ประวัติศาสตร์ประเทศเวียดนาม

ยุคก่อนตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก 
      ยุคที่อยู่ใต้อิทธิพลของจีน (ก่อน ค.ศ. 111- ค.ศ 938) ช่วงนี้ราชวงศ์ฮั่นบุกอาณาจักนามเวียดและผนวกเอาเป็นส่วนหนึ่งของจีน ช่วงนี้เวียดนามอยู่ใต้อิทธิพลของจีนนานถึง 1000 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ได้อิทธิพลและรับวัฒนธรรมหลายอย่างมาจากจีน

  • อาณาจักรแรกของชาวเวียดนาม คืออาณาจักร นามเวียด (อาณาจักรทางตอนเหนือ) เป็นเป็นเมืองขึ้นของจีนมานาน ทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่เดี่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนเป็นส่วนใหญ่ แม้ต่อมาอาณาจักรนามเวียดจะเป็นอิสระแต่ก็ยังคงส่งเครื่องบรรณาการส่งให้จีน (จีนถือว่านามเวียดเป็นเมืองประเทศราช)
  • ทางตอนกลางและตอนใต้ของประเทศเวียดนามในอดีตเป็นที่ตั้งของอาราจักรจามปา(พวกจาม ซึ่งปัจจุบันเป็นชนกลุ่มน้อยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม)

ช่วงที่เป็นเอกราชจากจีน (ค.ศ. 938-1009) 
     ช่วงนี้เป็นช่วงต้นราชวงศ์ถังซึ่งภายในจีนมีความวุ่นวายภายในเวียดนามก็สถาปนาราชวงศ์เล(Le Dynasty) 

ช่วงยุคทองของประวัติศาสตร์เวียดนาม (ค.ศ. 1010 -1527) 
     เมื่ออาณาจักรนามเวียดทางตอนเหนือสามารถยึดพวกจามได้ทำให้อาณาจักรกว้างขวาง โดยเฉพาะในสมัยราชวงศ์เล เป็นช่วงที่มีการวางรากฐานในการพัฒนาประเทศอย่างสำคัญมากมายมีการส่งเสริมพุทธศาสนากับลัทธิขงจื้อกับลัทธิเต๋าด้วยและได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ กรุงฮานอย 

ยุคแห่งการแบ่งแยก (ค.ศ. 1528-1802) 
     อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เหนือ-ใต้ เมื่อราชวงส์เลเสื่อมอำนาจทำให้อาณาจักแบ่งออกเป็นสามส่วน

  • ตอนเหนือ – แคว้นตังเกี่ย – ศูนย์กลางที่กรุงฮานอย – มีตระกูลแม็ค ปกครอง
  • ตอนกลาง – แคว้นอันนัม – ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเตย์โด – มีตระกูลตรินห์ ปกครอง
  • ตอนใต้ – แคว้นโคชินไชนา – มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเว้ – มีตระกูล เหงียน ปกครอง

     ต่อมาตระกูลตรินห์ยึดแคว้นตั๋งเกี๋ยได้ ซึ่งทำให้เหลือ 2 แคว้น ต่อมาเจ้าชายเหงียนอันห์ แห่งราชวงศ์เหงียนทำการรวมประเทศ เป็นประเทศเวียดนาม (ค.ศ.1802 จึงเรียกชื่อประเทศว่าเวียดนาม)โดยความช่วยเหลือจากไทย(สมัย ร.1) และฝรั่งเศส และสถาปนาราชวงศ์ยาลอง เป็นจักรพรรดิยาลอง 

     จักรพรรดิยาลอง มีความสัมพันธ์ที่ดีกับฝรั่งเศสมาก และฝรั่งเศสได้เข้ามาช่วยเหลือในการรวมประเทศผลสุดท้ายฝรั่งเศสก็เข้ามาแทรกแซงภายในประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ จน ต้องตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส 

      ราชวงศ์เหงียน(เหวียน) เป็นราชวงศ์สุดท้ายของเวียดนาม นับตั้งแต่กษัตริย์ยาลองจนถึงกษัตริย์องค์สุดท้ายคือเบ๋าได่(Bao Dai) รวม 143 ปี (ปี ค.ศ. 1945 เป็นปีที่สิ้นสุดระบบกษัตริย์ของเวียดนาม) 

     เวียดนามแต่เดิมมีการปกครองแบบราชาธิปไตย(มีกษัตริย์) แบบรวมอำนาจการปกครอง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนมาไม่ต่ำกว่า 4000 ปี เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีน มากว่า 1000 ปี มีการดิ้นรนต่อสู้ให้พ้นจากการยึดครองของจีนตลอดมา 

