การเตรียมตัวก่อนการออกเดินทาง

      โดยปกติแล้วก่อนการเดินทาง เราจะต้องมีการเตรียม

ตัวอยู่แล้ว ไม่ว่าวางแผนว่าจะไปกับใคร ไปที่ไหน ไปอย่างไร จะไปกี่วัน นอนค้างที่ไหนบ้าง การเตรียมตัวก่อนเดินทางหลักทั่วไปในการเตรียมตัวด้าน

การจัดเตรียมสิ่งของที่จำเป็นก่อนการออก

เดินทางสิ่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่เราปฏิบัติกันจนเคยชิน

อยู่แล้วแต่การเตรียมตัวในด้านสุขภาพก่อน

การเดินทางมักจะเป็นเรื่องที่ถูกมองข้าม
ทั้งๆที่เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากการเดินทางจะทำให้เรา

ไปอยู่ในสภาพแวดล้อม ใหม่ ทั้งในแง่ภูมิประเทศและภูมิอากาศที่แตกต่างไปจากที่ที่เรา

คุ้นเคย

 

หลักทั่วไปในการเตรียมตัวด้านสุขภาพ

ก่อนการเดินทาง

 

1. รักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงก่อนการเดินทาง ไม่ควรเดินทางทั้งๆที่ยังไม่สบายอยู่ ในผู้ที่มีโรคประจำตัวต่างๆ ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอเมื่อจะเดินทางโดยเฉพาะไป

ในต่างประเทศหรือไปเป็นระยะเวลานาน และต้องเตรียมยาประจำตัวไปด้วยเสมอ

2. ต้องหาข้อมูลเรื่องสถานที่หรือประเทศที่เราจะเดินทางไป ว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพในด้านไหนบ้าง เพราะแต่ละประเทศแต่ละพื้นที่จะมีความเสี่ยงแตกต่างกันไป เช่น

3. ควรเตรียมยาประจำตัว และเอกสารทางการแพทย์ที่จำเป็นติดตัวไปด้วยเสมอ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว

4. นอกจากการป้องกันโรคติดต่อแล้ว นักท่องเที่ยว/นักเดินทางไม่ควรมองข้ามภัยอันตรายอื่นๆ เช่นอุบัติเหตุ และความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น ไม่ควรแต่งกายประดับด้วยของมีค่า ซึ่งจะล่อตามิจฉาชีพ และควรศึกษาว่าพื้นที่ใดหรือแหล่งใดไม่ควรเดินทางเข้าไป เพราะอาจเกิดอันตรายเช่นการถูกจี้ ปล้นได้ และไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งผิดกฎหมายต่างๆ เช่น การแลกเงินในตลาดมืด การติดต่อกับแท๊กซี่เถื่อน ซึ่งโอกาสเกิดอันตรายมีสูง จะไม่คุ้มกับเงินที่อาจจะประหยัดได้

 

หลักทั่วไปในการ เตรียมตัวด้าน

การจัดเตรียมสิ่งของที่จำเป็น

ก่อนการออกเดินทาง

 

       สิ่งที่สำคัญรองจากการดูแลสุขภาพร่างกาย นั้นก็คือ การจัดกระเป๋านั่นเอง ซึ่งก่อนอื่นเลย ถ้าเราไม่อยากหลงลืมสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ก็ควรลิสต์รายการข้าวของทั้งหมดออกมา โดยพิจารณาจากโปรแกรมการเดินทางว่าต้องใช้สิ่งของใดบ้าง  และต้องเลือกขนาดกระเป๋าเดินทางให้พอดีกับข้าวของที่จะต้องเตรียมไป แข็งแรง ทนทาน เหมาะสมกับการเดินทางและประโยชน์ใช้สอย คำนึงถึงเรื่องน้ำหนักของกระเป๋า ตลอดจนพื้นที่ที่ใช้ในการวางด้วย จากนั้นก็กำจัดกลิ่นอับของกระเป๋าก่อนเสมอ โดยอาจจะใช้วิธีการนำไปตากแดด หรือฉีดสเปรย์  
ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ นั้นสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่คร่าวๆ ได้ดังนี้ คือ

