ความหมายของบทความ

อริสโตเติล (Aristotle) กล่าวถึงชนิดของการเขียนไว้อย่ากว้าง ๆ 2 ประเภท
คือ การเขียนประเภทร้อยกรอง (poetic) และประเภทร้อยแก้ว (rhetoric) ต่อมาได้มีการถกเถียงอย่างกว้างขวางและตกลงให้ใช้คำต่อไปนี้แทน
คือ การเขียนประเภทจินตนาการ (imaginative) และการเขียนประเภทข้อเท็จจริง (factual)

      สำหรับการเขียนบทความเป็นส่วนหนึ่งของการเขียนประเภทข้อเท็จจริง ซึ่งรูปแบบของบทความมีความหลากหลาย เช่น บทความ บรรยาย บทความความเห็น บทความสัมภาษณ์ บทความรายงาน ฯลฯ โดยบทความเหล่านี้จะอาศัยข้อเท็จจนิงเป็นพื้นฐานสำคัญในการเขียน
             จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ชวลิต ปัญญาลักษณ์ อดีตคณบดีคณะวารสารศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้สรุปในเชิงค้วมหมายว่า บทความมีความหมายใน 2 นัย กล่าวคือ บทความ หมายถึง ความเรียนหรือข้อเขียนเชิงร้อยแก้วที่เสนอเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นจริง มีการใช้ภาษา ลีลา การเขียนที่มีแบบแผน ในความหมายที่กล่าวนี้จึหมายถึงบทความในหน้าหนังสือพิมพ์ อันได้แก่ บทความเชิงวิชาการ บทวิจารณ์ บทวิเคราะห์
        เหตุการณ์ บทความ สารคดี เป็นต้น และความหมายอีกนัย ก็คือ บทความที่มุ่งเสนอความคิดเห็น แต่ความคิดเห็นนั้นเป็นความคิดเห็นที่ประกอบขึ้นมาจากข้อเท็จจริงไม่ใช่ความคิดเห็นของผู้เขียน ดังนั้น บทความในความหมายหลังนั้นจึงหมายถึง
   บทบรรณาธิการหรือบทนำ บทวิจารณ์ รวมที้งคอลัมน์ต่าง ๆ
       นอกจากนั้น กาญจนา นาคสกุล แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความหมายของบทความไว้ว่า บทความ คือ งานเขียนประเภทร้อยแก้วซึ่งเขียนเพื่อเสนอความรู้ ความคิดหรือควาเพลิดเพลินอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
  ดังนั้น บทความจึงเป็นงานเขียนที่ครอบคลุมเนื้อหาและรูปแบบกว้างขวาง อย่างไรก็ดีบทความจึงมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกับงานเขียนร้อยแก้วโดยทั่วไป ซึ่งพอสรุปลักษณะที่สังเกตได้ดังนี้
1. ข้อเท็จจริงที่นำมาเขียนบทความจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่มีสาระ มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ให้ความรู้ ให้ความคิดเห็นแก่ผู้อ่าน
2. บทความเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์ในตัว ความรู้และความคิดที่เสนอเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาทั้งหมด ซึ่งบทความอาจเสนอประเด็นปัญหาในบางแง่มุมเท่านั้น
3. บทความจะต้องเสนอเรื่อที่กำลังเป็นที่สนใจของคนโดยทั่วไป โดยมีจุดเด่นของเรื่องมีความสำคัญต่อความรู้และความรู้สึกนึกคิด
4. บทความจะต้องเขียนชวนให้อ่านตามยุทธวิธีที่เร้าความสนใจ โดยเฉพาะ
5. บทความต้องเน้นแนวคิดที่แปลก แต่จะต้องมีสาระและเหตุผลการใช้ภาษาและลีลาการเขียน ดังนั้นความหมายของบทความ คือ งานเขียนประเภทร้อยแก้วที่เขียนขึ้นเพื่อเสนอความรู้ ความคิดเห็น หรือความเพลิดเพลิน โดยที่ความรู้ ความคิดเห็น หรือความเพลิดเพลินนั้นเขียนขึ้นจากข้อเท็จจริงที่มีสาระ มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ รวมทั้งบทความดังกล่าวจะต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้คนโดยทั่วไป
ประเภทของบทความ