     ยุคที่อยู่ใต้การปกครองของชาติตะวันตก (เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส) 
ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามาในเวียดนามในช่วง ศตวรรษที่ 1600 โดยเข้ามาทำการค้าและเผยแพร่ศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะ ฝรั่งเศส และชาวฝรั่งเศส ชื่อ Alexandre de Rhodes ได้เข้ามาพัฒนาภาษาเวียดนามที่เดิมใช้ตัวอักษรจีน มาใช้ตัวอักษรโรมันแทน (โดยพัฒนาต่อจากมิชชั่นนารีชาวโปรตุเกสที่เริ่มไว้ก่อหน้า) และในสมัยราชวงศ์เหงียนจึงมีข้อขัดแย้งกันทางศาสนาซึ่งเดิมชาวเวียดนามนับถือศาสนาพุทธ ขงจื้อ ในช่วงปี ค.ศ. 1859-1867 ฝรั่งเศสได้เริ่มยึดครองเวียดนาม 

     ในสมัยราชวงศ์เหงียน เวียดนามถูกฝรั่งเศสเข้ายึดครองเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.2427 ทำให้ประเทศถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ ภาคเหนือเป็นแคว้นตังเกี๋ย ภาคกลางเป็นแคว้นอันนัม และภาคใต้เป็นแคว้นโคชินไชนา (โคชินจีน) และถูกรวมเข้ากับเขมร และลาว เรียกว่าสหพันธ์อินโดจีน (Indochinese Federation) ในปี 1893 

     ในช่วงที่เวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนั้น ฝรั่งเศสได้พัฒนา หลายสิ่ง ทั้งด้าน การศึกษา การเกษตร ระบบเมือง ระบบถนน การสาธารณสุข มีการส่งสินค้าการเกษตรมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ก็ตกอยู่กับฝรั่งเศส 

     ในช่วงที่เวียดนามตกอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศสนั้น ก็ได้เริ่มมีบางกลุ่มที่เริ่มต่อต้าน และต้องการปกครองของฝรั่งเศส นั้นก็คือกลุ่มของโฮจิมินห์ (กลุ่มเวียดมินห์ Viet Minh) 

ยุคหลังจากได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส และ ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (สงครามมหาเอเชียบูรพา) 

     เมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2 ฝากทางเอเชีย)ญี่ปุ่นได้ยกกำลังเข้ายึดอินโดจีนของฝรั่งเศส และได้ประกาศยกเลิกอำนาจการปกครองของฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2483 (ค.ศ.1940) พร้อมกับได้มอบหมายให้จักรพรรดิเบ๋าได๋ของเวียดนาม ประกาศอิสรภาพ และจัดตั้งรัฐบาลเวียดนามขึ้นปกครองประเทศ 

     ก่อนหน้าที่ญี่ปุ่นจะยึดอินโดจีนของฝรั่งเศสนั้น ในเวียดนามได้มีขบวนการต่อต้านฝรั่งเศส ที่สำคัญอยู่ขบวนหนึ่งเรียกว่า สันนิบาตเพื่อเอกราชเวียดนาม หรือเวียดมินห์ (Viet Minh) ผู้ก่อตั้งขบวนการนี้คือ โฮจิมินห์ (Ho Chi Minh) ขบวนการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะแยกสลายศัตรู และรวมพลังต่าง ๆ ให้มากที่สุด เพื่อที่จะพิทักษ์รักษาประเทศชาติ และปลดปล่อยประชาชน ฐานที่มั่นของขบวนการนี้อยู่ที่เวียดบัค (Viet Bac) และขบวนการดังกล่าว ได้กลายมาเป็น กองทัพประชาชนของเวียดนามในเวลาต่อมา ในห้วงเวลาที่ญี่ปุ่นยึดครองเวียดนาม ครั้นสงครามมหาเอเชียบูรพานั้น จีนและสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความช่วยเหลือขบวนการนี้ เพื่อต่อต้านญี่ปุ่น ทำให้โฮจิมินห์สามารถก่อตั้งขบวนการคอมมิวนิสต์ที่มีประสิทธิภาพขึ้นทั่วประเทศ 

       เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพายุติลง(สงครามโลกครั้งที่ 2)ในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ.1945)ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม จักรพรรดิเบาได๋ได้สละราชสมบัติ และมอบอำนาจการบริหารให้แก่ฝ่ายเวียดมินห์ ฝ่ายสัมพันธมิตร โดยมีอังกฤษเป็นฝ่ายสนับสนุน ให้ฝรั่งเศสกลับเข้ามามีอำนาจในเวียดนามอีก โฮจิมินห์ได้ประกาศทำการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธอย่างเปิดเผย โดยได้ประกาศอิสรภาพ และสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ซึ่งประกอบด้วยตังเกี๋ย อันนัม และโคชินไชน่าขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2488โดยมีกรุงฮานอยเป็นเมืองหลวง และโฮจิมินห์เป็นประธานาธิบดี 

