จำนวนแกนของเครื่องจักร

          การนับจำนวนแกนของเครื่องจักรจะนับจากแกนที่เครืองจักรสามารถเคลื่อนเครื่องมือตัดไปในทิศทางต่าง ๆ ในศูนย์งานแมชชีนปัจจุบันจะเริ่มจากสามแกนคือ X, Y และ Z           แต่เครื่องจักรรุ่นเก่าๆจะมีแบบที่ถูกเรียกว่าเป็นเครื่องสองแกนครึ่งเนื่องจากแกน Z ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปพร้อมกับแกน X Y ได้ เช่นถ้าต้องการสั่งให้เครื่องเคลื่อนที่จาก (0,0,0) ไปที่ (10,10,10) ในเครื่องสองเแกนครึ่งจะต้องสั่งให้เครื่องเคลื่อนที่ในแนวแกน Z ก่อน คือจาก (0,0,0) ไปที่ (0,0,10) แล้วจึงสั่งให้เคลื่อนไปที่จุด (10,10,10) ต่อไป เขียนเป็น G-code ได้ดังนี้

                    G01Z10.0F100.0;
                    X10.0Y10.0;

          ในขณะที่เครื่องสามแกนจะสามารถเคลื่อนที่ไปได้พร้อมกันทั้งสามแกนเขียนเป็น G-code ได้ดังนี้

                    G01Z10.0X10.0Y10.0F100.0;

          ถ้ามีการติดตั้งแกนหมุนเข้าไปก็จะเป็นเครื่องสี่แกนโดยแกนที่เพิ่มเข้ามาเป็นแกนหมุนรอบแกน X จะถูกเรียกว่าแกน A ถ้าหมุนรอบแกน Y ก็จะเป็นแกน B แกนหมุนที่เพิ่มเข้ามาหากไม่สามารถทำงานพร้อมกับแกนอื่นๆก็จะถูกนับเป็นครึ่งแกนเช่นเดียวกัน
ในกรณีที่เป็นเครื่องสามแกนพื้นฐานที่ถูกติดตั้งโต๊ะหมุนเพิ่มเติม หากโต๊ะหมุนเป็นแค่ครึ่งแกนจะเรียกว่า Indexing Table หากเป็นแบบเต็มแกนจะเรียกว่า Turn Table.
รายละเอียดการเขียน G-code จะอธิบายโดยละเอียดในตอนต่อๆไป