ดังได้กล่าวแล้ว บทความนั้นมีลักษณะหลากหลายในการเขียน ดังนั้นในการระบุประเภทของบทความย่อมสามารถพิจารณาได้หลายลักษณะ แต่ในที่นี้จะจำแนกเป็น 10 ประเภทดังนี้

1. บทความเชิงบรรยาย (Narrative Article) เป็นบทความที่บรรยายประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในลักษณะแปลกใหม่ ต้องบอกแก่ผู้อ่านเท่าที่ตนทราบ โดยบอกได้อย่างถูกต้อง ไม่น่าเบื่อ กล่าวคือการบรรยายให้ผู้อ่านสนใจ ประทับใจ เขียนให้เห็นจริงเห็นจัง โดยละเอียด ใช้ภาษาเรียบ ง่าย ไม่กำกวม ไม่วกวน

ในการเขียนโดยมากจะกล่าวถึงการใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่งหรือบุรุษที่สาม กล่าวคือถ้าเป็นการใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง จะเป็นการบรรยายประสบการณ์ในเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใดของผู้เขียนที่บรรยายเป็นงานเขียนออกมา ถ้าเป็ฯการใช้สรรพนามบุรุษที่สาม จะเป็ฯการบรรยายถึงประสบการณ์ของบุคคลอื่นซึ่งเป็นใครก็ได้ที่ไม่ใช่ผู้เขียน

2. บทความเชิงแสดงบุคลิกภาพ (Personality Sketch Article) เป็นบทความที่มุ่งให้ผู้อ่านทราบคุณลักษณะบุลิกภาพของบุคคลที่ทำให้บุคคลนั้นมีชื่อเสียง สิ่งซึ่งทำให้บุคคลมีจุดเด่น น่าสนใจ การเขียนจะยึดหลักข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง และใช้ความคิดเห็นจากบุคคลอื่นประกอบ ทั้งต้องระลึกเสมอว่าไม่ใช่เป็นการเขียนชีวประวัติบุคคล

3. บทความเชิงสัมภาษณ์ (Interview Article)เป็นบทความแสดงความคิดเห็นของบุคคลต่อปรากฏการณ์ใด โดยปกติบทความประเภทนี้มักจะมีคำถาม คำตอบสลักกับแกนรูปแบบการเขียนลักษษณะร้อยแก้ว เหมือนกับบทความประเภทอื่น ๆ อย่างก็ดีในการเขียนผู้เขียนควรแทรกเกร็ดของเรื่องหรือแต่ละประเด็ในบางตอนเพื่อขจัดความน่าเบื่อ

4. บทความเชิงสาธิตวิธีการ (How-to-do-it Article) เป็นบทความที่เขียนเพื่ออธิบายการกระทำตามขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเริ่มตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดขั้นตอน หรือครบกระบวนการ เพื่ผู้อ่านอ่านจนสามารถนำไปปฏิบัติได้ การเขียนบทความประเภทนี้จะต้องเขียนให้รายละเอียดมากกว่าการเสนอเพียงข้อมูลเท่านั้น

5. บทความความเรียง (Easay Article) เป็นบทความที่ค่อนข้างสั้น จะต้องจัดการลำดับข้อเท็จจริง การเสนอประเด็นที่จัดกุม เพราะมีประเด็นในการเขียนเพียงประเด็นเดียว การเขียนบทความความเรียงนี้ จะแตกต่างกับการเขียนเรียงความธรรมดำมาก ดังนั้น ผลงานเขียนบทความประเภทนี้จะสะท้อนให้เห็นสมรรถนะหรือบุคลิกลักษณะการเขียนของผู้เขียนแต่ละคน เพราะว่าบทความเชิงความเรียงนี้ยังแยกตามวัตถุประสงค์การเขียนได้อีก 5 ลักษณะ คือ

5.1 บทควาเพื่อให้ข่าวสาร (Information Article) เป็นบทความที่มุ่งให้ข้อมูลเพิ่มเติมจากข่าว แต่การเขียนรูปแบบต่างกับการเขียนข่าว กล่าคือ เขียนตามเนื้อหาสาระตามลำดับที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านได้ทราบ ดังนั้นบรรณาธิการ ไม่สามารถตัดข้อความในตอนท้ายของบทความออกได้