สงครามเวียดนาม (ค.ศ. 1970 -1975) 
     ฝรั่งเศสได้ให้การรับรองสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามดังกล่าวในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์อินโดจีนของฝรั่งเศส ซึ่งขัดแย้งกับเจตน์จำนงของพวก เวียดมินห์ ต่อมาในปี พ.ศ.2492 (ค.ศ. 1949)ฝรั่งเศสได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเสรีแห่งเวียดนามใต้ขึ้นโดยมีจักรพรรดิเบาได๋เป็นประมุข(เป็นหุ่นเชิดของฝรั่งเศส) และมีโงดินห์เดียม (Ngo Dinh Diem) เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้มีการสู้รบระหว่างเวียดมินห์กับฝรั่งเศส ซึ่งเริ่มมาแต่ปลายปี พ.ศ.2489 เป็นไปอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น ในที่สุดฝรั่งเศสเป็นฝ่ายปราชัยแก่ฝ่ายเวียดมินห์ ในสงครามที่เดียนเบียนฟู (Dien Bien Pho) เมื่อปี พ.ศ.2497(ค.ศ. 1954) ฝรั่งเศสได้ลงนามในข้อตกลงเจนีวา (Geneva Agreement) กับฝ่ายเวียดมินห์ในปีเดียวกัน โดยฝรั่งเศสยอมเคารพต่อความเป็นเอกราชอธิปไตย เอกภาพและบูรณภาพของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 

      ข้อตกลงเจนีวา (Geneva Agreement) ดังกล่าวได้ระบุให้แบ่งเวียดนามออกเป็นสองส่วน(เวียดนามเหนือ และ เวียดนามใต้) โดยใช้เส้นขนาน(เส้นละติจูด)ที่ 17 เป็นเส้นแบ่งเขตชั่วคราว และจัดให้มีเขตปลอดทหารขึ้น โดยให้ทั้งสองฝ่ายถอนทหารกลับเข้าเขตของตน ให้ประชาชนเลือกอพยพเข้าไปอยู่ในแต่ละภาคตามความสมัครใจ ภายใน 300 วัน สนธิสัญญาดังกล่าว ยังห้ามมิให้ชาวต่างชาติโยกย้ายทหาร และอาวุธเข้าไปตั้งมั่นในแต่ละภาค ห้ามเวียดนามทั้งสองฝ่ายเข้าเป็นพันธมิตรทางทหารกับต่างประเทศ และให้มีกรรมการควบคุมตรวจตราระหว่างประเทศ (ICC) ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามข้อตกลง นอกจากนั้นยังได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เพื่อรวมเวียดนามทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกัน ภายในปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ.1956) ด้วย แต่การดำเนินการรวมประเทศเข้าด้วยกันไม่ได้มีขึ้นตามข้อตกลง เนื่องจากเวียดนามใต้ไม่ยินยอม โดยอ้างว่าเวียดนามเหนือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับการถอนทหาร โดยยังมีกองกำลังเวียดนามเหนืออยู่ในเวียดนามใต้ ประมาณ 5000 คน 

     ในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ.1955)โงดินห์เดียม นายกรัฐมนตรีเวียดนามใต้ ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ให้ล้มเลิกระบบกษัตริย์ และเปลี่ยนรูปการปกครองของเวียดนามใต้ เป็นระบอบสาธารณรัฐ (มีประธานาธิบดีแทนกษัตริย์)โดยโงดินห์เดียม ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเวียดนามใต้ ในขณะเดียวกันเวียดนามเหนือ ก็ได้พยายามที่จะให้มีการออกเสียง ประชามติเกี่ยวกับการรวมเวียดนาม แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงได้หันมาใช้กลวิธีทางการเมือง เริ่มด้วยการจัดตั้งขบวนการคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ หรือ เวียดกง (Viet Cong) ได้จัดตั้งแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ (National Liberation of South Vietnam) ขึ้นในปี พ.ศ.2503(ค.ศ.1960)โดยอ้างว่าเป็นตัวแทนของชาวเวียดนามใต้ ในการต่อสู้กับเวียดนามใต้ เพื่อให้มีการรวมเวียดนามเข้าด้วยกัน แนวร่วมดังกล่าวได้ประกาศจัดตั้ง "รัฐบาลปฎิวัติชั่วคราวแห่งเวียดนามใต้ (Provision Revotutionary) เมื่อปี พ.ศ.2512 ส่วนในด้านการทหารนั้น เวียดนามเหนือได้ปฎิบัติการรบแบบกองโจร ด้วยหน่วยกำลังขนาดเล็ก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 และได้ขยายขนาดกำลังเป็นกองพันในปี พ.ศ.2506 

