซน (Heutsen) นับเป็นเพลงชาติไทยฉบับที่สอง ใช้บรรเลงในระหว่างปี พ.ศ. 2414-2431 สำหรับ
 
เพลงชาติไทยฉบับที่สาม คือ เพลงสรรเสริญพระบารมี (ฉบับปัจจุบัน) ประพันธ์โดย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย คำร้องเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติ ในระหว่างปี พ.ศ. 2431-2475
 
เพลงชาติไทยฉบับที่สี่ คือ เพลงชาติมหาชัย ใช้เป็นเพลงชาติในระหว่างการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 โดยอาศัยทำนองเพลงมหาชัย ส่วนคำร้อง ประพันธ์โดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เพื่อใช้ขับร้องและบรรเลงปลุกเร้าใจประชาชน ก่อให้เกิดความรักชาติและสร้างความสามัคคีในระหว่างที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
 
เพลงชาติไทยฉบับที่ห้า คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ เป็นผู้ประพันธ์ทำนอง และ คำร้องประพันธ์โดยขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ใช้เป็นเพลงชาติไทยระหว่างปี พ.ศ. 2475-2477 เพลงชาติฉบับที่หก คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์มีการเพิ่มคำร้องโดยนายฉัน ขำวิไล ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. 2477-2482 เป็นเพลงชาติที่เป็นฉบับของ "ราชการ"ฉบับแรก
 
เพลงชาติไทยฉบับที่หก ในปี พ.ศ. 2482 ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศจาก สยาม เป็น ไทย เป็นเหตุให้มีการแก้ไขบทร้องเพลงชาติกันอีกครั้งหนึ่ง โดยมิใช่แก้ชื่อประเทศเท่านั้น แต่ต้องการให้เป็นบทร้องที่ร้องจบได้ในเที่ยวเดียว ซึ่งแต่เดิมเพลงชาติจะร้องกันหลายเที่ยวทำให้รู้สึกยืดยาว ครั้งนั้นทางรัฐบาลจึงได้ประกาศประกวดเพลงชาติขึ้นใหม่ ผลประกวดปรากฏว่าเนื้อร้องของนายพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ซึ่งส่งในนามของกองทัพบกเป็นผู้ชนะเลิศ รัฐบาลจึงได้ประกาศผลการประกวดในรัฐนิยมฉบับที่ 6 ออกเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ มีใจความสำคัญสรุปว่า ทำนองเพลงชาติให้ใช้ทำนองเพลงของพระเจนดุริยางค์และใช้ คำร้องของนายพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งเพลงชาติไทยฉบับนี้เป็นเพลงชาติที่ใช้สืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
 
ข้อมูลจาก: bu.ac.th
 
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : เนื้อร้องเพลงชาติไทย

Tags : ธงชาติไทย,เนื้อเพลงชาติไทย
บันทึกการเข้า