5.2 บทความเพื่อแสดงความเห็น (Opinion Article) เป็นบทความที่เสนอควาคิดเห็นของผู้เขียนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยเหตุผล และข้อเท็จจริงแก่ผู้อ่าน ความคิดเห็นดังกล่าวจะต้องแปลกกว่าที่เคยมีมา และเป็ฯในทางสร้างสรรค์มีความเป็นไปได้ น่าสนใน แต่ต้องไม่ใช่ความคิดเห็นเป็นลักษณะโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) ประการสำคัญความคิดเห็นนั้นจะต้องมากจากการบูรณการของข้อเท็จจริง

5.3 บทความเพื่อการอธิบาย (Interprete Article) เป็นบทความที่มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับบทความเพื่อการให้ข่าวสาร และบทความเพื่อแสดงควาเห็น แต่มีวามแตกต่างกันตรงที่ ทความเพื่อการอธิบายจะให้แง่มุมที่ลึกซึ้งกว่า โดยเฉพาะจะเป็ฯการตอบคำถามของคำถามเหล่านี้ คือ ใคร อะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน ทำไม และอย่างไร ซึ่งจะเน้นตอบคำถามอย่างไรมากกว่า

5.4 บทความชวนขัน (Humorous Article) เป็นบทความที่ค่อนข้างเขียนยากเพราะว่า การเขียนบทความชวนขัน ในที่นี้ไม่ใช่เป็นการเขียนมุขตลกขบขัน แต่เป็นการเขียนจากข้อเท็จจริง โดยใช้ข้อมูลในบางเรื่อง อตจเป็นข้อเท็จจริงที่หนักสมองแต่นำมาเขียนให้ชวนขัน ซึ่งในขณะขบขันนั้นจะมีความรู้สึกบางอย่างขึ้นพร้อมกัน เช่น ขบขันทั้งน้ำตา การเขียนบทความลักษณะนี้ จะเริ่มต้นจากการเขียนที่มีลีลาที่สุภาพเรื่อยไปจนกระทั่งมีบางตอนบางแห่งหรือหลายแห่งจะมีถ้อยคำหรือข้อความเป็นลักษณะหยิกแกมหยอก ยั่วยุ เสียดสี ฯลฯ โดยใช้คภชวนขัน

5.5 บทความกระตุ้นจิตสำนึก (Inspirational Article) เป็นบทความที่ผู้เขียนมุ่เสนอประสบการณ์ของตนเองหรือผู้อื่นเกี่ยวกับความเชื่อ ศาสนา การตัดสินใน ความมานะ พยายาม ความอดทน ความเจ็บป่วย ฯลฯ เพื่อกระตุ้นหรือปลุกระดมให้ผู้อ่านมีความสำนึกในบางเรื่องบางสถานการณ์

6. บทความเชิงโต้แย้ง (Controyersial Article) เป็นบทความที่มีประเด็นปัญหาที่แตกต่างกันในเชิงความคิด ผู้เขียนเสนอข้อเท็จจริงและเหตุผลให้มีความสมดุลระหว่างประเด็นที่แตกต่างกัน แล้วปล่อยให้ผู้อ่านได้พิจารณาตัดสินเอง

7. บทความเชิงวิจารณ์ (Critical Article) เป็นบทความที่เกี่ยวกับวรรณกรรมหรือศิลปกรรม บทความประเภทนี้มี 2 ลักษณะ ลักษณะแรก เป็นการเขียนแนะนำให้ทราบแม้จะมีการวิจารณ์ก็ไม่ค่อยจะรุนแรงมาก ส่วนอีกลักษณะเป็นการเขียนวิจารณ์ที่รุแรงเพื่อวินิจแัยคุณค่าของผลงานนั้น ๆ การวิจารณ์อาศัยหลักแลกฎเกณฑ์ทั้งทางฟฤษฎีและเหตุผลข้อเท็จจริงเป็นหลัก เพื่อการประเมินคุณค่าอย่างเป็นธรรม

