รับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

ลงประกาศฟรี => อื่น ๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: itroom0016 ที่ กรกฎาคม 08, 2018, 04:58:36 AM

หัวข้อ: โรคหัวใจ (Heart Disease)
เริ่มหัวข้อโดย: itroom0016 ที่ กรกฎาคม 08, 2018, 04:58:36 AM
โรคหัวใจ (http://www.chularat.com/service_detail.php?lang=th&gid=3&id=11) (Heart Disease) หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยโรคหัวใจ (http://www.chularat.com/service_detail.php?lang=th&gid=3&id=11)สามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น
[img width=600,height=400]https://i0.wp.com/www.108news.net/wp-content/uploads/2018/07/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88.jpg[/img]
 
จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในช่วงปี พ.ศ. 2555-2558 อัตราผู้ป่วยโรคหัวใจในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปีพ.ศง 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด (http://www.chularat.com/service_detail.php?lang=th&gid=3&id=11)จำนวน 58,681 คน หรือโดยเฉลี่ยถึงชั่วโมงละ 7 คน และยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
ทั้งนี้สาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นมักเกิดจากปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่สามารถป้องกันได้ เช่น การสูบหรือสูดดมควันบุหรี่ การรับประทานอาหารบางประเภท เช่น อาหารไขมันสูง อาหารหวาน และอาหารเค็มที่ควรหลีกเลี่ยง นอกจากนี้ยังควรควบคุมน้ำหนัก รวมถึงหมั่นตรวจสุขภาพวัดระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ
อาการของโรคหัวใจ
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน ทำให้โรคหัวใจมีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิด
สาเหตุของโรคหัวใจ
เช่นเดียวกันกับอาการ สาเหตุของโรคหัวใจแต่ละชนิดมีที่มาต่างกัน ดังนี้
การวินิจฉัยโรคหัวใจ
แพทย์มักเริ่มด้วยการตรวจร่างกายเบื้องต้น สอบถามอาการ ประวัติการเจ็บป่วย รวมถึงบุคคลในครอบครัวที่เคยป่วยเป็นโรคหัวใจ จากนั้นจึงพิจารณาความเป็นไปได้แล้วเลือกวิธีวินิจฉัยขั้นต่อไป ซึ่งอาจเป็นการตรวจเลือด เอกซเรย์หน้าอก ตรวจหัวใจด้วยเครื่อง CT Scan หรือ MRI ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจบันทึกการทำงานของหัวใจ หรือตรวจด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
การรักษาโรคหัวใจ
การรักษาโรคหัวใจ (http://www.chularat.com/service_detail.php?lang=th&gid=3&id=11)จะรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบและรักษาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็นในขณะนั้น เช่น การทำหัตถการสวนหัวใจ การผ่าตัดหัวใจ ร่วมกับการใช้ยารักษา รวมถึงการให้คำแนะนำในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ ความเครียด และเพิ่มการออกกำลังกาย การปรับพฤติกรรมการบริโภคโดยแนะนำให้ลดอาการเค็ม อาหารหวาน และอาหารที่มีไขมันสูง
ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจ
โรคหัวใจชนิดต่าง ๆ อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่แตกต่างกัน ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุด คือ หัวใจล้มเหลว เกิดขึ้นได้จากโรคหัวใจทุกชนิด ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อาจขึ้นอยู่กับโรคหัวใจที่ผู้ป่วยเป็นด้วย เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ส่วนกลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจอาจตามมาด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดในสมองขาดเลือด โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ และโรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้สามารถนำไปสู่การเสียชีวิตอย่างฉับพลันได้
การป้องกันโรคหัวใจ
การป้องกันโรคหัวใจด้วยตนเองทำได้โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหมั่นตรวจร่างกายเพื่อควบคุมระดับความดันและไขมันในเลือดเป็นประจำ การรับประทานอาหารและออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญ ควรเน้นผัก ผลไม้ ธัญพืช ลดปริมาณไขมัน โซเดียม และน้ำตาลให้น้อย หมั่นออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก หยุดสูบบุหรี่ นอกจากนี้ ความเศร้าและความเครียดก็อาจเป็นปัจจัยการเกิดโรคหัวใจได้ จึงควรพยายามผ่อนคลายให้มาก รวมทั้งรักษาสุขอนามัยให้ถูกต้องอยู่เสมอเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ

เครดิต : https://www.108news.net/news/2103[/color]