รับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

ลงประกาศฟรี => อื่น ๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: แสงจันทร์5555 ที่ มิถุนายน 01, 2018, 04:18:02 AM

หัวข้อ: โรคสะเก็ดเงินมีวิธีรักษาอย่างไร เเละมีสมุนไพรอะไรที่สามารถช่วยรักษาได้บ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: แสงจันทร์5555 ที่ มิถุนายน 01, 2018, 04:18:02 AM
(https://www.picz.in.th/images/2018/04/28/YC2F1b.jpg)
โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
รคสะเก็ดเงิน (http://www.disthai.com/16884413/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99-psoriasis) คืออะไร โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) โรคเกล็ดเงิน หรือโรคเรื้อนกวาง เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อและไม่ใช่โรคติดต่อ รอยโรคมีลักษณะขึ้นเป็นผื่นหรือปื้นแดง หนา เจ็บ คัน และตกสะเก็ดเป็นเกล็ดสีเงินปกคลุม จึงได้ชื่อว่าโรคสะเก็ดเงิน โดยเกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ผิวหนังอย่างรวดเร็วกว่าปกติโดยการกระตุ้นของสารเคมีจากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า ลิมโฟไซต์ (Lymphocytes) ชนิดเซลล์ที (T-cell) ทำให้เกิดการอักเสบจนเกิดเป็นผื่นหรือปื้นหนาขนาดใหญ่ และโรคสะเก็ดเงินนี้สามารถเกิดกับผิวหนังได้ทุกส่วน แต่ที่พบได้บ่อยคือ ผิวหนังส่วนข้อศอก (ด้านนอก) เข่า (ด้านนอก) ผิวหนังส่วนด้านหลัง หลังมือ หลังเท้า หนังศีรษะ และใบหน้า โรคสะเก็ดเงินจัดเป็นโรคผิวหนังที่พบได้เรื่อยๆไม่ถึงกับบ่อยมาก(ประมาณ 3% ของคนทั่วไปเกิดได้ในทุกอายุตั้ง แต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ แต่พบได้บ่อยกว่าเมื่ออายุ 25 ปีขึ้นไป เพราะปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคในเด็กยังมีไม่มาก เช่น ความเครียด การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ส่วนโอกาสที่พบในผู้หญิงและในผู้ชายมีใกล้เคียงกัน ผู้ป่วยมักจะเริ่มมีอาการครั้งแรกในช่วงอายุ 10-40 ปี ผู้ป่วยประมาณ 30% พบว่ามีประวัติโรคนี้ในครอบครัว
ในปัจจุบัน โรคสะเก็ดเงินไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะทางผิวหนัง แต่อาจพบมีสัมพันธ์กับโรคอื่นๆได้แก่  โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน และกลุ่ม metabolic syndrome ได้แก่   โรคอ้วน   
                     ที่มา : Wikipedia                       ภาวะไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน เป็นต้น
สาเหตุของโรคสะเก็ดเงิน ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคสะเก็ดเงิน แต่จากการศึกษาเชื่อว่า เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกันเช่น อาจเกิดมาจากเซลล์เม็ดเลือดขาวในระบบภูมิคุ้มกันเกิดความผิดปกติ จึงได้ทำลายเซลล์ผิวหนังแทนสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย หรืออาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางพันธุกรรม คือ โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคทางพันธุกรรม ที่มีแบบแผนการถ่ายทอดทางพันธุกรรมไม่ชัดเจน โดยพบว่าถ้าบิดาและมารดาเป็นโรคนี้ บุตรที่เกิดมาจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้สูงถึง 65-83% ถ้าบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งเป็นโรค บุตรที่เกิดมาจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ลดลงเหลือ 28-50% หรือถ้ามีพี่น้องในครอบครัวเป็นโรคนี้โดยที่บิดาและมารดาไม่ได้เป็นโรค บุตรคนถัดไปที่เกิดมาก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้สูงถึง 24% แต่ถ้าทั้งบิดาและมารดาไม่เป็นโรคนี้เลย บุตรที่เกิดมาจะมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อยลงไปเหลือเพียง 4%  และยังพบว่ายังเกี่ยวข้องกับความผิดปกติอื่นๆ เช่น ความผิดปกติใน metabolism ของ Arachidonic acid และความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของผิวหนัง บริเวณรอยโรคของ Psoriasis เซลล์ผิวหนังในชั้น epidermis มีการแบ่งตัวเร็วกว่าปกติหลายเท่า และเคลื่อนตัวมาที่ผิวนอกภายในเวลา 4วัน (ปกติใช้เวลา 28วัน) ทำให้ผิวหนังหนาเป็นปื้น แต่เซลล์ผิวหนังขาดแรงยึดเหนี่ยวกันตามปกติ ทำให้ keratin หลุดลอกออกเป็นแผ่นๆได้ง่าย มักพบมีอาการกำเริบเวลามีภาวะเครียดทางกาย และจิตใจที่มากเกินไป การติดเชื้อ การได้รับบาดเจ็บ การขูดข่วนผิวหนัง การแพ้แดด การแพ้ยา (เช่น Chloroquin, Beta-Blocker, Contraceptive, NSAIDs)
อาการของโรคสะเก็ดเงิน  อาการของโรคสะเก็ดเงินนี้มีหลายชนิด ซึ่งผู้ป่วยอาจเป็นชนิดเดียวหรือหลายชนิดก็ได้ โดยโรคสะเก็ดเงินจำแนกเป็นชนิดต่างๆตามลักษณะทางคลินิกดังต่อไปนี้