8. บทความเชิงวิเคราะห์ (Analytical Article) เป็นบทความที่มุ่งเสนอการวิเคราะห์เหตุการณ์ใด ๆ โดยเน้นประเด็นสำคัญของเรื่อง ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการประเมินคุณค่าเสมอไป แต่ควรมีข้อเสนอที่ว่าสิ่งที่เกิดขณะนั้นจะนำไปสู่เหตุการณ์อะไรในอนาคตได้บ้าง ซึ่งการวิเคราะห์จะต้องมีความสมเหตุสมผลในการเขียน นอกจากนั้นอาจสรุปเป็นแนวคิดแก่ผู้อ่านก็ได้

9. บทความเชิงสารคดี (Feature Article) เป็นบทความที่เขียนแบบสารคดีมีการวิเคราะห์วิจารณ์ควบคู่กันไป ทำให้มีสาระมากกว่าบันเทิง กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเอาข้อเท็จจริงที่มีสารมาเขียนในรูปแบบของสารคดีนั่นเอง

10. บทความเชิงวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความที่มุ่งเสนอความรู้เรื่องใด เรื่องหนึ่งโดยตรง ได้ แก่ รายงานทางวิชาการ รายผลการวิจัย รายงานการประชุมเชิงวิชาการเป็นต้น บทความประเภทนี้มีการเสนอสาระอย่างตรงไปตรงมา แต่บางครั้งอาจมีการอธิบายเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่างแก่ผู้อ่านในบางส่วนเท่าที่จำเป็นก็ได้

จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการจำแนกประเภทของบทความในแนวหนึ่ง ซึ่งตำราบางเล่มอาจแบ่งประเภทของบทความที่แตกต่างไปจากนี้ เช่น เจือ สตะเวทิน แบ่งไว้ 2 ประเภท คือบทความทางการเมืองและบทความเชิงความรู้ นอกจากนั้น วาสนา เกตุภาค ได้แบ่งเป็น 2 ประเภท เช่นกัน คือ บทความทางวิชาการ และบทความทั่วไป เป็นต้น

               ตัวอย่างบทความเกี่ยวกับเรื่อง “สุขภาพ”

หัวข้อ “กินส้มตำ ระวังเจออาหารเป็นพิษ”