        ในขณะที่ฝ่ายเวียดกงมีความเข้มแข็งขึ้น แต่ภายในเวียดนามใต้เองกลับมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง มีการแย่งชิงอำนาจกันหลายครั้งหลายคราว โงดินห์เดียม ถูกโค่นอำนาจและผู้นำทหารเข้ามาปกครองแทน จนถึงปี พ.ศ.2508 สหรัฐอเมริกาจึงสนับสนุนให้มีการจัดตั้งรัฐบาลแทนขึ้น โดยมี นายพล เหงียนเกากี ผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นนายกรับมนตรี รัฐบาลชุดนี้ได้จัดร่างรัฐธรรมนูญ และจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2510 นายพลเหงียนวันเทียว ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี ได้ดำรงตำแหน่งมาถึงปี พ.ศ.2518 แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาสำคัญให้ลุล่วงไปได้ 

     ในระยะเวลาดังกล่าว สงครามในเวียดนามก็ได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น สหรัฐอเมริกาได้เริ่มโจมตีทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือเป็นครั้งแรก เมื่อเกิดวิกฤตการณ์อ่าวตังเกี๋ย ในปี พ.ศ. 2507 และในปี พ.ศ. 2508 ก็ได้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมรบกับกำลังทหารของเวียดนามใต้โดยตรง 

     ในปี พ.ศ.2510 (ค.ศ. 1967) เวียดนามเหนือได้ขยายกำลังรบในเวียดนามใต้เป็นระดับของพล และได้ทำการรุกใหญ่สองครั้งคือ ในปี พ.ศ.2510 และ พ.ศ.2518 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะถูกสกัดกั้นทางภาคพื้นดิน การโจมตีทางอากาศ และการปิดล้อมทางทะเลของสหรัฐอเมริกา และพันธมิตร ได้มีการเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 (ค.ศ. 1968) ได้มีการลงนามในปี พ.ศ.2516 กำหนดให้มีการหยุดยิงในเวียดนามใต้ และให้มีการถอนกำลังทหารสหรัฐอเมริกา และพันธมิตรออกจากเวียดนามใต้ ระบุให้เวียดนามใต้ และเวียดนามเหนือ จัดตั้งสภาเพื่อความสามัคคีปรองดอง เพื่อทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งทั่วไปในเวียดนาม และให้มีการรวมเวียดนามเข้าด้วยกัน และยังกำหนดให้สหรัฐอเมริกา ให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูบูรณาอินโดจีน รวมทั้งเวียดนามเหนือภายหลังสงครามสิ้นสุดลงด้วย 

      ในทางปฎิบัติปรากฎว่า ประสบผลแต่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการถอนทหารสหรัฐอเมริกา และพันธมิตรออกจากเวียดนามใต้ การแลกเปลี่ยนเชลยศึก การกวาดทุ่นระเบิด และยุติการลาดตระเวรทางอากาศ ในเวียดนามเหนือเท่านั้น แต่การยุติการสู้รบไม่ได้มีผลการปฎิบัติอย่างแท้จริง การเจรจาเพื่อกำหนดอนาคตทางการเมือง ระหว่างเวียดนามใต้กับเวียดกง ที่เริ่มเมื่อปี พ.ศ.2516 ได้ยุติลงโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 

     ในต้นปี พ.ศ.2518 (ค.ศ. 1975)ฝ่ายเวียดนามเหนือได้เริ่มการรุกใหญ่อีกครั้ง เข้าไปในเขตเวียดนามใต้ ฝ่ายเวียดนามใต้ซึ่งขาดการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการรบ ฝ่ายเวียดนามเหนือยึดครองพื้นที่ ได้สองในสามของพื้นที่ทั้งหมดในเวียดนามใต้ ก็ได้ใช้กำลังกดดันไซ่ง่อนอย่างหนัก จนฝ่ายเวียดนามใต้ยอมจำนน เมื่อ 30 เมษายน 2518 

     เมื่อเวียดนามเหนือยึดครองเวียดนามใต้แล้ว ก็รวมเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้เข้าด้วยกัน โดยใช้ชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam) 


สรุปเหตุการณ์ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 
       ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้ามายึดครองอินโดจีน และได้ขับไล่ฝรั่งเศสออกจากอินโดจีน กษัตริย์เบ๋าได่ ได้ประกาศให้เวียดนามเป็นเอกราชแต่ก็อยู่ภายใต้ญี่ปุ่นเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 เวียดมินห์จึงยึดอำนาจรัฐบาลกษัตริย์เบ๋าได่ และให้โฮจิมินห์เป็นประธานาธิบดี และสถาปณาสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม 