แนวทางการรักษาโรคสะเก็ดเงิน การวินิจฉัย อาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเป็นหลัก คือ

ลักษณะทางคลินิก

ซักประวัติอาการ




การตรวจร่างกาย







โดยผื่นผิวหนังพบได้หลายลักษณะ เช่น ผื่นหนาเฉพาะที่  (Chronic plaque type) ผื่นขนาดหยดน้ำ (Guttate psoriasis)  ผิวหนังแดงลอกทั่วตัว (Erythroderma) ตุ่มหนอง (Pustular psoriasis)


การตรวจทางห้องปฏิบัติการ





โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาได้หายขาด แต่การรักษาทำได้เพียงบรรเทาอาการให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น ลดการอักเสบและผิวหนังที่ตกสะเก็ด ชะลอการเติบโตของเซลล์ผิวหนัง และขจัดผิวหนังที่เป็นแผ่นแข็ง ซึ่งการรักษาสามารถทำได้หลายวิธี
โดยแนวทางการรักษาโรคสะเก็ดเงิน ขึ้นกับความรุนแรงของโรคดังนี้
     - สะเก็ดเงินความรุนแรงน้อย หมายถึง ผื่นน้อยกว่า10% ของพื้นที่ผิวทั่วร่างกาย (ผื่นขนาดประมาณ 1 ฝ่ามือเท่ากับพื้นที่ประมาณ1%) ให้การรักษาโดยใช้ยาทาเป็นอันดับแรก
     - สะเก็ดเงินความรุนแรงมากหมายถึง ผื่นมากกว่า10% ของพื้นที่ผิวทั่วร่างกาย พิจารณาให้การรักษาโดยใช้ยารับประทานหรือฉายแสงอาทิตย์เทียม หรืออาจใช้ร่วมกันระหว่างยารับประทานหรือฉายแสงอาทิตย์เทียมและยาทารวมถึงอาจต้องพิจารณาใช้ยาฉีด
การรักษาโรคสะเก็ดเงินในปัจจุบันมีการรักษาอยู่ 4 ประเภท ได้แก่
ยาทาภายนอก ยาทารักษาโรคสะเก็ดเงิน มีหลายชนิด ได้แก่
     1.ยาทาคอติโคสเตียรอยด์ (topical corticosteroids) ส่วนใหญ่นิยมใช้เนื่องจากเป็นครีมขาวใช้ง่าย และตอบสนองต่อการรักษาดีแต่หากใช้ยาที่แรงเกินไปร่วมกับทาเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดผิวหนังบางและเกิดรอยแตกของผิวหนังได้ รวมถึงอาจเกิดการดื้อยาและอาจกดการทำงานของต่อมหมวกไตได้

ยารับประทานรักษาโรคสะเก็ดเงิน พิจารณาให้กรณีสะเก็ดเงินรุนแรงปานกลางถึงมาก ที่ใช้บ่อยในประเทศไทยมี 3 ชนิด

การฉายแสงอาทิตย์เทียม (Phototherapy)
     เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีในการรักษาสะเก็ดเงิน โดยจะใช้รังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งปัจจุบันที่ใช้ในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน (http://www.disthai.com/16884413/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99-psoriasis)มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ รังสีอัลตราไวโอเลต A (320-400nm) และรังสีอัลตราไวโอเลต B (290-320nm) ซึ่งผู้ป่วยต้องมารับการรักษา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน โดยจะให้ผลดีประมาณ 70 - 80% ขึ้นไป พบผลข้างเคียงน้อย  ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคันและแดงบริเวณผิวหนังที่ฉายแสงหลังทำการรักษา ข้อดีคือส่วนใหญ่การกลับเป็นซ้ำของโรคจะน้อยกว่าการรักษาโดยใช้ยาทาหรือยารับประทาน
ยาฉีดกลุ่มชีวภาพ (Biological agents)
     เป็นยาใหม่ที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อยู่ในรูปยาฉีดเข้าเส้นหรือเข้าใต้ชั้นไขมัน ซึ่งยาบางชนิดฉีดสัปดาห์ละ  2 ครั้ง บางชนิดอาจฉีดห่างกันทุก 3 เดือน ซึ่งยาฉีดประเภทที่กล่าวมานี้ เช่น อะเลฟเซ็บ (Alefacept) อีทาเนอร์เซ็บ (Etanercept) อีฟาลิซูแม็บ (Efalizumab) อินฟลิกซิแมบ (Infliximab)  ข้อเสียคือ ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่เนื่องจากยาในกลุ่มนี้เป็นยาใหม่ จึงต้องติดตามผลข้างเคียงระยะยาว นอกจากการรักษาข้างต้นที่กล่าวมาแล้วนั้น การให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน การเข้าใจความจริงที่ว่าสะเก็ดเงินเป็นโรคไม่ติดต่อ ผู้ป่วยจะไม่ถูกรังเกียจจากคนรอบข้าง ญาติและคนใกล้ชิดควรเข้าใจและให้กำลังใจผู้ป่วย
ปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคสะเก็ดเงิน

