รับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

ลงประกาศฟรี => อื่น ๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: bilbill2255 ที่ พฤษภาคม 22, 2018, 07:49:04 AM

หัวข้อ: โรคพิษสุนักบ้า มีวิธีป้องกันเเละรักษาได้อย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: bilbill2255 ที่ พฤษภาคม 22, 2018, 07:49:04 AM
(https://www.img.in.th/images/87392bf4299e8f7b29962ef66c013337.jpg)
โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies , Hidrophobia)
โรคพิษสุนัข (http://www.disthai.com/16880632/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2-rabies-hidrophobia) คืออะไร  “โรคพิษสุนัขบ้า” “โรคกลัวน้ำ” หรือ “โรคหมาว้อ” (ในภาษาอีสาน) เป็นโรคติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลางที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน (ZOONSIS) ที่มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ผู้ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะเสียชีวิตเกือบทุกราย เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ในการรักษา โดยผู้ป่วยทุกรายที่มีอาการแสดงมักจะเสียชีวิตภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน และในอดีต จะมีผู้ที่เสียชีวิตจากโรคนี้อยู่พอสมควร  ซึ่งผู้ป่วยมักมีประวัติถูกสุนัขกัดแล้วไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์แต่ทั้งนี้โรคพิษสุนัขบ้าก็ยังเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนหลังจากถูกกัดหรือข่วน   
ในแต่ละปีองค์การอนามัยโลกรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้ามากกว่า 60,000 รายทั่วโลก โดยพบมากในประเทศแถบเอเชียและแอฟริกา ซึ่งผู้ป่วยเกือบทั้งหมดได้รับเชื่อจากการถูกสุนัขกัด และแม้ว่าทุกคนจะมีความเสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้าแต่ร้อยละ 40 ของผู้ที่ถูกสุนัขบ้ากัดเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยผู้ป่วยโรคนี้พบมากที่สุดในประเทศอินเดียประมาณ 20000 รายต่อปี สำหรับในประเทศไทยมีรายงานคนถูกสัตว์กัดหรือข่วนมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี และสถิติของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขในช่วงปี พ.ศ. 2554-2558 มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 5-7 รายต่อปี และในปี (2559) นี้นับจากต้นปีจนถึงเดือนสิงหาคมมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว 7 ราย โรคนี้จึงนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีความสำคัญยิ่งของประเทศไทยอีกโรคหนึ่ง
สาเหตุของโรคพิษสุนัขบ้า สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส rabies virus ซึ่งเป็น  lyssavirus type 1 ในตระกูล Rhabdoviridae ที่อยู่ในน้ำลายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยเชื้อไวรัสนี้จะทำให้เกิดภาวะสมองอักเสบทั้งในคนและสัตว์ แต่ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสแล้ว ถ้าได้รับวัคซีนพิษสุนัขบ้าและสารภูมิคุ้มกันต้านทาน (Immunoglobulin) อย่างรวดเร็วเหมาะสมก็จะไม่เป็นโรค แต่ถ้าไม่ได้การรักษาดังกล่าวก็จะป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งไม่มียารักษาและเสียชีวิตในที่สุด
            โรคพิษสุนัขบ้าพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น สุนัข แมว ค้างคาว วัว ลิง ชะนี  กระรอก กระต่าย รวมถึงหนู เป็นต้น แต่พบว่าสุนัขและแมวเป็นสัตว์ที่นำโรคพิษสุนัขบ้ามาสู่คนได้บ่อยที่สุดในประเทศแถบเอเชียและแอฟริกา ใน 
            ที่มา  : Wikipedia 
ประเทศที่พัฒนาแล้วแทบไม่พบว่าสุนัขและสัตว์เลี้ยงในบ้านชนิดอื่นๆเป็นสาเหตุของโรค เนื่องจากมีการควบคุมการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยงอย่างเข้มงวด ไม่มีสัตว์จรจัด สัตว์ที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ (มากกว่า 90%) จึงเป็นสัตว์ป่า เช่น แรคคูน สกั๊ง สุนัขจิ้งจอก และที่สำคัญคือค้างคาว  แม้ว่ารายงานจากสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2556 พบว่าสัตว์ที่ตรวจยืนยันพบเชื้อพิษสุนัขบ้าส่วนใหญ่ไม่เคยได้ฉีดหรือไม่ทราบประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แต่ร้อยละ 9.2 ของสัตว์ที่ยืนยันเป็นโรคพิษสุนัขบ้า พบว่ามีประวัติการได้รับเคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อน
อาการของโรคพิษสุนัขบ้า อาการของผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ


ระยะปรากฏอาการทางระบบประสาท (Acute neurol มักเกิดภายหลังอาการนำดังกล่าว 2-10 วัน ซึ่งแบ่งเป็น 3 แบบ ได้แก่

แนวทางการรักษาโรคพิษสุนัขบ้า การวินิจฉัยแพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการแสดง (เช่น กลัวลม กลัวน้ำ ซึม ชัก แขนขาอ่อนแรง) ร่วมกับประวัติการถูกสัตว์กัดมาก่อน  ส่วนในรายที่ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้แน่ชัด  เช่น ผู้ป่วยมีอาการของโรคพิษสุนัขบ้าในช่วงระยะอาการนำของโรคจะเป็นอาการที่ไม่จำเพาะ หรืออาการแสดงในระยะปรากฏอาการทางระบบประสาทในช่วงแรกที่คล้ายกับโรคสมองอักเสบจากเชื้ออื่น ๆ แพทย์ต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเพาะเพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยว่าอาการที่ปรากฏนั้นจากโรคพิษสุนัขบ้าไม่ใช่จากโรคอื่น ๆ โดยวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการดังกล่าวนั้น ได้แก่



ในประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ใช้สูตรการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าในผู้ป่วยภายหลังสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรคหรือสงสัยเป็นโรค (เรียกว่า Post exposure prophylaxis) เพียง 2 สูตร คือ

สามารถสังเกตอาการของสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร
            อาการของโรคพิษสุนัขบ้าไม่แตกต่างกันมากนักในแต่ละชนิดของสัตว์ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงอาการในสุนัขและแมวเท่านั้น เนื่องจากเป็นสัตว์เลี้ยงที่ใกล้ตัวเรามากที่สุดและพบว่าเป็นพาหนะนำโรคที่สำคัญในประเทศไทย โดยอาการป่วยที่สังเกตได้แบ่งออกเป็นระยะต่างๆ ดังนี้

การป้องกันตนเองจากโรคพิษสุนัขบ้า



                        - พาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าตามกำหนด และฉีดซ้ำทุกปี
                        - ไม่ปล่อยสัตว์เลี้ยงไปในที่สาธารณะ ทุกครั้งที่จะนำสุนัขออกนอกบ้านควรอยู่ในสายจูง
                        - ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยง

สมุนไพรที่ใช้ป้องกัน/รักษาโรคพิษสุนัขบ้า  เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่รุนแรงโดยหากเชื้อเข้าสู่เส้นประสาทส่วนปลายแล้วจะไม่สามารถรักษาได้ เพราะไม่มียาตัวไหนหรือวิธีไหนที่จะฆ่าเชื้อไวรัสหรือรักษาให้หายได้ แม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างดีในห้องไอซียู (ICU, inten sive care unit) แต่อัตราการเสียชีวิตก็็็๋่าสคือ 100%         ดังนั้นจึงไม่มีสมุนไพรชนิดไหนที่สามารถรักษา / ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้เช่นกัน
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าคืออะไร 
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้จากการนำเชื้อ Rabies virus ที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงโดยวิธีการเฉพาะ ซึ่งเชื้อจะถูกทำให้ตายก่อนที่จะนำมาฉีดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสชนิดนี้ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสามารถทำได้ 2 แบบ คือ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular; IM)และฉีดเข้าในผิวหนัง (Intradermal; ID)
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่



วัคซีนทั้ง 4 ชนิดมีชื่อเรียกรวมๆ ว่า วัคซีนเซลล์เพาะเลี้ยง ซึ่งจะมีความปลอดภัยและมีความบริสุทธิ์มากกว่าวัคซีนแบบเก่าที่ผลิตจากการนำเชื้อ Rabies virus จากสมองสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ามาใช้ ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศไทยไม่มีการนำวัคซีนดังกล่าวมาใช้แล้ว
ส่วนประสิทธิภาพในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของวัคซีนเซลล์เพาะเลี้ยงทั้ง 4 ชนิดที