รับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

SMF - Just Installed!

แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Messages - P.CCTV_Chaiyaporn

หน้า: [1] 2 3
1

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) เป็นนวัตกรรมที่สร้างการเปลี่ยนแปลงและนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีแห่งอนาคต แต่ขั้นตอนกระบวนการคิดวิเคราะห์ของ AI นั้น ประกอบตัวด้วยองค์ประกอบย่อยอย่าง Machine Learning กับ Deep Learning ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 2 อย่าง ทำหน้าที่เปรียบเสมือนสมองของ AI เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้คิดวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล

Machine Learning คืออะไร

Machine Learning คือ ส่วนการเรียนรู้ของเครื่อง ถูกใช้งานเสมือนเป็นสมองของ AI (Artificial Intelligence) เราอาจพูดได้ว่า AI ใช้ Machine Learning ในการสร้างความฉลาด มักจะใช้เรียกโมเดลที่เกิดจากการเรียนรู้ของปัญญาประดิษฐ์ ไม่ได้เกิดจากการเขียนโดยใช้มนุษย์ มนุษย์มีหน้าที่เขียนโปรแกรมให้ AI (เครื่อง) เรียนรู้จากข้อมูลเท่านั้น ที่เหลือเครื่องจัดการเอง

Machine Learning เรียนรู้จากสิ่งที่เราส่งเข้าไปกระตุ้น แล้วจดจำเอาไว้เป็นมันสมอง ส่งผลลัพธ์ออกมาเป็นตัวเลข หรือ code ที่ส่งต่อไปแสดงผล หรือให้เจ้าตัว AI นำไปแสดงการกระทำ Machine Learning เองสามารถเอาไปใช้งานได้หลายรูปแบบ ต้องอาศัยกลไกที่เป็นโปรแกรม หรือเรียกว่า Algorithm ที่มีหลากหลายแบบ โดยมี Data Scientist เป็นผู้ออกแบบ หนึ่งใน Algorithm ที่ได้รับความนิยมสูง คือ Deep Learning ซึ่งถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย และประยุกต์ใช้ได้หลายลักษณะงาน อย่างไรก็ตาม ในการทำงานจริง Data Scientist จำเป็นต้องออกแบบตัวแปรต่างๆ ทั้งในตัวของ Deep Learning เอง และต้องหา Algorithm อื่นๆ มาเป็นคู่เปรียบเทียบ เพื่อมองหา Algorithm ที่เหมาะสมที่สุดในการใช้งานจริง

Machine Learning เรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างไร

Machine Learning มีหลักการเรียนรู้ข้อมูลอยู่ 3 หลัก ด้วยกันดังต่อไปนี้


การเรียนรู้แบบได้รับคำแนะนำ (Supervised learning)
ยกตัวอย่างเวลาเราป้อนข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์ (Input) เช่น รูปเสือ แต่คอมพิวเตอร์มันยังไม่รู้หรอกว่าเนี่ยคือรูปเสือ เราก็ต้องบอกมันก่อน แล้วคอมพิวเตอร์มันก็จะไปวิเคราะห์ (Feature Extraction) ว่า เสือเป็นสัตว์ 4 ขา มี 2 หู 1 หาง เป็นต้น จากนั้นคอมพิวเตอร์ก็นำข้อมูลดังกล่าวไปประมวล/จัดหมวดหมู่ (Classification) เพื่อให้หลังจากนี้มันสามารถแยกออกได้ว่าอะไรคือเสือ อะไรไม่ใช่เสือ

การเรียนรู้แบบไม่ได้รับคำแนะนำ (Unsupervised learning)
รูปแบบนี้เรียกได้ว่าตรงกันข้ามกับรูปแบบแรกเลย มันคือการที่เราป้อนข้อมูล (Input) รูปเสือเข้าไป แต่ไม่ได้บอกมันว่ารูปที่ป้อนเข้าไปเป็นรูปเสือ ทีนี้พอคอมพิวเตอร์มันเอาไปวิเคราะห์ (Feature Extraction) มันก็วิเคราะห์ได้นะว่ารูปที่ใส่เข้าไปมีลักษณะยังไง แต่คราวนี้มันไม่สามารถเอาไปประมวล/จัดหมวดหมู่ (Classification) ได้แล้ว มันจะใช้วิธีการแบ่งกลุ่มแทน (Clustering) ซึ่งคอมพิวเตอร์มันก็จะเอารูปเสือไปอยู่กับแมว สุนัข หรือสัตว์อื่น ๆ ที่มี 4 ขา มี 2 หู 1 หาง เหมือนกัน

การเรียนรู้แปบเสริมกำลัง (Reinforcement learning)
มันคือการที่เรากำหนดเงื่อนไขบางอย่างให้กับคอมพิวเตอร์ แล้วทำให้คอมพิวเตอร์เอาชนะหรือทำตามเงื่อนไขนั้นให้ได้ ยกตัวอย่างเช่น Alpha Go เงื่อนไขของการหมากล้อมคือ ใช้หมากของตนล้อมพื้นที่บนกระดาน เพื่อให้ได้ดินแดนมากกว่าคู่ต่อสู้ ทีนี้ Alpha Go ก็จะเรียนรู้ด้วยตัวมันเองผ่านการจำลองการแข่งขันเป็นแสน ๆ ล้าน ๆ รอบ เพื่อให้รู้ว่า ถ้าหากคู่ต่อสู้เดินหมากนี้ ตัวมันเองจะเดินหมากไหนเพื่อให้บรรลุเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้ นั่นคือการยึดพื้นที่บนกระดานให้ได้มากที่สุด

Deep Learning คืออะไร
Deep Learning คือการจำลองรูปแบบการประมวลผลของสมองมนุษย์ โดยใช้โครงข่ายคล้ายเซลล์ประสาทในการประมวลผล เมื่อได้รับข้อมูลมา Deep Learning จะทำการแบ่งแยกข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่ได้รับมาทั้งหมด แล้วนำมาประมวลผลหาจุดเด่นและจุดแตกต่างของข้อมูลในเชิงลึก คล้ายกับการกรองข้อมูลเป็นชั้นๆ แล้วสรุปผลข้อมูลออกมาเป็น Output และตรวจสอบว่าข้อมูลนั้นส่งผลอย่างไร ผิด หรือถูก

เช่น มีข้อมูลสัตว์ 1 ตัวที่ไม่ทราบว่าจะเป็นอะไร Deep Learning จะทำการตรวจสอบและคาดการณ์ ว่า ‘อาจจะเป็น’ สัตว์ชนิดนี้ โดยไม่จำเป็นต้องระบุว่ามีปีกหรือมีหาง Deep Learning แค่ ‘คาดการณ์’ เอาไว้ก่อน

หาก Deep Learning คาดการณ์ผิด ตัวมันจะเรียนรู้และปรับเปลี่ยนการประมวลผล เพื่อให้ Output ที่ออกมามีความถูกต้องมากขึ้น และยิ่งเรียนรู้มาก Deep Learning ก็จะเข้าใจได้มากขึ้น และลงลึกในรายละเอียดยิบย่อยได้มากขึ้น จนสามารถสังเกตความแตกต่างของข้อมูลได้แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม โดยที่มนุษย์ไม่จำเป็นต้องแนะนำ


หากบอกว่า Machine Learning เปรียบเสมือน subset ของ AI เเล้ว Deep Learning เองก็เป็นเสมือนวิธีการหนึ่งของ Machine Learning เช่นกัน เพียงเเต่เป็นวิธีคิดของคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงยิ่งกว่า โดยการทำงานจะทำร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ Predicted รวมไปถึงความถูกต้อง ข้อดีของ Deep Learning คือยิ่งมีข้อมูลเข้ามา Train มากเท่าไหร่ประสิทธิภาพในการคิดของคอมพิวเตอร์ก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ต่างกับ Machine Learning ที่เมื่อมีข้อมูลจำนวนมากประสิทธิภาพการทำงานจะไม่สามารถสูงขึ้นอีกจนกว่าจะได้รับการ Train เพิ่มเติม

2
อื่น ๆ / 7 นวัตกรรมกล้องวงจรปิดแห่งอนาคต
« เมื่อ: กันยายน 23, 2020, 07:41:01 AM »

ในยุคปัจจุบันนั้นการเปิดกว้างทางด้านเทคโนโลยีและการติดต่อสื่อสาร ทำให้เกิดนวัตกรรมสุดล้ำต่างๆ ขึ้นอย่างมากมายและหนึ่งในนั้นก็คือกล้องวงจรปิดที่ถูกพัฒนาขึ้นให้มีความสามารถมากมายหลากหลาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัย และในบทความนี้เราจะขอแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับ 7 นวัตกรรมสุดล้ำที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกล้องวงจรปิดกัน

มุมมองกล้อง 360 องศา

กล้องวงจรปิดส่วนใหญ่มีมุมมองของเลนส์กว้างสุดราวร้อยกว่าองศา ซึ่งก็อาจเพียงพอสำหรับการเฝ้ามองสำหรับหลายๆ แห่ง แต่หากต้องการสายตาที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น ก็ต้องเพิ่มจำนวนกล้อง รวมถึงการวางตำแหน่งติดตั้งที่แตกต่างกัน ซึ่งดูแล้วก็เป็นทั้งความง่ายและยากในงานเดียวกัน ทำให้ผู้ผลิตหลายๆ แบรนด์ ต่างตั้งเป้าพัฒนามุมมองของเลนส์กล้องวงจรปิดให้กว้างถึง 180 องศา และยังสามารถพัฒนาได้ถึง 360 องศา ซึ่งอาจเป็นไปได้จากการทำงานด้วยตัวมันเอง หรือทำงานร่วมกับซอร์ฟแวร์ แต่นั่นล้วนเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้กล้องหนึ่งตัว มีประสิทธิภาพมากขึ้นหลายเท่าตัว



กล้องวงจรปิดมุมองแบบ Fisheye ช่วยให้การมองเห็นนั้นกว้างขึ้น

การจดจำใบหน้า

อาจเป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อทีกล้องวงจรปิดสำหรับรักษาความปลอดภัย ถูกพัฒนาถึงขั้นสามารถจดจำรูปลักษณ์ใบหน้าของผู้ผ่านเข้ามาในสายตาของมัน แต่นั่นได้กลายเป็นความจริงไปแล้ว เทคโนโลยีกล้อง CCTV ยุคใหม่ที่มาพร้อมกับคุณสมบัติการจดจำใบหน้า เริ่มเป็นที่นิยมในหลายรูปแบบ ทั้งการประยุกต์ใช้ในห้างสรรพสินค้า โรงเรียน ธนาคาร ลานอเนกประสงค์ ฯลฯ ปัจจุบันเทคโนโลยีก็ได้มีการนำมาใช้จริงในประเทศจีนแล้ว ซึ่งช่วยให้ทางเจ้าหน้าที่รัฐสามารถสืบหาตัวคนร้ายได้เมื่อเกิดเหตุอาชญากรรม



ตัวอย่างการจดจำใบหน้าของกล้องวงจรปิดและวิเคราะห์บุคคลผู้ต้องสงสัย
การตรวจจับการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต

โดยปกติแล้วกล้องวงจรปิดไม่สามารถแยกระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตได้ การพัฒนาระบบนี้ขึ้นมาจึงทำให้กล้องวงจรปิดสามารถแยกความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับสิ่งของ ซึ่งเป็นผลดีมากๆ ในการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัย เพราะหากมีโจรเข้ามาในบ้าน แล้วกล้องวงจรปิดสามารถจับภาพขโมยได้ก็สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนไปยังเจ้าของบ้าน หรืออาจเปิดสัญญาณกันขโมยเองเลยก็ได้ แต่ว่าการพัฒนาระบบตรวจจับการเคลื่อนไหว ยังมีข้อที่น่ากังวลอยู่นั้นก็คือการแยกระหว่างมนุษย์กับสัตว์เลี้ยง แต่เราเชื่อว่าในอนาคตด้วยความก้าวหน้าในเทคโนโลยีจะช่วยให้แก้ไขปัญหานี้หมดไป



กล้องวงจรปิดตรวจจับการเคลื่อนไหวโดย PIR Sensor พร้อมสัญญาณไฟกระพริบเพื่อแจ้งเตือน

ถ่ายภาพในที่มืดแม้ไร้แสง

กล้งวงจรปิดส่วนใหญ่เมื่อถึงเวลากลางคืนกล้องจะตัดเปลี่ยนไปใช้โหมดอินฟราเรด เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพได้ในที่มืด แต่ว่าภาพที่ได้จากจะเป็นภาพ ขาว-ดำ ไร้สีสันทำให้มองเห็นรายละเอียดไม่ค่อยมาก ผู้ผลิตกล้องวงจรปิดเล็งเห็นปัญหานี้จึงต่างกัน พัฒนาเทคโนโลยีใหม่เพื่อให้กล้องทำงานได้มีประสิทธิภาพในที่มืด จนทำให้เกิดเป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทำให้กล้องสามารถมองเห็นภาพสีได้ทั้งตอนกลางวันและตอนกลางคืน



เปรียบเทียบกล้องวงจรปิดแบบธรรมดากับกล้องวงจรปิดที่มีเทคโนโลยีมองเห็นภาพสีตอนกลางคืน
การเชื่อมต่อแบบไร้สาย

ในสมัยก่อนระบบกล้องวงจรปิดเป็นระบบปิดไม่สามารถดูออนไลน์ หรือเชื่อมต่อกับมือถือได้ แต่ว่าในปัจจุบันนี้อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการดำรงชีวิต ทำให้กล้องวงจรปิดถูกพัฒนาให้สามารถทำงานแบบออนไลน์ได้ อาทิเช่น การดูภาพจากกล้องวงจรปิดภาพมือถือ การบันทึกภาพเหตุการณ์ต่างๆ บน Cloud Storage หรือแม้กระทั่งการส่งข้อความแจ้งเตือนมายังผู้ใช้ เป็นต้น



ตัวอย่างการดูภาพจากกล้องวงจรปิดด้วยมือถือ

กล้องพลังงานแสงอาทิตย์

ด้วยการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศบนโลกในทุกวันนี้ ย่อมเป็นที่มาของแนวคิดการใช้พลังงานจากธรรมชาติอย่างจริงจัง ซึ่งไม่เว้นแม้ระบบกล้องวงจรปิดเพื่อรักษาความปลอดภัย นั้นจึงทำให้เกิดกล้องวงจรปิดพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นมา ซึ่งนอกจากจะช่วยรักษาความปลอดภัยได้แล้ว ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพราะใช้พลังงานธรรมชาติจากแสงอาทิตย์ และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในบ้านระยะยาว แม้กล้องวงจรปิดพลังงานอาทิตย์จะเป็นกล้องที่ใช้งานได้เฉพาะภายนอกบ้านบริเวณที่โล่งแจ้ง แต่นี่ก็คือจุดเริ่มของการพัฒนากล้องวงจรปิดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม



กล้องวงจรปิดที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
การพูดคุย ตอบโต้ สื่อสาร

กล้องวงจรปิดไม่เป็นเพียงวัตถุใบ้หรือไร้เสียงอีกต่อไป เพราะตอนนี้พวกมันสามารถส่งเสียงได้ ทั้งเพื่อการป้องกันภัย ตอบโต้ รวมถึงพูดคุย เริ่มแรกกล้องวงจรปิดเป็นเพียงการนำเสนอภาพที่บันทึกไว้ ตามต่อด้วยพัฒนาการส่งเสียงเพื่อป้องกันภัยหรือสร้างความตกใจแก่ผู้ไม่หวังดี แต่ว่าตอนนี้กล้องวงจรปิดสามารถพูดคุยกันระหว่างต้นและปลายทาง อาทิ ครอบครัวคุยกัน ส่งเสียงทักทายและรอการตอบกลับจากเด็กน้อยหรือสัตว์เลี้ยง การส่งเสียงดังเพื่อขับไล่ผู้ไม่หวังดี รวมถึงการเจรจา/ต่อรองต่างๆ ก็อาจถูกประยุกต์ใช้งานผ่านกล้องวงจรปิดยุคใหม่ได้เช่นกัน



กล้องวงจรปิด Wifi นอกจากดูออนไลน์ได้แล้ว เราสามารถพูดคุยกับคนอื่นผ่านกล้องได้ด้วย

3
อื่น ๆ / AI นวัตกรรมเปลี่ยนแปลงอนาคต
« เมื่อ: กันยายน 22, 2020, 03:26:03 AM »

ปัจจุบันเราปฎิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI นั้นได้เข้ามีส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโลกใบนี้ ไม่ใช่เพียงแค่ด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงด้านอุตสาหกรรมและธุรกิจอื่นๆ โดยเฉพาะด้านการแพทย์ และที่สำคัญปํญญาประดิษฐ์หรือ AI ยังสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้มีนักธุรกิจหรือนักลงทุนจากหลากหลายแห่ง พร้อมที่จะลงทุน และคาดหวังผลตอบแทนจากมันค่อนข้างสูง และในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กัน

AI คืออะไร

AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence แปลงตรงตัวก็คือ ปัญญาประดิษฐ์ หมายถึงโปรแกรมที่ถูกเขียนและพัฒนาให้มีความฉลาด มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจได้ จากการประมวลผลของฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และยังสามารถดัดแปลงการประมวลผล ประยุกต์ ให้เป็นไปตามสถานการณ์ต่างๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องรอการอนุมัติจากมนุษย์ AI เป็นยิ่งกว่าระบบประมวลผล และเป็นยิ่งกว่า Machine Learning เพราะผลลัพธ์ของ AI คือ การกระทำ เช่น การคุยโต้ตอบใน SIRI การใช้ระบบสแกนหน้าเพื่อปลดล็อคมือถือ เป็นต้น ในขณะที่ ผลลัพธ์ของ Machine Learning เป็นตัวเลข หรือรายงาย ซึ่งมนุษย์จะต้องนำผลลัพธ์นั้นไปสร้างเป็นการกระทำในลำดับต่อไป

อย่างไรก็ตาม Machine Learning ถือเป็น Sub-set ของ AI เพราะถือเป็นระบบประมวลผลที่สามารถประมวลผลเชิงลึก คล้ายความฉลาดของมนุษย์ แต่มิใช่ทั้งหมดของ AI

ประวัติศาสตร์การคิดค้นปัญญาประดิษฐ์

เราขอย้อนอดีตกลับไปยังจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กันก่อน แนวคิดเรื่องเครื่องจักรที่คิดได้และสิ่งมีชีวิตเทียมนั้นมีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ เช่นหุ่นยนต์ทาลอสแห่งครีต อันเป็นหุ่นยนต์ทองแดงของเทพฮิฟีสตัส แหล่งอารยธรรมใหญ่ ๆ ของโลกมักจะเชื่อเรื่องหุ่นยนต์ที่มีความคล้ายกับมนุษย์ เช่น ในอียิปต์และกรีซ ต่อมา ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 และ 20 สิ่งมีชีวิตเทียมเริ่มปรากฏอย่างแพร่หลายในนิยายวิทยาศาสตร์ เช่น แฟรงเกนสไตน์ของแมรี เชลลีย์ หรือ R.U.R.ของกาเรล ชาเปก แนวคิดเหล่านี้ผ่านการอภิปรายมาอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในแง่ของความหวัง ความกลัว หรือความกังวลด้านศีลธรรมเนื่องจากการมีอยู่ของปัญญาประดิษฐ์

กลไกหรือการให้เหตุผลอย่างมีแบบแผน ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณ การศึกษาด้านตรรกศาสตร์นำไปสู่การคิดค้นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัลที่โปรแกรมได้โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ของแอลัน ทัวริงและคนอื่น ๆ ทฤษฎีการคำนวณของทัวริงชี้ว่า เครื่องจักรที่รู้จักการสลับตัวเลขระหว่าง 0 กับ 1 สามารถเข้าใจนิรนัยทางคณิตศาสตร์ได้ หลังจากนั้น การค้นพบทางด้านประสาทวิทยา ทฤษฎีสารสนเทศ และไซเบอร์เนติกส์ รวมทั้งทฤษฎีการคำนวณของทัวริง ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเริ่มสนใจพิจารณาความเป็นไปได้ของการสร้าง สมองอิเล็กทรอนิกส์ ขึ้นมาอย่างจริงจัง

สาขาปัญญาประดิษฐ์นั้นเริ่มก่อตั้งขึ้นในที่ประชุมวิชาการที่วิทยาลัยดาร์ตมัธ สหรัฐอเมริกาในช่วงหน้าร้อน ค.ศ. 1956 โดยผู้ร่วมในการประชุมครั้งนั้น ได้แก่ จอห์น แม็กคาร์ธีย์, มาร์วิน มินสกี, อัลเลน นิวเวลล์, อาเธอร์ ซามูเอล และเฮอร์เบิร์ต ไซมอน ที่ได้กลายมาเป็นผู้นำทางสาขาปัญญาประดิษฐ์ในอีกหลายสิบปีต่อมา นักวิทยาศาสตร์และนักศึกษาของพวกเขาเหล่านี้เขียนโปรแกรมที่หลายคนทึ่ง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ที่สามารถเอาชนะคนเล่นหมากรุก แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับคำด้วยพีชคณิต พิสูจน์ทฤษฎีทางตรรกวิทยา หรือแม้กระทั่งพูดภาษาอังกฤษได้ ผู้ก่อตั้งสาขาปัญญาประดิษฐ์กลุ่มนี้เชื่อมั่นในอนาคตของเทคโนโลยีใหม่นี้มาก โดยเฮอร์เบิร์ต ไซมอนคาดว่าจะมีเครื่องจักรที่สามารถทำงานทุกอย่างได้เหมือนมนุษย์ภายใน 20 ปีข้างหน้า และมาร์วิน มินสกีก็เห็นพ้องโดยการเขียนว่า "เพียงชั่วอายุคน ปัญหาของการสร้างความฉลาดเทียมจะถูกแก้ไขอย่างยั่งยืน"

เทคโนโลยี AI ในโลกยุคปัจจุบัน

หากผู้ถึง AI แล้วผู้คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงหุ่นยนต์ความคิดเหมือนกับมนุษย์ เหมือนในนิยายวิทยาศาสตร์หรือ หนัง Sci-Fi ที่เราดูกัน ซี่งตอนนี้มันไม่ได้เป็นเพียงแค่นิยายเพ้อฝันอีกแล้ว เพราะในโลกเรามีหุ่นยนต์แบบนั้นจริง ขอแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับหุ่นยนต์โซเฟีย (Sophia) หุ่นยนต์ AI ที่เรียกได้ว่าใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด เธอสามารถโต้ตอบได้เหมือนมนุษย์และได้ไปปรากฎตัวบนเวทีโลกมาแล้วหลายเวที และเธอยังเป็นหุ่นยนต์ตัวแรกของโลกที่ได้รับสัญชาติซาอุดิอาระเบีย แม้ว่าโซเฟียจะทำได้แค่พูดคุยตอบโต้กับผู้คนได้เท่านั้น แต่นี่ก็คือหลักฐานที่แสดงให้เห็นแล้ว AI สามารถมีความคิดความอ่านเหมือนมนุษย์ได้