      เมื่ออังกฤษและฝรั่งเศสได้ปลดอาวุธกองทัพญี่ปุ่นในเวียดนามใต้ได้ จึงต้องการเข้ามามีอิทธิพลในเวียดนามอีกครั้ง จึงให้กษัตริย์เบ๋าได่เป็นหุ่นเชิด สงครามในประเทศก็เริ่มเกิดระหว่างฝ่ายเวียดนามเหนือที่มีกลุ่มเวียดมินห์ กับฝ่ายใต้ที่มีฝรั่งเศสหนุนอยู่ และสงครามได้ยืดเยื้อยาวนาน 8 ปี และ จบลงด้วยการพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสที่ทำสงครามทีที่ เดียนเบียนฟู ในปี ค.ศ. 1954 ฝ่ายเวียดมินห์ลุกคีบต้องการที่จะรวมประเทศ ยังผลให้เกิดการสู้รบกันอย่างหนักระหว่างฝ่ายเวียดนามเหนือ และใต้ จนต้องทำสนธิสัญญา เจนีวา แล้วแบ่งเวียดนามออกเป็น 2 ส่วน คือเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ (มีกษัตริย์เบ๋าได่ และ โงดินห์ เดียม เป็นนายกรัฐมนตรี) 

      ในช่วงสงครามเวียดนาม ปี ค.ศ. 1955 กษัตริย์เบ๋าได่ ต้องสละอำนาจและ โงดินห์ เดียม ได้เป็นประธานาธิบดีแทน ช่วงนี้ อเมริกาได้เข้ามาหนุนหลังเวียดนามใต้ ทางด้านเวียดนามเหนือซึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ และมี จีนกับสหภาพโซเวียตหนุนหลังอยู่ 

     ในช่วงปี ค.ศ. 1963-1967 ทางเวียดนามใต้มีปัญหาทางการเมือง ทำให้ กองกำลังเวียดนามเหนือ เข้ามายังเวียดนามใต้(อเมริกาซึ่งเป็นฝ่ายประชาธิปไตยกลัวว่าเวียดนามเหนือที่เป็นคอมมิวนิสต์จะเข้ามายังเวียดนามใต้จึงได้ ส่งกองกำลังทหารหนุนฝ่ายเวียดนามใต้เต็มที่) ทำให้เกิดการสู้รบเป็นสงครามเวียดนาม ในที่สุดเวียดนามเหนือก็เข้ายึดกรุงไซ่ง่อนได้ (ตอนหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็นโฮจิมินห์ซิตี้) ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1975 ทำให้เวียดนามถูกรวมเป็นประเทศเดียว และ ปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ ภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์ มาถึงทุกวันนี้ เปลี่ยนชื่อประเทศมาเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และมีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงฮานอย 


นโยบายปฏิรูป โด่ยเหม่ย (Doi Moi) ปี ค.ศ. 1986 
     เมื่อสิ้นสุดสงครามเวียดนามในปี ค.ศ. 1975 เวียดนามได้เป็นประเทศคอมมิวนิสต์โดยสมบูรณ์ การมีเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของโลกที่สำคัญ ประกอบกับสหภาพโซเวียตประกาศใช้นโยบายเปิดประเทศที่เรียกว่า Glasnost and Perestroika ซึ่งมีผลต่อประเทศในโลกคอมมิวนิสต์ด้วย โดยเวียดนามได้เปิดและปฏิรูปประเทศโดยนโยบาย โด่ยเหม่ย โดยเริ่มเปิดประเทศเป็นแบบเสรีมากขึ้น อนุญาตให้ประชาชนดำเนินธุรกิจการค้าของตัวเอง การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991 ทำให้เวียดนามเปิดประเทศมากขึ้นทำการติดต่อค้าขายกับโลกเสรีประชาธิปไตยมากขึ้น แม้แต่สหรัฐอเมริกา และพัฒนาเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมมากขึ้น 

     การที่รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์แต่ละสมัยมีวิสัยทัศน์ที่ต้องการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า และตั้งเป้าจะเป็นเสือตัวใหม่แห่งเอเชียเช่นเดียวกับไทย ในปี พ.ศ.2529 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้เริ่มการปฏิรูปประเทศโดยเริ่มจากระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอันดับแรก จากระบบเศรษฐกิจรวมศูนย์แบบสตาลิน (the centrally planned Stalinist command economy) แบบคอมมิวนิสต์ มาเป็นนโยบายโด่ย เหม่ย (Doi Moi) หลังจากที่เห็นแล้วว่าการพัฒนาเศรษฐกิจในแบบสังคมนิยมไม่น่าจะทำให้ประเทศก้าวไกลได้มากนัก เป็นการเริ่มต้นการพัฒนาประเทศที่มีรูปแบบไปทางระบบเสรีนิยม เพราะสาระสำคัญของนโยบายนี้จะเน้นการพัฒนาด้านการเกษตร และเศรษฐกิจ เป็นการปูพื้นฐานเบื้องต้นในการพัฒนาประเทศในขณะที่ระบบการปกครองยังเป็นแบบสังคมนิยม(คอมมิวนิสต์)อยู่ จากนั้น ได้มีการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2534 - 2544) ในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ และล่าสุด ในการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์สมัยที่ 9 เมื่อเดือนเมษายน 2544 ที่ประชุมได้ให้การรับรองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศต่อไปอีก 10 ปี คือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 - 2554 ให้รอบด้านมากขึ้น นับแต่การเพิ่มศักยภาพผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวในประเทศ สร้างเสริม ผลักดันการพัฒนาประเทศต่อไปอีก โดยเฉพาะการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม และความทันสมัยในลักษณะที่เวียดนามยังมีรูปแบบการปกครองเป็นระบบสังคมนิยมอยู่ 


