รับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

SMF - Just Installed!

ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อดี-ข้อเสีย ของจานดาวเทียม C-Band และ KU-Band  (อ่าน 1407 ครั้ง)

P.CCTV_Chaiyaporn

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 43
    • ดูรายละเอียด

ความแตกต่างระหว่าง C-Band กับ KU-Band
จานดาวเทียมเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทำให้เราสามารถดูและรับชมรายการต่างๆ ในโทรทัศน์ได้ ดังนั้นจึงไม่ว่าจะเป็นบ้าน โรงแรม คอนโด หรืออพาร์ทเม้นท์ ไหนๆ ก็ต่างมีจานดาวเทียมติดอยู่ด้วย แต่ว่าหากเราลองสังเกตุดีๆ จานดาวเทียมแต่ละแห่งมีรูปร่างน่าตาไม่เหมือนกัน บางแห่งเป็นจานตะแกรง บางแห่งเป็นจานสีทึบ แล้วจานเหล่านี้ต่างกันอย่างไร ทำไมราคาของมันจึงไม่เท่ากัน ในเมื่อไม่ว่าจานแบบไหนเราก็สามารถดูทีวีได้ ดังนั้นบทความนี้เราจะมาอธิบายความแตกต่างในข้อนี้กันว่า จานดาวเทียมแต่ละแบบมีความพิเศษต่างอย่างไร

ทำความรู้จักกับ C-Band และ KU-Band

จานดาวเทียมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน หลักๆ เลยจะมีอยู่ด้วยกันอยู่ 2 แบบคือ

1. C-Band จานดาวเทียมลักษณะโปร่งคล้ายตะแกรงอลูมิเนียมชุบดำหรือที่เรียกว่าจานดำ C-Bandจะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกอยู่ในช่วงความถี่ 3.4 - 4.2 GHz ซึ่งจะมีฟุตปริ้นท์ ที่มีขนาดกว้าง ครอบคลุมพื้นที่ การให้บริการได้หลายประเทศ เช่น ของดาวเทียมไทยคม 2/5 พื้นที่ให้บริการ คือทวีปเอเซีย และยุโรปบางส่วน ข้อดี การเพิ่มจุดรับชมสามารถทำได้ง่ายเนื่องจากรีซีฟเวอร์ระบบราคาไม่แพง ติดตั้งครั้งเดียวจบไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน เพราะเป็นช่องฟรีทีวี ข้อเสีย ขนาดใหญ่ใช้พื้นที่ในการติดตั้ง

2. KU-Band จานสี KU-Band ก็คือ จานดาวเทียมอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะทึบ โดยจะมีขนาดตั้งแต่ 35 cm., 60 cm. และ 75 cm.จะส่งคลื่นความถี่ 10 - 12 GHz สูงกว่าความถี่ C-Band สัญญาณที่ส่งจะครอบคลุมพื้นที่ได้น้อย จึงเหมาะสำหรับการส่งสัญญาณเฉพาะภายในประเทศ ข้อดี มีขนาดเล็กติดตั้งง่ายใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย รายการช่องจะมีมาก และจะมีการผลิตช่องรายการเพิ่มอยู่ตลอดเวลา การเคลื่อนย้ายจานดาวเทียมทำได้ง่าย ข้อเสีย ไม่สามารถรับชมรายการได้ในขณะที่ฝนตกหนักหรือขณะที่ท้องฟ้าครื้มมากๆ

ข้อเปรียบเทียบระหว่าง C-Band กับ KU-Band

1. ความเข้มของสัญญาณในการส่ง C-Band จะเบากว่า Ku-Band เป็นเหตุผลในทางเทคนิค

2. พื้นที่ครอบคลุมของสัญญาณ ระบบ C-Band จะใช้งานเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณได้กว้างขวางทั่วทั้งทวีป แต่ระบบ Ku-Band จะใช้เพื่อคลอบคลุมพื้นที่เฉพาะในประเทศ

3. ลักษณะของใบจานรับสัญญาณ C-Band จะเป็นตะแกรงโปร่ง หรือทึบ ทรงกลม ขึ้นรูปพาราโบลิค และมีขนาดใหญ่ ส่วน Ku-Band จะเป็นจานทึบ Offset รูปไข่ ส่วนใหญ่ขนาดจะเล็กกว่า C-Band

4. แม้ขนาดจาน KU-Band จะเล็กกว่าจาน C-Band แต่ว่าการรับสัญญาณของ KU-Band จะดีกว่ามาก

5. จาน C-Band สามารถรองรับระบบ KU-Band ได้ แต่จาน KU-Band ไม่สามารถรับสัญญาณระบบ C-Band ได้

6. หัวรับสัญญาณ หรือที่เรียกว่า LNBF (Low Noise Block Down Frequency) เป็นตัวแปลงสัญญาณความถี่สูงให้ตำลงมาจนเหมาะสมกับภาครับของเครื่องรับสัญญาณ (Receiver) ซึ่งระบบ C-band จะรองรับความถี่ 3.4-4.2 GHz ในขณะที่ Ku-Band รองรับความถี่ 10-12 GHz จึงใช้แทนกันไม่ได้ เว้นแต่บางรุ่นเป็น 2in1

7. เครื่องรับสัญญาณ (Receiver) โดยทั่วไปไม่แตกต่างกันนอกจากผู้ผลิตจะเจตนาให้ตัวเครื่องรับได้เฉพาะระบบ


สรุปความแตกต่างระหว่าง C-Band และ KU-Band

C-band มีขนาดใหญ่ เทอะทะ การติดตั้งต้องยึดกับฐานที่มั่นคงแข็งแรง เพราะถ้ามีลมพายุพัดเข้าใส่แรงๆ อาจล้ม หรือโค่นลงมาได้ แต่ข้อดีอยู่ตรงที่ ปรับคลื่นความถี่รับชมรายการผ่านดาวเทียมได้หลายร้อยช่องทั่วโลกฟรีและมีความยาวคลื่นยาวกว่า ?เม็ดฝน? ดังนั้นเวลา ?ฝนตก? จะยังคงรับชมได้ตามปกติ จึงมีโอกาสน้อยมากที่สัญญาณจะขาดหายไป

Ku-band ติดตั้งง่าย มีความสวยงามกว่า แต่รับชมรายการผ่านดาวเทียมได้เฉพาะแบบจำเพาะเจาะจงตามผู้ให้บริการตั้งไว้ให้ ซึ่งส่วนใหญ่จะผ่านการคัดเลือกทางการตลาดมาแล้ว ถ้าต้องการชมรายการบางประเภทเพิ่มเติมต้องจ่ายเงิน สั่งซื้อ นอกจากนี้ ความถี่ย่าน Ku-band มีความยาวคลื่นเท่ากับเม็ดฝน อีกทั้งเป็นคลื่นความถี่สูง ส่งผลให้คลื่นทะลุผ่านเม็ดฝนยามฝนตกไม่ได้ ปัญหาที่คนใช้จานชนิดนี้ร้อยทั้งร้อยต้องเจอะเจอเหมือนๆ กัน คือเมื่อฝนตกหนัก หรือบางจังหวะยังไม่ทันหนักเท่าไหร่ สัญญาณภาพก็จะขาดๆ หายๆ ไปจากหน้าจอโทรทัศน์

By. P.CCTV Network Engineering
บันทึกการเข้า