Sophia มาเยือนประเทศไทยในงาน Manufacturing Expo 2018

นอกจากหุ่นยนต์โซเฟียแล้ว ยังมีหุ่นยนต์ AI ตัวอื่นๆ อยู่ด้วยเช่นกัน แม้ว่าบางตัวอาจไม่สามารถพูดคุยตอบโต้ได้เหมือนโซเฟีย แต่ว่าก็มีส่วนช่วยสำคัญในการดำเนินธุรกิจต่างๆ อาทิเช่นในธุรกิจโรงแรมในญี่ปุ่นมีการใช้หุ่นยนต์เข้ามาเป็นพนักงานประชาสัมพันธ์ คอยต้อนรับผู้เข้าพัก หรือ HapyBot หุ่นยนต์ขนส่งอัตโนมัติของประเทศไทยเราเอง เข้ามาใช้โรงพยาบาลเพื่อขนส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ เข่น ยา, วัคซีน, เลือด หรือ เอกสารคนไข้ เป็นต้น และนอกจากนี้ยังสามารถเป็นหุ่นยนต์นำทางให้แก่ผู้ป่วยได้ด้วย



ภาพงานแถลงข่าวการใช้ HapyBot รองรับคนไข้ในช่วงสถานการณ์ COVID-19

AI กับระบบรักษาความปลอดภัย

นอกจากด้านการแพทย์และธุรกิจแล้ว เทคโนโลยี AI ยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบรักษาความปลอดภัย อาทิเช่น HP Robotcop หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย ที่ทำหน้าที่เป็นกล้องวงจรปิดเคลื่อนที่คอยสอดส่องเหตุการณ์บริเวณต่างที่อาจก่อให้เกิดอาชญากรรมได้ ทางด้านกล้องวงจรปิดเองก็มีนวัตกรรมจดจำใบหน้าและแยกแยะบุคคลได้ ซึ่งช่วยในการค้นหาตัวคนร้ายที่แอบหลบซ่อนอยู่ในฝูงชนได้เป็นอย่างดี และในสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ระบาด บริษัท Megvii เองก็ได้มีคิดค้นระบบตรวจจับอุณหภูมิร่างกายอัจฉริยะที่เรียกว่า Ming ji Mini ที่นอกจากจะวัดอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำแล้ว ยังสามารถแยกแยะใบหน้าบุคคลได้แม้ใส่หน้ากาก และยังทำงานร่วมกับระบบ Access Control หรือระบบบันทึกเวลาพนักงานได้ด้วย



Ming Ji Mini สามารถวัดอุณหภูมิแยกแยะและจดจำใบหน้าของแต่ละคนได้แม้ใส่หน้ากาก

4
อื่น ๆ / ความแตกต่างของสัญญาณ Analog และ digital
« เมื่อ: กันยายน 18, 2020, 04:19:57 AM »

หากพูดถึงเกี่ยวกับเทคโนโลยี คำศัพท์ที่เรามักจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ก็คือ Analog กับ Digital ทั้ง 2 คำนี้นับว่าเป็นพื้นฐานของวิชาดิจิตอล และเป็นความสำคัญอย่างยิ่งของการก่อเกิดเทคโนโลยีต่าง ๆ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสัญญาณหรือโทรคมนาคม ในบทความนี้เราจะมาอธิบายถึงความมแตกต่างของสัญญาณ Analog และ Digital กัน

Analog and Digital
สัญญาณที่ใช้ในระบบสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือสัญญาณอนาลอกและสัญญาณดิจิตอล สัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณที่มีขนาดเป็นค่าต่อเนื่องส่วนสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณ ที่มีขนาดเปลี่ยนแปลง เป็นค่าของเลขลงตัว โดยปกติมักแทนด้วย ระดับแรงดันที่แสดงสถานะเป็น "0" และ "1" หรืออาจจะมีหลายสถานะ ซึ่งจะกล่าวถึงในเรื่องระบบสื่อสารดิจิตอล มีค่าที่ตั้งไว้ (threshold) เป็นค่าบอกสถานะ ถ้าสูงเกินค่าที่ตั้งไว้สถานะเป็น "1" ถ้าต่่ากว่าค่าที่ตั้งไว้ สถานะเป็น "0" ซึ่งมีข้อดีในการท่าให้เกิดความผิดพลาดน้อยลงเนื่องจากสัญญาณรบกวนต้องมีค่าสูงกว่าค่าที่ตั้งไว้สถานะจึงจะเปลี่ยน ตัวอย่างเช่น ในระบบดิจิตอล สถานะของข้อมูลเป็น "0" สัญญาณรบกวนมีค่า 0.2 โวลต์ แต่ค่าที่ตั้งไว้เท่ากับ 0.5 โวลต์ สถานะ ยังคงเดิมคือเป็น "0" ในขณะที่ระบบอนาลอก สัญญาณรบกวนจะเติมเข้าไปใน สัญญาณจริงโดยตรง กล่าวคือสัญญาณจริงบวกสัญญาณรบกวนเป็นสัญญาณขณะนั้นท่าให้สัญญาณรบกวนมีผลต่อสัญญาณ จริงและมีความผิดพลาดเกิดขึ้นกระแสไฟฟ้าแบ่งออกได้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าไม่มี ส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสื่อสารโทรคมนาคม เมื่อกล่าวถึงสัญญาณในเชิงประยุกต์ก็ อาจจะจ่าแนกใน หมวดหมู่นี้ได้ การไหลของไฟฟ้ากระแสตรงในวงจรอย่างสม่่าเสมอไม่สามารถส่งข่าวสารได้ แต่เมื่อไร ที่ท่าการควบคุมกระแสให้เป็นพัลส์โดยการเปิดสวิตซ์ กระแสจะลดลงสู่ศูนย์และปิดสวิตซ์ กระแสก็จะมีค่าค่าหนึ่ง พัลส์ของกระแสถูกผลิตตามรหัสที่ใช้แทนแต่ละตัวอักษรหรือตัวเลย โดยการรวมของพัลส์ การท่างานของสวิตซ์สามารถส่งข้อความใด ๆ ได้ ตัวอย่างที่เห็นได้เสมอได้แก่ รหัสมอร์ส เป็นต้น ส่วนไฟฟ้ากระแสสลับในรูปของคลื่นอยู่ในจ่าพวกคลื่นวิทยุมีการใช้งานอย่าง กว้างขวางเป็น ที่รู้จักกันดี

สัญญาณ Analog
สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) หมายถึง สัญญาณข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) มีขนาดของสัญญาณไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป มีลักษณะเป็นเส้นโค้งต่อเนื่องกันไป โดยการส่งสัญญาณแบบอนาล็อกจะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น


สัญญาณ Digital
สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ที่มีขนาดแน่นอนซึ่งขนาดดังกล่าวอาจกระโดดไปมาระหว่างค่าสองค่า คือ สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและติดต่อสื่อสารกันเป็นค่าของเลขลงตัว โดยปกติมักแทนด้วยระดับแรงดันที่แสดงสถานะเป็น "0" และ "1" หรืออาจจะมีหลายสถานะซึ่งจะกล่าวถึงในเรื่องระบบสื่อสารดิจิตอลมีค่าที่ตั้งไว้ (Threshold) เป็นค่าบอกสถานะ ถ้าสูงเกินค่าที่ตั้งไว้สถานะเป็น "1" ถ้าต่ำกว่าค่าที่ตั้งไว้สถานะเป็น "0" ซึ่งมีข้อดีในการทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง


ความแตกต่างระหว่างสัญญาณ Analog และ Digital
สัญญาณ Analog จะมีความต่อเนื่องกันเป็นรูปคลื่น หากช่วงใดช่วงหนึ่งของสัญญาณถูกรบกวนหรือสูญหายอาจทำให้ข้อมูลที่ได้รับหรือส่งไปมีความผิดเพี้ยนจากเดิม ต่างจากสัญญาณ Digital แม้รูปแบบคลื่นสัญญาณจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมและดูไม่ต่อเนื่อง แต่ว่าข้อมูลถูกแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนคือ 0 และ 1 ทำให้ประสิทธิในการส่งข้อมูลดีกว่า และแม้ว่าจะถูกสัญญาณรบกวน แต่ถ้าใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณก็สามารถคืนค่ากลับมาใด้ใกล้เคียงกับต้นฉบับเดิมได้

5
อื่น ๆ / Internet of Things (IoT) คืออะไร
« เมื่อ: กันยายน 16, 2020, 03:39:10 AM »
ในโลกที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด หลายๆ คนมักจะได้ยินหรือคุ้นเคยกับคำว่า Internet of Things หรือ IoT กันมาบ้าง พวกเราต่างรู้กันว่า IoT คือสิ่งที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก และนำเทคโนโลยีพัฒนาออกไปได้ไกลมากขึ้น แต่ว่าแล้วอะไรคือ Internet of Things มันเปลี่ยนแปลงโลกนี้ยังไง ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปหาคำตอบกันว่า Internet of Things คืออะไร

ความหมายของ Internet of Things (IoT)

ถ้าแปลความหมายตรงตัวก็คือ “อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง” นั้นหมายถึง อุปกรณ์หรือสิ่งต่างๆ สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ทำให้เราสามารถดำเนินการจัดการหรือควบคุมอุปกรณ์หรือสิ่งต่างๆ เหล่านั้นได้ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น การเปิด - ปิด อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ด้วยมือถือ เป็นต้น และด้วยเหตุจึงได้มีการกำเนิดเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม Smart ต่างๆ ให้เราเห็นกันในปัจจุบัน อาทิเช่น Smart Watch, หุ่นยนต์เครื่องดูดฝุนอัจฉริยะ, กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ, หรือแม้กระทั่ง Cloud Storage ที่เราใช้เก็บไฟล์หรือข้อมูลต่างๆ บนก้อนเมฆก็นับเป็น  Internet of Things อย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน

แนวคิดเรื่อง Internet of Thing (IoT)

เดิมมาจาก Kevin Ashton บิดาแห่ง Internet of Things ในปี 1999 ในขณะที่ทำงานวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT เขาได้ถูกเชิญให้ไปบรรยายเรื่องนี้ให้กับบริษัท Procter & Gamble (P&G)  เขาได้นำเสนอโครงการที่ชื่อว่า  Auto-ID Center ต่อยอดมาจากเทคโนโลยี RFID ที่ในขณะนั้นถือเป็นมาตรฐานโลกสำหรับการจับสัญญาณเซ็นเซอร์ต่างๆ( RFID Sensors) ว่าตัวเซ็นเซอร์เหล่านั้นสามารถทำให้มันพูดคุยเชื่อมต่อกันได้ผ่านระบบ Auto-ID ของเขา โดยการบรรยายให้กับ P&G ในครั้งนั้น Kevin ก็ได้ใช้คำว่า Internet of Things ในสไลด์การบรรยายของเขาเป็นครั้งแรก โดย Kevin นิยามเอาไว้ตอนนั้นว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆก็ตามที่สามารถสื่อสารกันได้ก็ถือเป็น “internet-like” หรือพูดง่ายๆก็คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สื่อสารแบบเดียวกันกับระบบอินเตอร์เน็ตนั่นเอง โดยคำว่า “Things” ก็คือคำใช้แทนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆเหล่านั้น


