รับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

SMF - Just Installed!

ผู้เขียน หัวข้อ: สัญญาเช่าซื้อห้องชุด มีได้หรือไม่  (อ่าน 587 ครั้ง)

saibennn9

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 274
    • ดูรายละเอียด
    • ทนายความเชียงใหม่
สัญญาเช่าซื้อห้องชุด มีได้หรือไม่
« เมื่อ: กันยายน 12, 2018, 01:17:25 AM »

              สัญญาเช่าซื้อห้องชุด มีได้หรือไม่               
              เราคงเคยคุ้นเคยกับการเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น แต่ในวันนี้ทนายความเชียงใหม่ จะได้นำเสนอความรู้กฎหมายเกี่ยวกับ การเช่าทรัพย์อสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุด มาฝากกันครับ                

               การเช่าซื้อทรัพย์กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าจะต้องเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์แต่อย่างไร ดังนั้น การเช่าซื้อทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ก็ย่อมมีได้ แต่ข้อแตกต่างกันอยู่ตรงที่ว่า การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์เมื่อผ่อนชำระกันครบถ้วนแล้ว จะต้องไปดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันที่สำนักงานที่ดิน หากเป็นสังหาริมทรัพย์ เช่น รถยนต์ พัดลม ตู้เย็น เป็นต้น ไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนต่อหน่วยงานของรัฐแต่อย่างใด หลายคนอาจจะอ่านบทความนี้แล้วเกิดข้อสงสัยว่า รถยนต์เมื่อเช่าซื้อชำระค่างวดครบแล้ว ทำให้ต้องไปจดทะเบียนต่อสำนักงานขนส่ง ทนายความเชียงใหม่ขอให้ความรู้จุดนี้ว่า การจดทะเบียนต่อสำนักงานขนส่งฯ ไม่ได้มีผลต่อการโอนกรรมสิทธิ์ทางกฎหมายแต่อย่างใด แต่เป็นการจดทะเบียนเพื่อกำกับภาษีของรถยนต์เท่านั้น               กลับมาที่เรื่อง การเช่าซื้อห้องชุด สรุปแล้ว สามารถมีการเช่าซื้อห้องชุดได้ แต่การชำระงวดครบถ้วนแล้วไม่ให้ได้กรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์ หากจะให้สมบูรณ์จะต้องดำเนินจดทะเบียนต่อสำนักงานที่ดินฯ เท่านั้น              ดังคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15303/2558 จำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์หรือไม่ จำเลยฎีกาว่า สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่าจำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยได้จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดแล้ว แต่จำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด จึงไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์ได้ จำเลยมิได้ผิดสัญญาต่อโจทก์นั้น เห็นว่า การที่โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลยครบถ้วน แม้กรรมสิทธิ์ในห้องชุดตกเป็นของโจทก์โดยผลของกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคหนึ่ง แล้วก็ตาม แต่ห้องชุดเป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งการได้มาโดยนิติกรรมย่อมไม่บริบูรณ์ เว้นแต่จะได้ทำเป็นหนังสือและได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง โจทก์ยังต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดในทางทะเบียนด้วย เพราะไม่เช่นนั้นย่อมไม่อาจที่จะใช้สอยห้องชุดในฐานะเจ้าของทรัพย์สินอย่างสมบูรณ์ได้ จำเลยจึงยังมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดในทางทะเบียนให้แก่โจทก์ ส่วนที่ตามรายละเอียดแนบท้ายสัญญาเช่าซื้อห้องชุด ข้อ 16 กำหนดว่า "เมื่อผู้ให้เช่าซื้อได้จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อจะแจ้งให้ผู้เช่าซื้อทราบเพื่อให้ผู้เช่าซื้อมารับโอนกรรมสิทธิ์และผู้เช่าซื้อจะต้องมาขอรับโอนกรรมสิทธิ์ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ผู้ให้เช่าซื้อแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เช่าซื้อทราบ..." ก็ไม่ได้ระบุว่า จำเลยจะดำเนินการเมื่อใด จึงเป็นเรื่องที่สุดแล้วแต่ใจของจำเลยโดยแท้ เมื่อปรากฏว่านับแต่ที่โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อห้องชุดในโครงการของจำเลย จนผ่อนชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลยครบถ้วนและฟ้องคดี เป็นเวลา 12 ปีเศษ จำเลยยังมิได้ดำเนินการอย่างใด ๆ เพื่อการจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดเลย ถือว่าเป็นเวลาที่เนิ่นนานจนเกินสมควรไปมาก ที่นายหาญ หัวหน้าสำนักงานเคหะชุมชนสมุทรสาคร พยานจำเลยเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า เหตุที่จำเลยไม่จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลอาคารชุดขึ้นและโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์ เพราะเหตุว่าประสบปัญหาขาดทุนและเกี่ยวกับเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ก็มิใช่เป็นเหตุที่จำเลยจะอ้างเพื่อที่จะปฏิเสธไม่จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดและไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์ได้ ฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์ ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น 
บันทึกการเข้า