เครื่องแต่งกาย

ควรเลือกชุดและรองเท้าให้เหมาะสมกับการเดินทางและสถานที่ที่จะไป โดยพิจารณาจากสภาพอากาศด้วย ซึ่งการเก็บเสื้อผ้าโดยวิธีม้วนให้เล็กๆ หรือวางแผ่ลงในกระเป๋าทีละตัวให้ครบก่อน แล้วค่อยพับแขนเสื้อทีละตัวจนครบ ก็จะช่วยประหยัดพื้นที่ในกระเป๋า และไม่ทำให้เสื้อผ้ายับยู่ยี่ ส่วนชุดชั้นในก็พับเล็กๆ แล้วแยกเก็บไว้ในช่องที่เหมาะสม รองเท้าก็ควรนำถุงเท้ายัดใส่บริเวณหัวรองเท้า นอกจากจะช่วยรักษารูปทรงแล้ว ยังสามารถประหยัดพื้นที่ได้อีกด้วย แล้วใส่ถุงพลาสติกหรือถุงผ้า นำไปไว้ตำแหน่งล่างสุดของกระเป๋า และเครื่องประดับ accessory ก็ควรหากล่องเล็กๆ ใส่ แยกเก็บไว้ต่างหาก

ของใช้ส่วนตัว

    จำพวก สบู่ แชมพู ครีม ยาสีฟัน โฟมล้างหน้า ฯลฯ ควรเลือกขนาดเล็กที่พกพาสะดวก หรือแบ่งใส่ขวดพลาสติกเล็กๆ บางครั้งอาจจะใช้วิธีแบ่งใส่หลอด และเขียนชื่อสิ่งของติดไว้ แต่ถ้าหากพักที่โรงแรมก็ควรนำไปเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น เพราะส่วนมากแล้วทางโรงแรมจะมีของใช้เหล่านี้ให้ เว้นซะแต่ว่าเราจะต้องใช้ชนิดใดเป็นพิเศษ  ซึ่งหากเดินทางโดยเครื่องบินก็ควรศึกษาเรื่องปริมาตรของของเหลวต่างๆ ให้ดี มิฉะนั้นอาจจะนำขึ้นเครื่องได้ไม่หมด แล้วหากถุงพลาสติกแบบ zip - lock ใส่ของเหลวต่างๆ ไว้อีกที เพื่อไม่ให้เลอะเทอะข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ

ยา

    หากมีโรคประจำตัวก็ควรพกยาติดตัวไปด้วยทุกครั้ง และควรนำยาสามัญประจำบ้าน หรือยาทั่วไป พกติดตัวไว้เผื่อเจ็บไข้ได้ป่วยกะทันหัน โดยพิจารณาได้จากกิจกรรมต่างๆ ระหว่างการเดินทาง เช่น หาก
เดินทางเข้าป่า ก็อย่าลืมพกยากันยุง ยาหม่อง ยาดม พลาสเตอร์ติดแผล เป็นต้น ซึ่งควรนำไปให้พอเหมาะ แล้วแยกใส่กล่องยาไว้ เขียนฉลากให้ชัดเจน หากต้องเดินทางไปต่างประเทศก็อย่าลืมตรวจเช็กเรื่องการนำยาเข้าประเทศ และพกใบรับรองจากแพทย์ไปด้วย