Kevin Ashton บิดาแห่ง Internet of Things

ต่อมาในยุคหลังปี 2000 มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ถูกผลิตออกจัดจำหน่ายเป็นจำนวนมากทั่วโลก จึงเริ่มมีการใช้คำว่า Smart ซึ่งในที่นี้คือ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation ต่างๆเหล่านี้ ล้วนถูกฝัง RFID Sensors เสมือนกับการเติม ID และสมอง ทำให้มันสามารถเชื่อมต่อกับโลกอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งการเชื่อมต่อเหล่านั้นเองก็เลยมาเป็นแนวคิดที่ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นก็ย่อมสามารถสื่อสารกันได้ด้วยเช่นกัน โดยอาศัยตัว Sensor ในการสื่อสารถึงกัน นั่นแปลว่านอกจาก Smart Device ต่างๆจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้ว ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ตัวอื่นได้ด้วย

IoT กับระบบรักษาความปลอดภัย

ประโยชน์อย่างหนึ่งของการที่เทคโนโลยี IoT เปิดโอกาสความเป็นไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งขึ้นอยู่กับแนวคิดนำไปพัฒนาและหนึ่งในนั้นก็คือ การพัฒนาระบบ Security หรือระบบรักษาความปลอดภัย นั้นเอง เริ่มตั้งแต่ระบบรักษาความปลอดภัยอย่าง กล้องวงจรปิด (CCTV) ที่ถูกพัฒนาจนกลายมาเป็น กล้องวงจรปิดแบบไร้สายที่สามารถดูภาพได้ทุกที่ผ่านสมาร์ทโฟน

หรือระบบสวิตซ์ไฟอัจฉริยะภายในบ้านซึ่งติดตั้งระบบเซ็นเซอร์แต่ละตัวลงไปยังระบบไฟส่องสว่างจุดที่สำคัญของบ้าน อาทิ ประตู หน้าต่าง ห้องเก็บตู้เซฟ เป็นต้น เมื่อเซ็นเซอร์ตรวจพบการทำงานที่ผิดปกติก็จะแจ้งไปยังผู้ใช้งานผ่านทางแอพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนทันที รวมทั้งการตัดเวลาปิดเปิดไฟทั้งในทันที่และล่วงหน้าได้

และยังมีระบบเปิดปิดประตูบ้านผ่าน IoT ที่สั่งงานได้โดยสมาร์ทโฟน หรือ Smart Watch รวมทั้งในรูปแบบอุปกรณ์กระดิ่งหน้าประตูบ้าน ซึ่งทำหน้าที่เป็นดั่งกลอนประตูบ้านรักษาความปลอดภัยที่สั่งเปิดปิดผ่านมือถือที่มาพร้อมระบบสแกนใบหน้า การตรวจสอบด้วยเสียงและเตือนภัยผ่านสมาร์ทโฟน แถมด้วยการเปิดระบบผ่านสมาร์ทโฟนเพื่อวีดิโอคอลคุยกับคนที่มาหาเราที่บ้านได้อีกด้วย

และอีกหนึ่งในผลงานนวัตกรรมที่นำเอาระบบ IoT มาใช้กับเทคโนโลยีหุ่นยนต์นั่นก็คือ “หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย” ที่มีการพัฒนาต่อยอดจนสามารถนำมาจำหน่ายและใช้งานจริง ซึ่งนอกจากงานรักษาความปลอดภัยภายในอาคารต่างๆแล้ว ก็ยังมีหุ่นยนต์ที่ใช้ตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยว่าจะเป็นระเบิดพร้อมทั้งเก็บกู้แทนการใช้ชีวิตมนุษย์เข้าไปเสี่ยงโดยตรง


HP Robocop หุ่นยนต์สอดส่องดูแลรักษาความปลอดภัยจากแคลิฟอร์เนีย-สหรัฐอเมริกา

นี้จึงเป็นแนวทางการพัฒนาระบบ IoT ที่ถูกนำมาใช้ในระบบ Security โดยมีข้อดีก็คือการติดตั้งระบบและสั่งการต่างๆได้ด้วยตัวเองผ่านมือถือง่ายๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตให้กับเราและที่พักอาศัยในอนาคตต่อไปนั้นเอง

6
อื่น ๆ / Load Balance คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
« เมื่อ: สิงหาคม 28, 2020, 04:46:47 AM »


Load balance เป็นเทคนิคทางด้าน network ที่นำมาใช้แก้ปัญหา Limit ความสามารถในการรองรับจำนวนผู้ใช้งานที่จำกัดของเครื่อง server โดยต่อให้เครื่อง server แรงแค่ไหนก็ตาม แต่เมื่อมีปริมาณผู้ใช้จำนวนมากตัว Application ของ Web Server ก็ย่อมที่จะทำงานหนักมาก และอาจจะเกิด Connection เต็ม การรอ Queue ก็เกิดขึ้น อันเนื่องจากปริมาณ Limit ของ Server ปัญหาที่ตามมาก็คือ Server Load ตัว CPU ทำงานสูง ทำให้ Web Server ค้างหรือแฮ้ง โดยปัญหานี้เว็บไซต์ใหญ่ ๆ จะเจอปัญหากันอย่างแน่นอน

หลักการทำ load balance
load balance จะทำโดยเอา server หลาย ๆ เครื่องมาทำงานร่วมกัน กระจาย load ไปแต่ละเครื่อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการรับงานที่เข้ามาจาก User จำนวนมากๆ ได้ ดังนั้นจึงทำงานได้มากกว่าในเวลาเท่ากัน และโดยทั่วไปผู้ใช้ทั้งหมดได้รับบริการเร็วขึ้น load balance สามารถใช้กับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือการผสมทั้งคู่ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติของ Fail Over คือหากมีคอมพิวเตอร์ภายในกลุ่มไม่สามารถทางานได้ เช่น Down อยู่ หรือไม่สามารถรับงานหรือ user เพิ่มได้เนื่องจาก Resource ที่ใช้ทำงานไม่พอ ตัว load balance ที่เป็นตัวแจก Load ให้คอมพิวเตอร์ภายในกลุ่มก็จะส่ง load ไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ แทน จนกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะกลับมาใช้งานได้ใหม่

โดยปกติระบบ load balance จะนิยมใช้กับเว็บไซด์, เครือข่ายสำหรับการแช็ตขนาดใหญ่, เว็ปไซด์สำหรับส่งไฟล์ที่ใช้ bandwidth สูงๆ, NNTPเซิร์ฟเวอร์ และDNSเซิร์ฟเวอร์ ขณะที่จะมีประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยโดยการซ่อนโครงสร้างของเครือข่ายภายใน และยับยั้งการเข้าถึงแกนกลางของเครือข่ายหรือบริการที่ทำงานอยู่พอร์ตอื่น

การทำ load balance สามารถทำได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการใช้ DNS ในลักษณะแบบ round robin (มี A record หลายอัน) หรือจะเป็นการใช้ Load Balancer เช่น HAProxy หรือ Ultra Monkey โดยเราจะมี Load Balancer หนึ่งตัว ข้างหน้า เซิร์ฟเวอร์ภายในกลุ่ม เพื่อรอรับการร้องขอจากผู้ใช้ เมื่อมีร้องขอเข้ามาตัว Load Balancer จะทำการ ส่งต่อการร้องขอนั้นไปยังเซิร์ฟเวอร์ภายในกลุ่ม โดยการทำงานจะเป็นการเปรียบเทียบสมรรถนะของเครื่องแล้วกระจายงานสู่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ เพื่อให้เซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่องมีทำงานที่สมดุลกัน

การทำ load balance ปัจจุบันที่ใช้กันมีอยู่ 3 วิธี คือ

1. Round-robin เป็นการส่ง traffic ไปยัง Server ภายในกลุ่มวนไปเรื่อยๆ ตามปกติแล้ว 1 domain name จะมีแค่ 1 ip address แต่ในการทำ DNS Round Robin ใน 1 domain name จะมีหลาย ip address สามารถทดลองได้โดยการทำ nslookup หรือ ลอง ping ไปยัง domain นั้นหลายๆรอบ จะเห็นว่า ip ที่เรา ping ไปแต่ละรอบนั้นไม่เหมือนกัน (ลองกับ facebook หรือ google ก็ได้)

ข้อดีของวิธีนี้คือง่ายที่สุดและใช้งบประมาณน้อยที่สุด แต่เป็นวิธีนี้มีข้อเสียค่อนข้างมากข้อเสียที่สำคัญคือไม่สามารถควบคุมการทำงานได้ เนื่องจากการทำงานด้วยวิธีนี้จะมีแต่การทำ Round Robinเท่านั้น ไม่กระจายงานสู่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้เท่าเทียมกันได้

2. Sticky เป็นการส่ง traffic โดยยึดติดกับ Session ที่ user เคยเข้าไปใช้งาน เช่น ถ้า user เคยเข้าไปใช้ใน server ที่ 1 ภายในกลุ่ม traffic ของ user คนนั้นก็จะถูกส่งไปยัง server 1 เท่านั้น

3. Work load เป็นการส่ง traffic โดยดูที่ performance ของ server ภายในกลุ่มเป็นสำคัญ เช่นหาก server 1 มีงานมากกว่า server 2 ตัว load balancer ก็จะส่ง traffic ไปยัง server 2

7

โทโพโลยี (Topology) คือลักษณะทางกายภาพของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโพโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโพโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน มีรูปแบบต่างๆ ดังนี้

1. โทโพโลยีแบบบัส (Bus Topology)

เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่งเพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยากและไม่ต้องใช้อุปกรณ์สลับสาย การเชื่อมต่อมีลักษณะเป็นแบบหลายจุด สถานีทุกสถานีรวมทั้งอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้ากับสายสื่อสารหลักเพียงสายเดียว เรียกว่า "แบ็กโบน" (Back Bone) การจัดส่งข้อมูลลงบนบัสจึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานีได้ผ่านสายแบ็กโบนนี้ การจัดส่งวิธีนี้ต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการแบ่งช่วงเวลา หรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน


2. โทโพโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)

เป็นลักษณะการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันเป็นวงกลม โดยสถานีแต่ละสถานีจะต่อกับสถานีที่อยู่ติดทั้งสองข้างของตนเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของแต่ละสถานีด้วยกันเป็นวงแหวน สัญญาณข้อมูลจะส่งอยู่ในวงแหวนแบบจุดต่อจุดไปในทิศทางเดียวกันจนถึงผู้รับภายในเวลาที่กำหนด โดยเครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้า และส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใดเครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป อีกทั้งสามารถตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งด้วย ในกรณีที่เครื่องรับปลายทางไม่ได้รับสัญญาณข้อมูลในเวลาที่กำหนด จะมีการแจ้งว่าหากเกิดความผิดพลาดในเครือข่ายได้


3. โทโพโลยีแบบดาว (Star Topology)

เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารโดยมีสถานีกลาง หรือฮับ (Hub) เป็นจุดผ่าน การติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด นอกจากนี้สถานี กลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบดาว จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่ เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูล เข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบดาวเป็นโทโพโลยีอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่ นิยมใช้กันในปัจจุบัน


4. โทโพโลยีแบบผสม (Hybrid Topology)

เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อย ๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus , ระบบ Ring และระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tree ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน


5. โทโพโลยีแบบต้นไม้ (Tree Topology)