      สงครามเวียดนาม (Vietnam Wars, ค.ศ. 1957-1975) 
เป็นสงครามระหว่างเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ที่สนับสนุนโดยสหรัฐอเมริกา เพื่อตัดสินว่าควรรวมเวียดนามเป็นหนึ่งเดียวตามข้อตกลงเจนีวา ค.ศ. 1954 หรือไม่ สงครามจบลงด้วยชัยชนะของเวียดนามเหนือ และรวมประเทศเวียดนามทั้งสองเข้าด้วยกัน ซึ่งปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศเวียดนาม ในประเทศเวียดนามเองเรียกสงครามนี้ว่า สงครามปกป้องชาติจากอเมริกัน หรือ สงครามอเมริกัน 

     เวียดนาม เหนือและเวียดนามใต้ 
ในปี 2448 โฮจิมินห์และขบวนการเวียดมินท์ ทำสงครามต่อสู้กับฝรั่งเศสเพื่อให้ได้เอกราชคืนมาต้องใช้เวลาถึง 9 ปี เวียดนามจึงเอาชนะฝรั่งเศสได้ เมื่อ 7 พ.ค.2497 ซึ่งเป็นวันเดียวกับทหารเวียดมินท์ยึดเดียนเบียนฟูได้ ฝรั่งเศสจึงต้องยอมลงนามในสัญญาสงบศึกเรียกว่า อนุสัญญาเจนีวา/ข้อตกลงเจนีวา เมื่อ 20 ก.ค.2497 สาระสำคัญของสัญญา คือ ต้องแบ่งประเทศออกเป็นสองประเทศ เป็น เวียดนามเหนือ เวียดนามใต้ โดยยึดถือเอาเส้นขนานที่ 17 เป็นเส้นแบ่งเขต นี่เองจึงทำให้เกิดอุบัติแห่งสงคราม เมื่อ 2497 เมื่อเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ทำสงครามเพื่อรวมให้เป็นหนึ่ง 

      ประเทศเวียดนามเหนือ ซึ่งมีการปกครองภายใต้การนำของโฮจิมินห์ พยายามที่จะรวม เวียดนามทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน จึงส่งกำลังแทรกซึมเข้าไปในเวียดนามใต้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 โดยแฝงเข้าไปในลักษณะผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ จากนั้นได้ปฏิบัติการ รุกราน ด้วยอาวุธและกำลังทหารอย่างรุนแรง ตลอดจนโฆษณาชวนเชื่อโจมตีรัฐบาล เวียดนามใต้ ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี ประกอบกับการดำเนินนโยบายด้านการบริหารประเทศ ของรัฐบาลเวียดนามใต้ประสบความล้มเหลว จึงได้ร้องขอความช่วยเหลือทางทหารและ เศรษฐกิจจากมิตรประเทศฝ่ายโลกเสรี 
ประเทศเวียดนามใต้ หรือ รัฐเวียดนาม เป็นประเทศหนึ่งที่ปรากฎบนแผนที่โลกในช่วง พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2519 โดยแบ่งจากเวียดนามเหนือที่ตำแหน่งละติจูดที่ 17 การแบ่งแยกเวียดนามเหนือและใต้นั้นเกิดขึ้นจากสนธิสัญญาเจนีวา หลังจากที่ทางฝรั่งเศสได้ปกครองหลายประเทศในแถบอินโดจีน ซึ่งในปี 2519 นั้นได้รวมเข้ากับเวียดนามเหนือเป็นประเทศเวียดนาม ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 

เวียดกง (Viet Cong)
      เวียดกง (Viet Cong) หรือชื่ออย่างเป็นทางการ แนวร่วมแห่งชาติเพื่ออิสรภาพเวียดนามใต้ (National Front for the Liberation of South Vietnam)เป็นกลุ่มคนในเวียดนามใต้ที่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ที่ไม่เห็นด้วยกับการบริหารประเทศของโงดินห์ เดีนมซึ่ง เป็นขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านสาธารณรัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) ในช่วงสงครามเวียดนาม เวียดกงได้รับการสนับสนุนทางอาวุธยุทโธปกรณ์จากฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ และกองทัพประชาชนเวียดนาม 