Responsive image

หลายๆ คนเวลารับประทานอาหารไม่ค่อยระวังความสะอาดของอาหารเท่าที่ควร  โครงการศึกษาคุณภาพความปลอดภัยของส้มตำในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำการสำรวจส่วนประกอบที่ใช้ในการทำส้มตำและส้มตำปรุงสำเร็จรวมทั้งสิ้น 202 ตัวอย่าง ตรวจโดยชุดทดสอบอาหารและวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลปรากฏว่าในจำนวนตัวอย่าง 202 ตัวอย่าง ไม่ได้มาตรฐานร้อยละ 21.7 พบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษและสุขลักษณะที่ไม่ดีในส้มตำปรุงสำเร็จสูงถึงร้อยละ 67 สำหรับวัตถุดิบที่ประกอบส้มตำ พบสีในกุ้งแห้งสูงถึงร้อยละ 95 พบสาร
อะฟลาทอกซินที่ทำให้เกิดมะเร็งตับเกินมาตรฐานในถั่วลิสงคั่วร้อยละ 15 และตรวจพบยาฆ่าแมลงในพริกขี้หนูจำนวนหนึ่ง ภาวะอาหารเป็นพิษ หรือที่เรียกว่า "food poisoning" จัดเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในอาหารพบว่าเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ "ซัลโมเนลลา" salmonella และ "แคมไพโรแบคเตอร์" campylobacter เป็นเชื้อก่อเหตุที่สำคัญที่สุดของภาวะอาหารเป็นพิษ ทั้งรายงานจากต่างประเทศและการศึกษาในประเทศไทย เชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา พบในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์หลายชนิด รวมทั้งไข่เป็ดไข่ไก่ ส่วนเชื้อแบคทีเรียแคมไพโรแบคเตอร์ มักพบในเนื้อไก่ที่ใช้บริโภค ตามที่เข้าใจกันโดยทั่วไป  ส่วนใหญ่แล้วภาวะอาหารเป็นพิษมักจะไม่ มีอาการรุนแรงมากเท่าใด และอาการจะเป็นไม่นาน ผู้ป่วยอาจมีเพียงอาการท้องเสียเพียงแค่สองสามวัน อาจมีไข้ต่ำๆ หรือบางคนไม่มีไข้เลยก็ได้ อาการปวดท้องมักไม่รุนแรง อาจเพียงรู้สึกปวดมวนท้องบ้างเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม หากภาวะอาหารเป็นพิษนี้เกิดขึ้นกับผู้ที่จัดว่ามีภูมิต้านทานลดน้อยลง เช่น ผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็ก ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ โรคเบาหวาน หรือโรคเอดส์ การติดเชื้อจะรุนแรงและทำให้ถึงกับเสียชีวิตได้   ฤดูร้อนเป็นฤดูที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด ในบางพื้นที่ของประเทศที่ประสบกับภาวะภัยแล้ง ในช่วงฤดูร้อนนี้อาจจะเกิดการระบาดของโรคติดต่อบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ บิด อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย หรือไข้ไทฟอยด์ เป็นต้นจึงควรระมัดระวังในเรื่องความสะอาดของอาหาร น้ำดื่ม และภาชนะในการใส่อาหาร ตลอดจนให้มีการใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ และควรทราบในเบื้องต้นถึงอาการสำคัญและวิธีการป้องกันโรคติดต่อที่มักจะเกิด ในฤดูร้อนที่สำคัญและพบได้บ่อย   โรคติดต่อทางอาหารและน้ำที่สำคัญที่ สุดคือ โรคอุจจาระร่วง (diarrhea) ซึ่งเกิดจากเชื้อต่างๆ ได้หลายชนิด อาทิเช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว และหนอนพยาธิ เชื้อต่างๆ เหล่านี้สามารถติดต่อได้โดยการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไป อาการสำคัญคือ ถ่ายอุจจาระเหลว ถ่ายเป็นน้ำ หรือถ่ายมีมูกปนเลือด โดยทั่วไปมักจะอาเจียนร่วมด้วย ผู้ป่วยอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย จนกระทั่งรุนแรงมากเช่นเดียวกับอหิวาตกโรค โรคอาหารเป็นพิษเกิดจากพิษของเชื้อ แบคทีเรีย เช่น เชื้อซัลโมเนลล่า แคมไพโรแบคเตอร์ เชื้อรา เห็ดบางชนิด หรือสารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร สามารถติดต่อได้โดยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป ซึ่งมักพบในอาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ จากเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว และไข่เป็ด ไข่ไก่ รวมทั้งอาหารกระป๋อง อาหารทะเล และน้ำนมที่ยังไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ นอกจากนี้อาจพบในอาหารที่ทำไว้ล่วงหน้านานๆ แล้วไม่ได้แช่เย็นไว้ ถ้าไม่ได้อุ่นให้ร้อนพอ ก่อนรับประทานก็จะทำให้เป็นโรคนี้ได้  อาการสำคัญ คือ มีไข้ ปวดท้อง เนื่องจากเชื้อโรคทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะอาหารและลำไส้ นอกจากนี้อาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง ซึ่งถ้าถ่ายมากจะเกิดอาการขาดน้ำและเกลือแร่ได้ และบางรายอาจมีอาการรุนแรง เนื่องจากมีการติดเชื้อและเกิดการอักเสบที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ข้อและกระดูก ถุงน้ำดี กล้ามเนื้อหัวใจ ปอด ไต เยื่อหุ้มสมอง และเมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสโลหิตจะทำให้เกิดโลหิตเป็นพิษ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเด็กทารก เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ    โรคติดต่อทางอาหารและน้ำดังกล่าว แม้ว่าจะมีสาเหตุของการเกิดโรคต่างกัน แต่จะมีวิธีการติดต่อที่คล้ายคลึงกัน คือ เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายได้โดยการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำ ที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป เช่น อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบ ก้อย หรืออาหารที่มีแมลงวันตอม หรืออาหารที่ทิ้งไว้ค้างคืน โดยไม่ได้แช่เย็นไว้ และไม่ได้อุ่นให้ร้อนก่อนรับประทาน ทั้งนี้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวข้างต้น สามารถแพร่เชื้อได้ทางอุจจาระ และหากเป็นผู้ประกอบอาหารหรือพนักงานเสริฟอาหาร ก็จะมีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้มากเช่นกัน 

http://www.star-circuit.com /article/another-article/The-meaning-of-Article.html