มีลักษณะเชื่อมโยงคล้ายกับโครงสร้างแบบดาวกับแบบบัสผสมกัน โดยมีสายนำสัญญาณแยกออกไปเป็นแบบกิ่งไม่เป็นวงรอบ โครงสร้างแบบนี้จะเหมาะกับการประมวลผลแบบกลุ่มจะประกอบด้วยเครื่อง คอมพิวเตอร์ระดับต่างๆกันอยู่หลายเครื่องแล้วต่อกันเป็นชั้น ๆ ดูราวกับแผนภาพองค์กร แต่ละกลุ่มจะมีโหนดแม่ละโหนดลูกในกลุ่มนั้นที่มีการสัมพันธ์กัน การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม และรับส่งข้อมูลเดียวกัน ดังนั้นในแต่ละกลุ่มจะส่งข้อมูลได้ทีละสถานีโดยไม่ส่งพร้อมกัน


6. โทโพโลยีแบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology)

รูปแบบเครือข่ายแบบนี้ ปกติใช้ในระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) ลักษณะการสื่อสารจะมีการต่อสายหรือการเดินของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือโหนดไปยังโหนดอื่น ๆ ทุก ๆ ตัว ทำให้มีทางเดินข้อมูลหลายเส้นและปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่จะเกิดจากการล้มเหลวของระบบ แต่ระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าระบบอื่น ๆ เพราะต้องใช้สายสื่อสารเป็นจำนวนมาก


8

สำหรับระบบเครือข่ายเราทราบกันดีว่าอุปกรณ์หลักที่สำคัญ คงหนีไม่พ้นโมเดลหรือเราเตอร์นั้นเอง แต่ว่านั้นเป็นเพียงระบบเล็กๆ เพียงต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตบ้านหลังเล็กๆ เพียงเท่านั้น หากสถานที่ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต มีพื้นที่บริเวณกว้างขนาดใหญ่ เพียงแค่โมเดลเราเตอร์อย่างเดียวคงไม่พอ ดังนั้นจิงต้องมีเหล่าอุปกรณ์กระจายสัญญาณ ติดตั้งร่วมเข้าไปในระบบ เพื่อให้สัญญาณครอบคลุมต่อการใช้งานในสถานที่เหล่านั้น

อุปกรณ์กระจายสัญญาณในระบบเครือข่ายที่ใช้งานหลักๆ จะมีอยู่ด้วยกันดังต่อไปนี้

1. สวิตซ์ (Switch) แน่นอนว่าหากเราพูดถึงอุปกรณ์กระจายสัญญาณ เรามักนึกถึง Switch เป็นอับดับแรกๆ Switch เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมอุปกรณ์ network เข้าด้วยกัน โดยอาศัยสาย cable ต่อเข้ากับ port แต่ละอุปกรณ์ และยังสามารถจัดการเชื่อมต่อระหว่าง network ได้ อุปกรณ์แต่ละตัวที่ต่อเข้ากับ switch จะได้รับ network address เป็นตัวบอกตัวตนของแต่ละอุปกรณ์ เพื่อให้การส่งข้อมูล packet ไปถึงได้ถูกต้องและเจาะจง อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับ network


2. ฮับ (Hub) เมื่อเราพูดถึง Switch แล้ว จะให้เราไม่พูดถึงฮับก็ไม่ได้ ฮับเป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่เชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นเข้าไว้ด้วยกันเหมือนกับ Switch แต่จะมีข้อแตกต่างที่การรับส่งข้อมูลของฮับจะส่งข้อมูลออกไปทุกๆ พอร์ตที่เชื่อมต่ออุปกรณ์อยู่ โดยฮับจะทำการคัดลอกสำเนาข้อมูลที่จะส่งและนำสำเนาเหล่านั้นส่งไปยังอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ ถ้าข้อมูลนี้เป็นของอุปกรณ์ใด อุปกรณ์นั้นก็จะรับเองอัตโนมัติ และจุดด้อยของฮับที่ควรทราบคือ เวลามีอุปกรณ์ใดส่งข้อมูลในเครือข่ายผ่านฮับ อุปกรณ์อื่นๆ จะต้องรอให้การส่งสมบูรณ์ก่อน


3. แอคเซสพอย (Access Point : AP) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานตัวหนึ่งที่สามารถสร้างเครือข่ายไร้สายจากระบบเครือข่ายแลน (Lan) ทำหน้าที่กระจายสัญญาณไวร์เลสหรือที่เราเรียกกันติดปากว่า Wi-Fi ออกไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในรัศมีการกระจายสัญญาณโดยรอบ แม้ว่าการกระจายสัญญาณด้วยวิธีนี้ดูเหมือนจะไม่มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ แต่ความจริงแล้ว Access Point ก็มีข้อจำกัดจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ด้วยเหมือนกัน เราสามารถรู้จำนวนเหล่านั้นได้จาก คู่มือหรือสเปคสินค้าที่ทางผู้ผลิตระบุเอาไว้


4. รีพีทเตอร์ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ทวงสัญญาณและขยายสัญญาณในเครือข่ายทำให้เราสัญญาณที่ส่งออกมามีความเสถียรและช่วยเพิ่มพื้นที่ในการรับส่งข้อมูลได้ไกลขึ้น Repeater มีทั้งแบบเดินสายและไร้สาย โดยส่วนใหญ่ที่เรามักเห็นคุ้นตาจะเป็นตัวแบบไร้สาย แม้ว่า Repeater จะช่วยขยายพื้นที่สัญญาณให้ครอบคุมมากขึ้น แต่ว่าไม่มีผลในเรื่องการเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ที่รองรับ ถึงแม้ว่าเราจะใช้ Access Point ที่มีโหมด Repeater ก็ตาม เพราะหน้าที่หลักของ Repeater คือทำให้สํญญาณที่อ่อนอยู่ให้แรงขึ้นเพียงเท่านั้น


ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์กระจายสัญญาณตัวไหนๆ ก็มีส่วนในการเพิ่มขยายสัญญาณอินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่ว่าในบางสถานที่อาจไม่จำเป็นต้องใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ด้วยกันทั้งหมด นั้นก็ขึ้นอยู่กับขนาดของสถานที่หรือความต้องการของผู้ใช้งาน และอีกปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของระบบ คือการออกแบบระบบของผู้ให้บริการติดตั้งระบบเครือข่าย ที่ต้องตอบโจทย์การใช้งานและเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ด้วย

9
อื่น ๆ / ไวรัสคอมพิวเตอร์ที่พึงระวัง
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2020, 06:48:51 AM »

ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) คือชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์ในการบั่นทอนระบบรักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ เพื่อก่อกวน โจรกรรม และทำลายข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์เป้าหมาย ไวรัสคอมพิวเตอร์จึงถูกใช้ในการสร้างความเสียหายแก่ปัจเจกบุคคล ภาครัฐ ภาคธุรกิจ รวมถึงประโยชน์ทางการทหารและการจารกรรมข้อมูลที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงแห่งชาติ

นอกจากนี้ ไวรัสคอมพิวเตอร์ยังมีอีกหนึ่งคุณสมบัติที่สำคัญคือ การแพร่ไปยังคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องอื่น ๆ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดีย ตลอดจนอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอย่าง Flash Drive หรือ External Hard drive ด้วยเหตุนี้ ไวรัสคอมพิวเตอร์จึงสามารถสร้างความเสียหายเป็นอย่างมากหากคอมพิวเตอร์เป้าหมายขาดระบบป้องกันความปลอดภัย โดยเฉพาะเมื่อไม่ได้ติดตั้งแอนตี้ไวรัส

ประเภทของไวรัสบนคอมพิวเตอร์
การทำงานของไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ การแทรกเข้าไปฝังตัวอยู่บริเวณหน่วยความทรงจำ (ram) ของคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นไวรัสก็จะค่อย ๆ สร้างความเสียหายต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยมีการทำงานขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของไวรัสดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการทำลายข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวและข้อมูลทางการเงินของเจ้าของคอมพิวเตอร์ หรือก่อกวนให้ไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างปกติ โดยอาจปรากฏในรูปของเมาส์เคลื่อนที่เอง ข้อความวิ่งไปมาบนหน้าจอ หรือไม่สามารถเปิดคอมพิวเตอร์ได้ เป็นต้น  ทั้งนี้ ไวรัสคอมพิวเตอร์มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน โดยสามารถสรุปได้ 7 ประเภท ดังนี้

1. หนอน (Worm)
เป็นหนึ่งในไวรัสคอมพิวเตอร์ประเภทอันตราย ที่สามารถสร้างความเสียหายแก่คอมพิวเตอร์ได้อย่างร้ายแรง เนื่องจากมีคุณสมบัติสามารถแพร่กระจายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนสามารถบั่นทอนประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ เนื่องจากไวรัสหนอนสามารถกระจายตัวเข้าโจมตีระบบอย่างรวดเร็ว ทำให้การกำจัดทำให้ได้ยากมากขึ้น และจำเป็นจะต้องใช้แอนตี้ไวรัสที่มีศักยภาพสูงในการต่อกรกับไวรัสหนอนที่เข้ามาชอนไชระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์

2. บูตไวรัส (Boot Virus)
ไวรัสคอมพิวเตอร์ชนิดนี้แฝงอยู่ในแผ่นซีดีรอมหรือ Flash drive ที่จะเข้าจู่โจมคอมพิวเตอร์ทันที เมื่อฮาร์ดดิสก์เริ่มอ่านแผ่นซีดีดังกล่าว โดยพุ่งเป้าหมายไปที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ดก่อนจะเคลื่อนไปที่หน่วยความจำ และเริ่มต้นทำงานทันที เมื่อคอมพิวเตอร์เริ่มบูตเครื่องหลังจากเปิดคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัสประเภทนี้จะไม่ได้แสดงอาการชัดเจน แต่มักจะมีการแพร่กระจายไปยังซีดีรอมระหว่างที่คอมพิวเตอร์กำลังบูตเพื่อปิดเครื่อง และด้วยวิธีการติดต่อเช่นนี้ ทำให้บูตไวรัสสามารถแพร่ไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ได้โดยไม่รู้ตัว

3. มาโครไวรัส (Macro Virus)
เป็นอีกหนึ่งไวรัสคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่สามารถพบเจอได้ในการทำงาน โดยเฉพาะงานออฟฟิศที่ต้องยุ่งเกี่ยวกับโปรแกรมเอกสารต่าง ๆ โดยมาโครไวรัสจะแทรกตัวมาในไฟล์เอกสาร อาทิ Microsoft Word หรือ Microsoft Excel มีคุณสมบัติในการส่งคำสั่งมาโครสำหรับงานอัตโนมัติในไฟล์เอกสาร

4. ม้าโทรจัน (Trojan Horse)
แม้ว่าโทรจันจะไม่สามารถเรียกได้อย่างเต็มปากว่าไวรัสคอมพิวเตอร์ แต่ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อกวนและบ่อนทำลายการทำงานของคอมพิวเตอร์ไม่ต่างจากไวรัสประเภทอื่น ๆ โดยสรุป โทรจันคือชุดโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อหลอกล่อให้ผู้ใช้งานดาวน์โหลดและติดตั้ง โดยเชื่อว่าจะสามารถใช้งานได้ตามสรรพคุณที่โปรแกรมเมอร์ได้เขียนโฆษณาไว้