     ชื่อ "เวียดกง" มาจากคำว่า "Vietnamese Communist" (Vi?t Nam C?ng S?n) และใช้กันแพร่หลายเมื่อคำนี้ถูกใช้โดยโง ดินห์ เดียม ประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐเวียดนาม เวียดกงก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1960 ก่อนจะสลายตัวไปใน ค.ศ.1976 หลังชัยชนะของฝ่ายเวียดนามเหนือต่อเวียดนามใต้ และเกิดการรวมประเทศเวียดนามในที่สุด

 

 

 

ข้อมูลประเทศเวียดนาม
คำอธิบาย: http://www.thaigoodview.com/files/u30282/Untitled-22.gif
คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms/other/for01020352p2.jpg
  สมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน ได้รับการจัดตั้งขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ณ วังสราญรมย์ ในกระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร โดยมีประเทศสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา บรูไน ดารุสซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในวันที่ 8 มกราคม 2527 เวียดนามได้เข้าร่วมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 และกัมพูชาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542
ภูมิภาคอาเซียนนั้น ประกอบด้วยประชากรประมาณ 567 ล้านคน มีพื้นที่โดยรวม 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติประมาณ 1,100 พันล้านดอลลาร์ และรายได้โดยรวมจากการค้าประมาณ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ (สถิติในปี 2550)
วัตถุประสงค์
ปฏิญญา อาเซียน (The ASEAN Declaration) ได้ระบุว่า เป้าหมายและจุดประสงค์ของอาเซียน คือ 1) เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรมในภูมิภาค และ 2) ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยการเคารพหลักความยุติธรรมและ  หลักนิติธรรมในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาค ตลอดจนยึดมั่นในหลักการแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ
ใน โอกาสครบรอบ 30 ปีของการก่อตั้งอาเซียน ในปี 2540 (ค.ศ.1997) ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรอง “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” (ASEAN Vision 2020) โดยเห็นพ้องกันในวิสัยทัศน์ร่วมของอาเซียนที่จะเป็นวงสมานฉันท์ในภูมิภาค ตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก การใช้ชีวิตในสภาพที่มีสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง ผูกมัดกันเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนา ที่มีพลวัตและในประชาคมที่มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน
ปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก อันได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community–ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ภายในปี 2563 ต่อมา ในการประชุม สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ ผู้นำประเทศอาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้ว เสร็จภายในปี 2558
ประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
    1. ไทย
    2. มาเลเซีย
    3. ฟิลิปปินส์
    4. อินโดนีเซีย
    5. สิงคโปร์
    6. บรูไน
    7. ลาว
    8. กัมพูชา
    9. เวียดนาม
    10. พม่า
การแต่งกาย
คำอธิบาย: http://3.bp.blogspot.com/_qLm8QMPwSFg/Smfw8O8VksI/AAAAAAAAAE4/mdJMBsGaqqg/s400/malaysian_girls.jpg

    
คำอธิบาย: http://61.7.221.113/Asianroom/th/images/stories/ASEAN/Images/aseanjakarta.jpg
สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย

 

เพลงอาเซียน
* อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ
อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ
มาเลเซีย พม่า กัมพูชา ลาว ไทย
สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน ฟิลิปปินส์ ... อินโดนีเซีย

อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ
อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ

(ญ.) รอบบ้านเราอยู่ติดกัน ขอบรั้วชนกัน เป็นบ้านพี่เมืองน้อง
ตะวันออกเฉียงใต้เรืองรอง แผ่นดินสีทองสาดส่องบ้านเรา
รอบบ้านเราอยู่ติดกัน สุขทุกข์รวมกัน แบ่งปันบรรเทา
ฝนรั่ว ฝนแล้งก็แบ่งเบา บ้านเธอบ้านเขาเรามาช่วยเหลือกัน

(ซ้ำ *)
อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ
อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ
(ช.) ข้าวปลาและอาหาร ตั้งร้านเรียงกัน ผูกพันแลกเปลี่ยน
วัฒนธรรมเราหมุนเวียน ปรับเปลี่ยนเชื่อมโยง เสริมส่งแข็งแรง
(พร้อมกัน) มาจับมือกันสร้างรั้ว เพราะลมเศรษฐกิจนั้นมันพัดแรง
รั้วนี้จะแข็งจะแกร่ง มันอยู่ที่เรา ผองชาวอาเซียนร่วมใจ

