กระดูกพรุน คือภาวะที่กระดูกมีความหนาแน่นลดลง จึงทำให้กระดูกไม่แข็งแรง แตกหักได้ง่ายแม้จะเกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย ยิ่งถ้าร่างกายของเรามีกลไกการสร้าง และทำลายกระดูกไม่สมดุลกัน อย่างเช่น สร้างกระดูกน้อยเกินไป ขาดแคลเซียม หรือกระดูกเกิดการสลายมากเกิน ก็จะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ ดังนั้นเราควรที่จะป้องกันหรือรีบรักษาภาวะกระดูกพรุนตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ด้วยการไปตรวจมวลกระดูก ที่
รพ.นนทเวช หรือโรงบาลอื่น ๆ ทีมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับการ
ตรวจมวลกระดูก เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพกระดูกในอนาคต
วิธี
ตรวจมวลกระดูกที่นิยมจะมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธีดังนี้
1. การตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก จะใช้เครื่องตรวจที่เรียกว่า Bone densitometer ซึ่งเป็นเครื่องมือการตรวจโดยใช้รังสีเอกซ์พลังงานต่ำ เครื่อง Bone densitometer มีหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้คือแบบที่เรียกว่า Dual Energy X-ray Absorptiometryscanner หรือ DEXA scanner ตำแหน่งที่ตรวจ คือ บริเวณกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และบริเวณข้อมือเนื่องจากบริเวณเหล่านี้เป็นบริเวณที่พบว่ามีการแตกหักของกระดูกจากภาวะกระดูกพรุนได้บ่อย
เครื่องตรวจความหนาแน่นมวลกระดูกแบบ DXA Scan มี 2 แบบคือ
2. เครื่องตรวจบริเวณกระดูกแกนกลางร่างกาย ใช้สำหรับตรวจบริเวณกระดูกสันหลัง และสะโพก
ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัย
3. เครื่องตรวจบริเวณกระดูกแขน-ขา ใช้สำหรับตรวจบริเวณ ข้อมือ ข้อเท้า ใช้ในการตรวจคัด
กรอง
การตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูกบอกถึงอะไรได้บ้าง?
• วินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
• การบอกค่าความหนาแน่นมวลกระดูก ซึ่งค่าที่วัดได้จะต้องนำไปเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยปกติในกลุ่มคน อายุ 30 – 40 ปี ที่มีเชื้อชาติเดียวกันหรือเชื้อชาติที่ใกล้เคียงกัน เป็นจำนวนของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เรียกว่า T- score (T) ซึ่งจะใช้เป็นค่าในการวินิจฉัยโรค
• ถ้าค่า T score มากกว่า -1 = ความหนาแน่นกระดูกปกติ
• ถ้าค่า T score ที่อยู่ต่ำกว่า -1 แต่สูงกว่า -2.5 = กระดูกบาง
• ถ้าค่า T score ต่ำกว่า -2.5 = โรคกระดูกพรุน
การ
ตรวจมวลกระดูกเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการป้องกัน และจัดการกับภาวะกระดูกพรุน ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในผู้สูงอายุ การตรวจช่วยให้สามารถตรวจจับและเริ่มการรักษาได้ทันเวลา ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงของการหักของกระดูกเราในอนาคตได้ค่ะ