ทว่าหลังจากติดตั้งแล้ว โทรจันกลับเข้าไปทำลายหรือโจรกรรมข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดความเสียหายและความเจ็บใจที่ผู้ใช้งานเป็นคนชักศึกเข้าบ้านด้วยการถูกโทรจันหลอกให้ติดตั้งด้วยตัวเอง ไม่ต่างจากชาวเมืองทรอยที่ลากม้าโทรจันเข้าไปในกำแพงเมืองโดยชะล่าใจคิดว่าเป็นของที่ข้าศึกทิ้งไว้ กระทั่งตกดึกทหารข้าศึกที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้โทรจันก็ปีนป่ายออกมายึดเมืองทรอยจากด้านใน จนเป็นที่มาของชื่อโทรจันที่เป็นกึ่งไวรัสคอมพิวเตอร์ประเภทนี้

5. สเทลต์ไวรัส (Stealth Virus)
ไวรัสคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มีคุณสมบัติในการอำพรางตัวสมชื่อ ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ไฟล์ ๆ หนึ่งมีสเทลต์ไวรัสแฝงอยู่ ไฟล์นั้นจะไม่สามารถตรวจสอบขนาดไฟล์ที่แท้จริงได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะสเทลต์ไวรัสได้เข้าไปควบคุม DOS เบ็ดเสร็จเรียบร้อยแล้วทำให้ไฟล์ดูปกติเหมือนเดิมทุกอย่าง แต่ไม่สามารถดูขนาดไฟล์ได้ ทว่าแท้จริงแล้วไฟล์นั้นได้ถูกสเทลต์ไวรัสเข้าเล่นงานและอำพรางตัวอยู่คอยให้เราคลิกเข้าไปนั่นเอง

6. โพลีมอร์ฟิกไวรัส (Polymorphic Virus)
เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ที่สามารถควบคุมกำจัดได้ยากมาก เนื่องจากมีคุณสมบัติในการ copy ตัวเองจนแพร่กระจายได้มากขึ้นเป็นเท่าตัว หลายร้อยรูปแบบ โดยปัจจุบันมีไวรัสคอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติเช่นนี้จำนวนมาก ส่งผลให้การสแกนไวรัสเพียงลำพังวิธีการเดียวอาจไม่พอต่อการตรวจจับไวรัสประเภทนี้ทุกตัว จึงต้องใช้แอนตี้ไวรัสที่มีขีดความสามารถสูงและรอบด้านมากยิ่งขึ้น

7. ไฟล์ไวรัส (File Virus)
ไวรัสประเภทนี้เป็นหนึ่งในไวรัสที่พบได้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่นิยมดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีจากอินเตอร์เน็ต โดยไวรัสจะแฝงตัวมาในรูปของไฟล์ติดตั้งโปรแกรมซึ่งส่วนใหญ่จะมีสกุล .exe เพราะฉะนั้น จึงควรเช็คแหล่งที่มาของโปรแกรม ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ก่อนจะโหลดไฟล์โปรแกรมเหล่านั้น เพราะอาจเป็นการชักศึกเข้าบ้านด้วยการนำไวรัสมาปล่อยลงในคอมพิวเตอร์ของตนเองได้หากไม่ระวังการตรวจจับหรือสแกนไวรัส (Virus Scanner)

ไวรัสคอมพิวเตอร์นั้นสามารถแพร่กระจายได้ในทุกแพลตฟอร์มและมีลักษณะข้ามพรมแดน ไม่เกี่ยงสัญชาติหรือประเทศ เพียงแค่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนโลกก็ตกเป็นเป้าหมายของไวรัสคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อและเคลื่อนจากคอมพิวเตอร์ในประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ โปรแกรมตรวจจับไวรัสคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีการสแกน หรือ สแกนเนอร์ (Scanner) จึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการติดตั้งไว้ในคอมพิวเตอร์

โดยวิธีการทำงานของสแกนเนอร์จะดึงคุณสมบัติบางส่วนของไวรัสคอมพิวเตอร์เรียกว่า ไวรัสซิกเนเจอร์ (Virus Signature) หรือลายเซ็นลักษณะเฉพาะของไวรัส มาเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลเพื่อให้เมื่อแอนตี้ไวรัสทำงานจะสามารถส่งสแกนเนอร์เข้าตรวจจับไวรัสโดยตามร่องรอยซิกเนเจอร์ดังกล่าวในหน่วยความจำ และ Boot Sectors ไม่ต่างจากการใช้สุนัขดมกลิ่นนั่นเอง

โปรแกรมป้องกันไวรัสหรือแอนตี้ไวรัสนั้นมีอยู่มากมายหลายประเภท แต่ล้วนมีคุณสมบัติเหมือนกัน คือ การตรวจจับ (identify) ขัดขวางและกำจัดการทำงานของไวรัสคอมพิวเตอร์ ผ่านการใช้เทคนิค 2 ประการ คือ

การตรวจสอบไฟล์ต้องสงสัยว่ามีร่องรอยของไวรัสคอมพิวเตอร์ที่เก็บบันทึกไว้ในฐานข้อมูล Virus Dictionary หรือไม่

สแกนเพื่อตรวจจับความผิดปกติของโปรแกรม ไฟล์ หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล อาทิ ซีดีรอม Flash drive ว่ามีพฤติกรรมที่เข้าข่ายว่ามีไวรัสคอมพิวเตอร์แฝงฝังอยู่หรือไม่ เพื่อดำเนินกักเก็บและทำลายในที่สุด

ปัจจุบันมีแอนตี้ไวรัสจำนวนมากที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อต่อกรกับไวรัสคอมพิวเตอร์ทั้ง 7 ประเภทที่กล่าวถึงข้างต้น อย่างไรก็ตาม ไวรัสคอมพิวเตอร์ก็มีพัฒนาการที่น่ากลัวและทวีความร้ายแรงมากยิ่งขึ้น การติดตั้งแอนตี้ไวรัสที่มีประสิทธิภาพและศักยภาพรอบด้านจึงเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์ จึงควรเลือกแอนตี้ไวรัสที่มีความเหมาะสมและมีคุณสมบัติในการสแกนตรวจจับไวรัสคอมพิวเตอร์ได้ทุกชนิด และที่สำคัญคือต้องมีการอัพเดตฐานข้อมูลอย่างสม่ำเสมอจึงจะสามารถป้องกันภยันตรายจากไวรัสคอมพิวเตอร์ได้อย่างสมบูรณ์

10
อื่น ๆ / ประโยชน์ของ Firewall
« เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2020, 06:31:38 AM »

เชื่อว่าหลายๆ คนที่ใช้คอมพิวเตอร์อาจเคยได้ยินคำว่า "Firewall" กันมาบ้างแล้ว แต่ว่าเรามักไม่ได้ให้ความสำคัญกับมันมากนัก แต่รู้กันหรือไม่ว่า? Firewall สามารถป้องอันตรายจากโลกไซเบอร์โดยเฉพาะเหล่า Hacker ที่มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นในทุกๆ วัน ดังนั้นในบทความนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักกับ Firewall ให้มากขึ้น เพื่อเรียนรู้การป้องกันภัยจากโลกไซเบอร์ที่ใกล้ตัวเรากัน

Firewall คืออะไร?
ภายนอกแล้ว Firewall คือฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่ถูกใช้เพื่อป้องกันการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาตที่เข้ามายังเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของคุณ

พวกมันสามารถถูกนำมาใช้ทั้งสำหรับรายบุคคลและธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อคัดกรองข้อมูลเข้าและออกคอมพิวเตอร์ของคุณผ่านทางอินเตอร์เน็ต หากตัวกรอก Firewall ตรวจพบอะไรก็ตามที่น่าสงสัย มันจะปฏิเสธสิ่งนั้นไม่ให้เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของคุณและเครือข่ายส่วนตัว

Firewall ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับหยุดปริมาณการเข้าชมที่อันตรายหรือฉ้อโกงไม่ให้เข้าถึงเครือข่ายของคุณได้ พวกมันจะปิดกั้นโปรแกรมเฉพาะจากการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตหากกิจกรรมนั้นๆ ดูมีความเสี่ยงมากเกินไป

ในทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องการ Firewall เพื่อป้องกันข้อมูลความลับ แต่คำถามก็คือ Firewall เพียงอย่างเดียวก็มากเพียงพอที่จะป้องกันพีซีของคุณหรือเปล่า


Firewall สามารถป้องกันอะไรได้บ้าง?
Firewall ป้องกันเหล่าอาชญากรทางไซเบอร์ไม่ให้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ ปัญหาดังกล่าวนี้รวมถึงแต่ไม่จำกัด:

- การเข้าถึงประตูหลัง: ประตูหลังหมายถึงช่องโหว่ความปลอดภัยหรือข้อผิดพลาดที่เมื่อเกิดการหาผลประโยชน์ขึ้น มันจะอนุญาตให้ควบคุมโปรแกรมได้โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้กระทั่งระบบปฏิบัติการทั้งหมดอย่าง Windows ก็มีประตูหลังและแฮ็กเกอร์ที่มีประสบการณ์ก็รู้วิธีหาผลประโยชน์จากมัน

- การลักลอบเข้าสู่ระบบจากระยะไกล: เดสก์ท็อประยะไกลอนุญาตให้คุณเชื่อมต่อและควบคุมคอมพิวเตอร์ของคุณได้จากที่อื่นผ่านทางอินเตอร์เน็ต อย่างไรก็ตามแฮ็กเกอร์สามารถโจรกรรมการเข้าสู่ระบบ เข้าถึงอุปกรณ์และขโมยไฟล์ของคุณ

- การละเมิดทางอีเมล: การโจมตีประเภทนี้พุ่งเป้าไปที่รายบุคคลซึ่งผู้กระทำผิดจะส่งอีเมลนับพันทำให้กล่องจดหมายขาเข้าของเหยื่อตัน อีเมลสแปมก็เป็นที่นิยมและในขณะที่มันส่วนใหญ่จะสร้างความรำคาญให้ แต่บางอีเมลสแปมนั้นก็อาจมีไวรัสและมัลแวร์

- เส้นทางแหล่งที่มา: เมื่อแพ็กเกตข้อมูลเดินทางผ่านเครือข่ายออนไลน์ โดยปกติแล้วพวกมันจะต้อง ?ผ่านไปตาม? เส้นทางมากมายก่อนที่จะมาถึงจุดหมายปลายทาง แฮ็กเกอร์บางรายใช้ประโยชน์ของระบบนี้โดยการสร้างแพ็กข้อมูลที่น่าสงสัยที่ดูเหมือนว่ามาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ Firewall มากมายปิดใช้งานเส้นทางแหล่งที่มาด้วยเหตุผลนี้

ประโยชน์อื่นๆ ของการใช้ Firewall?
บางครั้งโปรแกรม Firewall ถูกนำมาใช้ในฐานะเซิร์ฟเวอร์พร็อกซี่ เมื่อใดก็ตามที่คุณเข้าถึงเว็บเพจ เซิร์ฟเวอร์พร็อกซี่จะได้รับข้อมูลก่อนที่จะส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์ของคุณ การตั้งค่านี้มีประโยชน์สองสามประการ ได้แก่:

- เซิร์ฟเวอร์ที่รับเว็บเพจไว้จะไม่โต้ตอบกับอุปกรณ์ของคุณโดยตรงซึ่งช่วยลดโอกาสหน้าเว็บอันตรายในการส่งไวรัสมาติดคอมพิวเตอร์ของคุณ