การติดต่อของโรคสะเก็ดเงิน เนื่องจากโรคสะเก็ดเงินเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่นอนแต่เชื่อกันว่าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น พันธุกรรม ภูมิต้านทาน/ภูมิคุ้มกัน ที่ผิดปกติ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ที่ทำให้เกิดโรคสะเก็ดเงินขึ้นมาและโรคสะเก็ดเงินไม่ใช่โรคติดต่อ ดังนั้นคนที่สัมผัสคนเป็นโรคสะเก็ดเงินหรือผิวหนังส่วนเกิดโรคหรือแม้แต่สะเก็ดของผิวหนังส่วนเกิดโรคจึงไม่เกิดเป็นโรคสะเก็ดเงินแต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่มีรายงานว่าโรคสะเก็ดเงินมีการติดต่อจากคนสู่คนหรือจากสัตว์สู่คน
การปฏิบัติตนเมื่อป่วยเป็นโรคสะเก็ดเงิน

การป้องกันตนเองจากโรคสะเก็ดเงิน เนื่องจากโรคสะเก็ดเงินยังไม่พบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัดดังนั้น การป้องกันโรคจึงยังไม่สามารถทำได้เต็มประสิทธิภาพ แต่ทางที่ดีที่สุดในการป้องกันโรค คือ ต้องพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นของการเกิดโรค เช่น พยายามหลีกเลี่ยงความเครียดในชีวิตประจำวันให้มากที่สุด การรับประทานยาบางชนิดควรมีการปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา เช่น ยาลิเทียม ยาต่อต้านมาลาเรีย (Chlroquine)  ยาลดความดันโลหิต (Bota-Blocker) ยาในกลุ่มลดการอักเสบ (NSAIDs) พยายามดูแลผิวหนังไม่ให้บาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมภายนอก หากเกิดอาการผิดปกติบริเวณผิวหนังควรมีการพบแพทย์โดยด่วน
สมุนไพรที่ช่วยป้องกัน/รักษาโรคสะเก็ดเงิน
มีรายงานการศึกษาวิจัยในปัจจุบัน สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินในคนยังมีการศึกษาไม่มาก สมุนไพรที่มีการวิจัยในคนของโรคสะเก็ดเงิน ได้แก่ ว่านหางจระเข้ โดยทดสอบในผู้ที่เป็นโรคเรื้อนกวาง 60 คน ใช้สารสกัดว่านหางจระเข้ (0.5%) ในรูปครีมทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 ครั้ง นาน 16 สัปดาห์ และติดตามผลทุกเดือนอีก 12 เดือน พบว่าสารสกัดว่านหางจระเข้สามารถรักษาโรคเรื้อนกวางได้ 83.3% เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอกที่รักษาได้เพียง 6.6% นอกจากนี้มีตำรับยาทาที่มีส่วนประกอบคือ dimethicone 6 ออนซ์ cyclomethicone 2 ออนซ์ mineral oil 7.5 ซีซี. เจลว่านหางจระเข้ 7.5 ซีซี. วิตามินอี 7.5 ซีซี. วิตามินเอ 3.75 ซีซี. สังกะสี 3.75 ซีซี. และน้ำ 0.625 ซีซี. ว่าสามารถรักษาโรคสะเก็ดเงินได้  และสารสกัดน้ำจากบัวบก สามารถต้านการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังชั้น keratin ที่ทดสอบในหลอดทดลองซึ่งในโรคเรื้อนกวางเป็นโรคที่มีการแบ่งตัวของผิวหนังชั้น keratin ที่เร็วกว่าปกติ ซึ่งผู้วิจัยคิดว่าบัวบกมีศักยภาพในการนำมาพัฒนาเป็นยาทาภายนอก
ว่านหางจระเข้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe vera (L.) Burm.f. จัดอยู่ในวงศ์ XANTHORRHOEACEAE และอยู่ในวงศ์ย่อย ASPHODELOIDEAE
(https://www.img.in.th/images/cfdd4efa911d8bf64436ce1c31753e1b.jpg)
สรรพคุณของว่านหางจระเข้

บัวบก ชื่อสามัญ Gotu kola ชื่อวิทยาศาสตร์ Centella asiatica (L.) Urb. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)
สรรพคุณของใบบัวบก

เอกสารอ้างอิง