(ญ.) รอบบ้านเราอยู่ติดกัน ขอบรั้วชนกัน เป็นบ้านพี่เมืองน้อง
ตะวันออกเฉียงใต้เรืองรอง แผ่นดินสีทองสาดส่องบ้านเรา
(ช.) เพราะบ้านเราอยู่ติดกัน สุขทุกข์ร่วมกัน แบ่งปันบรรเทา
ฝนรั่ว ฝนแล้งก็แบ่งเบา บ้านเธอบ้านเขาเรามาช่วยเหลือกัน

อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ
อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ

(ช.) ข้าวปลาและอาหาร ตั้งร้านเรียงกัน ผูกพันแลกเปลี่ยน
วัฒนธรรมเราหมุนเวียน ปรับเปลี่ยนเชื่อมโยง เสริมส่งแข็งแรง
(พร้อมกัน) มาจับมือกันสร้างรั้ว เพราะลมเศรษฐกิจนั้นมันพัดแรง
รั้วนี้จะแข็งจะแกร่ง มันอยู่ที่เรา ผองชาวอาเซียนร่วมใจ

(อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ) มาเลเซีย พม่า
(อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ) กัมพูชา ลาว ไทย
(อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ) สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน
(อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ) ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ... อาเซียน

 

ธงชาติเวียดนาม
คำอธิบาย: http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/302/5302/images/vietnam-flag.gif
ตราแผ่นดิน
คำอธิบาย: http://www.thaigoodview.com/files/u31039/Coat_of_arms_of_Vietnam_svg.jpg

 


 

แผนที่
คำอธิบาย: http://www.meetawee.com/home/images/stories/intro_vietnam_map.jpg

ภาษาที่ใช้
  ภาษาเวียดนาม (ti?ng Vi?t, Vi?t ng?) เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ และเป็นภาษาทางการของประเทศเวียดนาม เป็นภาษาแม่ของประชากรเวียดนามถึง 87% รวมถึงผู้อพยพจากเวียดนามประมาณ 2 ล้านคน และรวมถึงชาวเวียดนาม-อเมริกันเป็นจำนวนพอสมควรด้วย ถึงแม้ว่าจะมีการยืมคำศัพท์จากภาษาจีน และเดิมใช้อักษรจีนเขียน แต่นักภาษาศาสตร์ยังคงจัดภาษาเวียดนามให้เป็น ภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก ซึ่งในกลุ่มนี้ภาษาเวียดนามมีผู้พูดมากที่สุด (10 เท่า ของภาษา ที่มีจำนวนคนพูดเป็นอันดับรองลงมา คือ ภาษาเขมร) ในด้านระบบการเขียนของภาษาเวียดนามนั้น แต่เดิมใช้ตัวเขียนจีน เรียกว่า "จื๋อญอ" ต่อมาชาวเวียดนามได้พัฒนาตัวเขียนจีนเพื่อใช้เขียนภาษาเวียดนาม เรียกว่า "อักษรจื๋อโนม" แต่ในปัจจุบันเวียดนามใช้ตัวอักษรโรมันที่พัฒนาขึ้นโดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส

ศาสนา
      ชาวเวียดนามส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ และ ขงจื้อตามลำดับ
เมืองหลวง
      ฮานอย (ภาษาเวียดนาม: อักษรกว๊กหงือ (quoc ngu) Hà N?i; อักษรจื๋อโนม (chu nom) ??) เป็นเมืองหลวงของประเทศเวียดนาม มีประชากรประมาณ 4,100,000 คน (พ.ศ. 2547)ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของเวียตนามเหนือระหว่าง พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2519 และก่อนหน้านั้นเคยเป็นเมืองหลวงของพื้นที่เวีตนามในปัจจุบันเป็นครั้งคราวตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึง    พ.ศ. 2345 ฮานอยตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำแดง อุตสาหกรรมในเมืองคือเครื่องจักร, ไม้อัด สิ่งทอ, สารเคมี และงานหัตถกรรม
สกุลเงิน
คำอธิบาย: http://www.hflight.net/blahdocs/uploads/vnm_1_9845.jpg    

 

ใช้เป็นสกุลด่อง (VPN) อัตราแลกเปลี่ยนคือ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 14,000 ด่อง
อาหารประจำชาติ
ปอเปี๊ยะสด
คำอธิบาย: http://www.hilunch.com/wp-content/uploads/2009/10/por_2Dpia_2Dsod.jpg
หมี่กะทิญวน
คำอธิบาย: http://www.hilunch.com/wp-content/uploads/2008/08/cb-c1-d5-e8-a1-d0-b7-d4-ad-c7-b9-small1.jpg
ดอกไม้ประจำชาติ
คำอธิบาย: http://warbandit.exteen.com/images/Flower/Flower_of_Vietnam_by_refudger.jpg
ดอกไม้ประจำชาติของเวียดนามคือดอกบัว
ชุดประจำชาติ
คำอธิบาย: http://www.siamsanook.com/images/1209265684/1209713776.jpg