- ที่อยู่เครือข่ายออนไลน์ของคอมพิวเตอร์คุณจะถูกปิดบังเอาไว้

- เวอร์ชั่นของเว็บเพจจะถูกบันทึกไว้ในความจำแคชของเซิร์ฟเวอร์พร็อกซี่ซึ่งช่วยให้สามารถโหลดได้เร็วขึ้นเมื่อคุณกลับมาเยี่ยมชมหน้านี้อีกครั้งในอนาคต

นอกจากทำหน้าที่ในฐานะเซิร์ฟเวอร์พร็อซี่แล้ว Firewallบางครั้งก็มี DMZ (Demilitarized Zone หรือโซนที่ปลอดภัย) หรือเครือข่ายในขอบเขตที่มีไฟล์ที่มีความเสี่ยงต่ำและไคลเอนต์ที่อยู่นอก Firewall หลัก เนื่องจากฟีเจอร์นี้มักถูกใช้งานโดยบริษัทซะส่วนใหญ่ ดังนั้นผู้ใช้รายบุคคลจึงแทบไม่ต้องกังวลอะไรเกี่ยวกับมันเลย

11
อื่น ๆ / แบบจำลองเครือข่าย OSI Model
« เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2020, 06:52:03 AM »

OSI Model (Open Systems Interconnection Model) คือ รูปแบบความคิดที่พรรณาถึงคุณสมบัติพิเศษและมาตรฐานการทำงานภายในของระบบการสื่อสาร โดยการแบ่งการทำงานของระบบอินเทอร์เน็ตเป็นชั้นต่างๆ เพื่อให้การทำงานของระบบการสื่อสารนั้นเป็นไปอย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น OSI Model นั้นถูกออกแบบมาโดยองค์กร ISO (International Organization for Standardization) เพื่อเป็นมาตรฐานในการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลและคอมพิวเตอร์ เนื่องจากได้มีการแบ่งส่วนการทำงานต่างๆ ทำให้เข้าไปจัดการในส่วนของ Layers ชั้นต่างๆ ได้ถูกต้อง ซึ่ง Layers นั้นได้แบ่งทั้งหมด 7 Layers ซึ่งแต่ละ Layers ก็มีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันไป ดังนี้

Application Layer (แอพพลิเคชัน เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 7 ซึ่งเป็นชั้นที่อยู่ใกล้ผู้ใช้งานมากที่สุด โดยเป็นแอพพลิเคชันของ OSI มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ใช้ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชัน คอยรับส่งข้อมูลโดยตรงกับผู้ใช้และกำหนดกติกาอัลกอลิทึมว่าเป็นอย่างไร ให้ทำงานเรื่องอะไร

Presentation Layer (พรีเซนเท'เชิน) เป็น Layer ชั้นที่ 6 เป็นชั้นที่รับผิดชอบเรื่องรูปแบบของการแสดงผลเพื่อให้โปรแกรมทราบว่าข้อมูลที่ส่งมาผ่านเครือข่ายนั้น เป็นข้อมูลประเภทใด ซึ่งชั้นนี้ได้มีการเข้ารหัสเพื่อป้องกันการดักจับข้อมูลของผู้อื่น และให้ตัวเครื่องนั้นรับรู้ได้ว่ามีการส่งข้อมูลไปหา

Session Layer (เซสชัน เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 5 เป็นชั้นที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเซสชั่นของโปรแกรม ซึ่งเซสชั่นจะช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารของเว็บไซต์นั้นสามารถสื่อสารกันได้หลายหน้าต่าง จึงเป็นตัวที่คอยรับส่งข้อมูลไปยังเว็บไซต์ในหลายๆ หน้าต่าง

Transport Layer (แทรนซพอร์ท') เป็น Layer ชั้นที่ 4 เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ดูแลการจัดการเรื่องของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งการตรวจสอบความผิดพลาดนั้นจะพิจารณาจากข้อมูลที่เรียกว่า checksum และอาจจะมีการแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ โดยพิจารณาจากฝั่งต้นทางกับปลายทาง

Network Layer (เน็ตเวิรค เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 3 เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่จะรับ ? ส่ง ข้อมูลไปยังเส้นทางที่สะดวก มีระยะสั้น และรวดเร็วที่สุด เพื่อให้ผู้รับข้อมูลสามารถรับข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

Data Link Layer (ดาต้า ลิงค์ เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 2 เป็นชั้นที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนผู้ตรวจสอบ หรือควบคุมความผิดพลาดในข้อมูล โดยจะแบ่งการส่งข้อมูลที่ออกเป็นแพ็กเกจหรือเฟรม ถ้าผู้ได้รับข้อมูลถูกต้องก็จะส่งสัญญาณยืนยันกลับมาว่า ได้รับข้อมูลแล้ว เรียกว่า สัญญาณ ACK ให้กับผู้ส่ง แต่ถ้าผู้ส่งไม่ได้รับสัญญาณ ACK หรือได้รับสัญญาณ NAK กลับมา ผู้ส่งก็อาจจะทำการส่งข้อมูลไปให้ใหม่

Physical Layer (ฟิสซิเคิล เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 1 หรือเป็น Layer ชั้นล่างสุด ซึ่งทำหน้าที่รับส่งข้อมูลจากช่องทางการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ชั้นนี้จะกำหนดว่าแต่ละคอนเนคเตอร์ เช่น RS-232-C มีกี่พิน แต่ละพินทำหน้าที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลด์ เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่างๆ ก็จะถูกกำหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้ ซึ่งจะเป็นทั้งแบบที่ใช้สายหรือไม่ใช้สาย


ดังนั้นจะเห็นได้ว่า 7 Layers ของระบบอินเทอร์เน็ตก็ได้มีหน้าที่ที่แตกต่างกันไป ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้การติดต่อสื่อสารหรือการรับส่งข้อมูลต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้อย่างถูกต้อง ลดความผิดพลาดในการรับส่งต่างๆ และหากมีปัญหาตรงจุดใด ก็สามารถเข้าไปแก้ไขได้ง่ายและทำให้เราทราบปัญหาได้ง่ายขึ้นด้วยว่ามีปัญหามาจากจุดใด เนื่องจากได้มีการแบ่งการทำงานของอินเทอร์เน็ตออกเป็นชั้นต่างๆ แล้ว

12
อื่น ๆ / Thermometer กับ Thermal Imager
« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2020, 06:39:44 AM »

หลังจากสถานการณ์ COVID-19 ได้ทุเลาลงแล้ว ทำให้มีสถานที่และกิจการหลายๆ แห่งเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง แต่ว่าไวรัสก็ยังไม่ได้หายไปหมด ดังนั้นกิจการหลายๆ แห่ง จึงต้องมีการจัดเตรียมมาตราการป้องกันและเฝ้าระวังไวรัสโควิค 19 นี้อย่างต่อเนื่อง และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเฝ้าระวังไวรัสโควิค 19 นั้นก็คือ "เครื่องวัดอุณหภูมิ" ซึ่งเครื่องวัดอุณหภูมิที่ใช้กันนั้นจะมีด้วยกันอยู่ 2 ประเภท คือ Thermometer Infrared กับ Thermal Imager และในบทความนี้ จะมาบอกข้อดีและข้อเสียของเครื่องวัดอุณหภูมิทั้ง 2 ประเภท เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ในการเลือกซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิแก่ธุรกิจของทุกๆ ท่าน

Thermometer Infrared หรือที่เราเรียกกันว่า "ปืนวัดอุณหภูมิ" เป็นที่นิยมใช้งานกันมากที่สุดเพราะมีขนาดเครื่องเล็กกระทัดรัด พกพาง่าย เครื่องวัดอุณหภูมิโดยการเล็งเครื่องวัดให้ตรงไปยังวัตถุหรือสิ่งที่ต้องการวัด และเมื่อกดปุ่มยิงเครื่องก็จะทำการวัดอุณหภูมิ แล้วแสดงผลค่าอุณหภูมิที่วัดได้ขึ้นมาบนหน้าจอ การวัดอุณหภูมิด้วยวิธีนี้มีความแม่นยำสูง แต่ว่าในการวัดอุณหภูมิต้องเว้นระยะห่างในการวัดอย่างน้อย 10-15 เซนติเมตร และเครื่องสามารถวัดอุณหภูมิได้เพียงแค่ครั้งละ 1 คน

Thermal Imager เป็นเครื่องวัดอุณหภูมิในรูปแบบ ?กล้องถ่ายภาพความร้อน? โดยกล้องจะเป็นกล้องแบบพิเศษสามาถแสดงผลภาพแบบการแผ่รังสีความร้อน เซ็นเซอร์ของเครื่องจะจับและวัดค่าอุณหภูมิจากภาพของกล้อง โดยจะจับเฉพาะจุดที่มีความร้อนสูงที่สุด และนำค่าที่จับได้แสดงผลออกมา ข้อดีของเครื่องวัดตัวนี้คือไม่ต้องใช้คนในการวัด เพียงแค่ตั้งเครื่องก็สามารถใช้งานได้เลย และมีระยะห่างในการวัดอุณหภูมิมากกว่าปืนวัดอุณหภูมิ เครื่องบางรุ่นมีฟังก์ชั่นร้องแจ้งเตือนอัตโนมัติและบันทึกที่จับอุณหภูมิสูงได้ด้วย

สรุปข้อดี-ข้อเสีย Thermometer Infrared
-  ความแม่นยำในการวัดอุณหภูมิค่อนข้างสูง
-  ขนาดเล็กน้ำหนักเบาพกพาไปไหนได้สะดวก
-  ราคาถูกกว่าเครื่องวัดแบบกล้องวัดอุณหภูมิ
-  เหมาะกับการใช้งานในทุกสถานที่
-  วัดอุณหภูมิได้ทีละหนึ่งคนดังนั้นผู้รับการตรวจต้องรอคิว
-  ถ้าสถานที่ใดมีคนเข้าออกเป็นจำนวนมาก ก็ต้องใช้บุคลากรในการตรวจวัดอุณหภูมิมากเช่นกัน
-  ฟังก์ชั่นการตั้งค่าเครื่องวัดไม่ค่อยหลากหลาย
-  มีข้อจำกัดเรื่องระยะห่างในการวัดอุณหภูมิ

สรุปข้อดี-ข้อเสีย Thermal Imager
-  มีระยะห่างการวัดอุณหภูมิที่ไกลกว่า
-  ไม่ต้องต่อแถวรอคิวในการตรวจวัดอุณหภูมิ
-  ไม่จำเป็นต้องใช้คนมาคอยยิงวัดอุณหภูมิ
-  เหมาะกับการใช้งานในสถานที่ ที่มีคนเข้าออกจำนวนมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า, ร้านค้า, ร้านอาหาร, โรงหนัง, โรงพยาบาล, ฯลฯ
-  ความแม่นยำในการวัดอาจคลาดเคลื่อนกว่าเล็กน้อย
-  จุดทีตั้งเครื่องตรวจวัดต้องไม่มีวัตถุอื่นที่มีความร้อน เพราะอาจทำให้เซ็นเซอร์จับอุณหภูมิเฉพาะสิ่งนั้น
กล้องวัดอุณหภูมิมีราคาเริ่มต้นที่สูงกว่า และยิ่งมีฟังก์ชั่นมากราคาก็ยิ่งเพิ่ม

13
อื่น ๆ / ค่า Lux ของกล้องวงจรปิด คืออะไร
« เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2020, 07:42:46 AM »


หลาย ๆ ท่านที่กำลังหาความรู้หรือหาข้อมูลก่อนที่จะติดตั้งกล้องวงจรปิด คงจะเคยเห็นคำว่า LUX ผ่านๆ ตากันมาบ้างแล้ว แต่บางท่านก็ยังไม่ทราบว่า LUX นี้คืออะไร เกี่ยวข้องกับกล้องวงจรปิดยังไง ขอบอกได้เลยครับว่า LUX หรือการกินแสงสว่างของกล้องวงจรปิดนั้น มีผลความไวแสง, สีของวัตถุต่างๆ หรือการมองเห็นในที่มืดได้

ค่า LUX คือค่าความสว่างแสง หรือการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์ มองเห็น ซึ่งกล้องวงจรปิดยิ่งมีค่า LUX ต่ำ ก็จะสามารถใช้งานในสถานที่ที่มีความสว่างน้อย ๆ หรือที่มืด ได้ดียิ่งขึ้น


ตารางแสดงค่าความสว่างโดยประมาณของค่า Lux

คำว่ากินแสงสว่าง 1 LUX ก็คือถ้าจะมองเห็นวัตถุในตอนกลางคืน หรือที่มีแสงน้อยๆ จะต้องมีแสง อย่างน้อย 1 LUX ถึงจะมองเห็นภาพได้ดี ดังนั้นจะเห็นว่ากล้องวงจรปิดรุ่นไหนที่มีค่า LUX ต่ำๆ เช่น 0.1 LUX ก็จะทำให้เราสามารถเห็นภาพที่มีรายละเอียดชัดเจน ในที่มืดหรือแสงน้อยๆ

ดังนั้นแสงภายในอาคารหากไม่ได้เปิดไฟค่า Lux 0 กล้อง Day/Night บางรุ่นจะรับภาพไม่ได้ หรือรับได้ไม่ดี ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนมาใช้กล้องอินฟาเรดแทน

เทคโนโลยี Ultra-Low Light
เทคโนโลยี Ultra-Low Light คือเทคโนโลยีที่ทำให้กล้องวงจรปิดสามารถมองเห็นสีได้ในที่มืด โดยกล้องวงจรปิดประเภทนี้จะมีค่า Lux ที่ต่ำอยู่ที่ 0.1 หรือระดับกลางคืนจันทร์เต็มดวง ทำให้กล้องมีความคมชัดที่สูง และมีความไวแสงมากพอที่จะประมวลผลออกมาเป็นภาพสีได้


ภาพเปรียบเทียบกล้องวงจรปิด Day/Night กับ Ultra-Low Light

14
อื่น ๆ / ประโยชน์ของ Ultra-Low Light ในกล้องวงจรปิด
« เมื่อ: มิถุนายน 29, 2020, 06:40:17 AM »

เทคโนโลยี Ultra-Low Light เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้กล้องวงจรปิดสามารถจับภาพได้ดีที่สุด ในทุกสภาพแสงโดยเฉพาะในเวลากลางคืน ภาพกลางคืนที่ได้จากกล้องวงจรปิดโดยปกติจะเป็นภาพขาว-ดำ แต่ด้วยเทคโนโลยี Ultra-Low Light ทำให้แสดงผลภาพออกมาเป็นภาพสีได้ โดยอาศัยหลักการความไหวแสงของฟิลม์ ซึ่งแบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังต่อไปนี้

1. ฟิล์มความไวแสงต่ำ (Low Speed Film) เช่น ฟิล์ม 25 ASA - 50 ASA เหมาะถ่ายภาพทิวทัศน์ /ชายทะเล/หิมะขาวโพลนในแดดจ้า เหมาะกับภาพต้องการใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้ามาก ๆ หรือเพื่อให้ได้ภาพที่มีการ เคลื่อนไหวลักษณะพร่ามัว โดยแสงไม่มากเกินไป

2. ฟิล์มไวแสงปานกลาง (Medium Speed Film) ไวแสงปานกลาง คือระหว่าง 64 ASA-160 ASA ใช้ถ่ายภาพแสงสว่างธรรมดา (มีขายตามท้องตลาด ทั่วไป) และถ่ายภาพวัตถุที่อยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหวช้า ๆ ใช้ถ่ายภาพ ทั่วไป (รู้จักกันทั่วไปคือ 100 ASA)

3. ฟิล์มความไวแสงสูง (High or Fast Speed Film) เป็นฟิล์มถ่ายภาพแสงน้อย เหมาะถ่ายภาพ ในอาคารและนอกอาคาร สามารถเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง ๆ ถ่ายภาพเคลื่อนไหวให้นิ่งสนิทได้ เช่น ภาพกีฬา จะอยู่ระหว่าง 160 ASA-400 ASA (ตามท้องตลาดจะมี 200 ASA) นอกจากนี้ ยังสามารถหรี่รูรับแสงให้แคบ ๆ เพื่อช่วยให้ภาพถ่ายมีช่วงระยะความคมชัดลึกมากขึ้น (depth of field)

4. ฟิล์มความไวแสงสูงพิเศษ (Ultra Fast Speed Film) เหมาะกับภาพที่แสงน้อย ๆ ถ่ายภาพในเวลา กลางคืนไม่ใช้แฟลช ต้องการแสดงรายละเอียดของวัตถุที่เคลื่อนที่เร็ว ๆ ให้หยุดนิ่ง โดยการใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงมาก ๆ หรือถ่ายภาพแสงเทียนในงานวันเกิด ฟิล์มมีความไวแสงระหว่าง 1000 ASA ถึง 2000 ASA หรือมากกว่าเป็นต้น

กล้องวงจรปิด Ultra-Low Light

เป็นกล้องวงจรปิดที่มีเซ็นเซอร์ความไวสูงพิเศษซึ่งสามารถบันทึกภาพในระดับแสงได้ถึง 0.01 ลักซ์ซึ่งแตกต่างจากกล้องวงจรปิดส่วนใหญ่ที่มีไว้สำหรับใช้ในเวลากลางคืน กล้องวงจรปิดนี้อาศัยเฉพาะเพียงเซ็นเซอร์เท่านั้น

กล้องวงจรปิดประเภทนี้มีความสามารถในการมองเห็นในที่มืด แตกต่างจากกล้องวงจรปิดส่วนใหญ่ที่มีไว้สำหรับใช้ในเวลากลางคืน กล้องวงจรปิดประเภทนี้อาศัยเฉพาะเซ็นเซอร์เท่านั้น มันไม่ส่องพื้นที่ด้วยแสง IR สิ่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในแอปพลิเคชันทางดาราศาสตร์ เนื่องจากอาจรบกวนภาพ เมื่อจำเป็นต้องทำงานที่ระดับแสงต่ำมากกล้องจะเปลี่ยนเป็นการทำงานแบบโมโน


เปรียบเทียบภาพกล้องวงจรปิดแบบธรรมดากับกล้องวงจรปิดแบบ Ultra-Low-Light

15
คอมพิวเตอร์ / Thermal Imager คืออะไร
« เมื่อ: มิถุนายน 22, 2020, 07:26:09 AM »

Thermal Imager หรือ Thermal Imaging Camera เป็นเครื่องมือวัดอุณหภูมิที่ผิวของวัตถุ ทำงานโดยอาศัยหลักการแผ่รังสีอินฟราเรด (infrared radiation) ออกจากวัตถุ ซึ่งเป็นการวัดแบบไม่สัมผัสและไม่ทำลายวัตถุ และเป็นการวัดอุณหภูมิแบบพื้นที่ มีส่วนประกอบสำคัญประกอบด้วย เลนส์ (lens) ตัวตรวจจับรังสีอินฟราเรด (infrared detector) หรือเซนเซอร์ชนิดอินฟราเรด (Infrared sensor) วงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic circuit) และส่วนแสดงผล (display)

ดังนั้น Thermal Imager คือกล้องถ่ายภาพความร้อนโดยอาศัยหลักการ การแผ่รังสีอินฟราเรดจากวัตถุในการวัดอุณหภูมินั้นเอง

หลักการทำงานของกล้องถ่ายความร้อน Thermal Imager
หลักการทำงานของกล้องถ่ายความร้อน จะมีขั้นตอนเริ่มจาก ตัวตรวจจับรังสีอินฟราเรดรับรังสีอินฟราเรด (infrared) ที่แผ่ออกจากวัตถุเป้าหมาย (target) ผ่านเลนส์ของเครื่องมือวัด (instrument) แล้วแปลงรังสีอินฟราเรดเหล่านี้ให้อยู่ในรูปของสัญญาณทางไฟฟ้า โดยรังสีอินฟาเรดที่ตัวตรวจจับรับไปนั้นประกอบด้วยรังสีที่วัตถุเป้าหมายแผ่ออกมารวมกับรังสีที่แผ่จากวัตถุอื่นหรือจากสิ่งแวดล้อมสะท้อนออกจากผิวของวัตถุเป้าหมาย (ตามทฤษฎีการแผ่รังสีความร้อน:Theory of thermal radiation) จากนั้นวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่รับมาจากตัวตรวจจับและนำ ไปแสดงที่ตัวแสดงผล ซึ่งอาจแสดงผลออกมาในรูปแบบของตัวเลข สี หรือกราฟ หรือทั้ง 3 รูปแบบ


หลักการทำงานของกล้องถ่ายความร้อน

ประโยชน์ของกล้องถ่ายความร้อน (Thermal Imager)
กล้องถ่ายภาพความร้อนกำลังกลายเป็นที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรม ซึ่งถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบอาคารว่ามีประสิทธิภาพตรงกับสเปค, ใช้ตรวจว่าฉนวนถูกติดตั้งในสภาพที่ดี, หาตำแหน่งอากาศรั่วไหล, ตรวจสอบการออกแบบโครงสร้างและหาตำแหน่งที่มีความชื้นซึมออกมา ยังมีการใช้งานนอกเหนือจากนี้อีกซึ่งขึ้นอยู่กับการประยุกต์ของผู้ใช้เท่านั้น โดยทั่วไปในปัจจุบันได้นำมาใช้ในการเพื่อหาสภาพต่างๆ เช่นการเสื่อมของฉนวนในบ้าน หรือวงจรไฟฟ้าที่โอเวอร์โหลด ตัวอย่างอื่นๆ มีดังต่อไปนี้

- การตรวจสอบสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อย
- การตรวจสอบความร้อนที่สูญเสียในอาคาร
- การหาตำแหน่งของสายไฟหรือท่อที่มีความร้อน
- การหาตำแหน่งที่เชื้อราเติบโต
- การหาตำแหน่งที่หลังคาอาคารรั่ว
- การหารูปแบบการกระจายความร้อนของท่อไอน้ำ
- การตรวจสอบแบริ่ง
- การตรวจสอบการรั่วของฉนวนในอุปกรณ์ทำความเย็น


การประยุกต์ใช้งานกล้องถ่ายความร้อน (Thermal Imager) ในอุตสาหกรรม

ไม่เพียงเท่านั้นในสถาณการณ์ที่ไวรัส COVID-19 กำลังระบาด กล้องถ่ายความร้อนยังถูกนำมาใช้ในฐานะอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อคัดแยกกลุ่มคนผู้มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัส COVID-19 นี่ด้วย เพราะการวัดอุณหภูมิด้วยภาพถ่ายความร้อน ไม่จำเป็นต้องเข้าไปใกล้ชิดเพื่อวัดอุณหภูมิเหมือนกับปืนวัดอุณหภูมิ และไม่จำเป็นต้องเข้าไปไล่ยิงวัดอุณหภูมิทีละคนด้วย ทำให้การคัดกรองผู้คนได้อย่างรวดเร็ว

หน้า: [1] 2 3