อุปกรณ์สำคัญ

  เช่น สายชาร์จโทรศัพท์ ปากกา กล้องถ่ายรูป เข็มทิศ แผนที่ ไฟฉาย ถ่าน อุปกรณ์แปลงหัวปลั๊ก และสมุดบันทึก เป็นต้น ให้เลือกนำไปเฉพาะที่จำเป็น โดยพิจารณาจากโปรแกรมการเดินทาง แล้วหา
​กระเป๋าเป้เล็กๆ หรือถุงผ้าใส่ แยกเก็บไว้ต่างหาก ถ้าบางชิ้นเป็นสายยาวๆ ก็ม้วนให้เป็นระเบียบก่อน และควรเก็บใส่กล่องขนาดพอดี จะช่วยให้เป็นระเบียบเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น ง่ายต่อการใช้สอย

 ของใช้อื่นๆ เช่น ถุงนอน ร่ม เสื้อกันฝน ไฟแเช็ก มีดพับ กระติกน้ำ เชือก เต็นท์ เป็นต้น โดยเลือกนำไปเฉพาะที่จำเป็นต่อการเดินทาง ซึ่งพิจารณาจากกิจกรรม โปรแกรมการเดินทาง และควรคำนึงถึงวิธีการเดินทางด้วย หากเดินทางโดยเครื่องบิน สิ่งของบางอย่างก็ไม่สามารถนำขึ้นเครื่องได้ ที่สำคัญอย่าลืมพกถุงผ้า ถุงพลาสติก หรือถุง zip - lock ไปด้วย รับรองว่าได้ใช้ประโยชน์แน่นอน

Responsive image

 

สิ่งของที่จำเป็นต้องมีไว้ในกระเป๋าเดินทาง เมื่อต้องออกเดินทาง


1. กระเป๋าสตางค์และเงินสด วางแผนเลยว่าจะพกเงินสดติดตัวไปเท่าไหร่ ไปกด ATM ที่นั่นจะสะดวกไหม

2. บัตรต่างๆ   ที่สำคัญๆ ก็เช่น บัตรประชาชน บัตร  ATM บัตรเครดิต บัตรประกันสังคม ฯ

3. กระเป๋าถือหรือสะพายไหล่ ใช้เดินเที่ยวระหว่างวัน

4. กล้องถ่ายภาพ, ฟิล์ม, เมมโมรี่การ์ด, ขาตั้งกล้อง สายชาร์จกล้องถ่ายรูป เตรียมไปให้เพียงพอต่อการใช้งาน อย่าขนไปเยอะเกินความจำเป็น เพราะคุณไม่ได้ไปสตูดิโอ ถ้าเป็นไปได้ใช้เลนส์ตัวเดียวก็เกินพอ เลือกช่วงระยะความชัดที่ครอบคลุม

5. ยาโรคประจำตัว หรือยาอะไรที่กำลังกินต่อเนื่องอยู่ อย่าเอาไปรวมกับเสื้อผ้า แยกออกมาไว้ใกล้ๆ มือเลย เวลาแวะกินข้าวแล้วต้องกินยาก่อนหรือหลังอาหาร

6. คู่มือนำเที่ยว สมุดบันทึก ปากกา - คู่มือจะแนะนำที่พัก ร้านอาหาร ตารางรถ และสถานที่สำคัญต่างๆ แก่คุณ บางครั้งก็ปิดคู่มือเสีย แล้วใช้ปากนำเที่ยวบ้าง เพื่อสร้างความคุ้นเคยกันคนในพื้นที่ สมุดบันทึกจะเป็นคู่มือนำเที่ยวในแบบของคุณเอง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ หรือการมาเยือนครั้งที่ 2สมุดโน้ต ปากกา บันทึกการเดินทางก็ได้ หรือเอาไว้จดค่าใช้จ่าย จดเบอร์โทร

7. หมวก ใช้ปกปิดบังเเสงเเดด กันลม กันฝนบางๆ เป็นต้น

8. แว่นกันแดด

9. ครีมกันแดด ถ้าเป็นทริปกลางแจ้งแสงแดดจ้า ทาก่อนออกแดด 15 นาที และทาเพิ่มทุกๆ 2 ชั่วโมง

10. ร่มพับ บางคนมีหลายคันอยู่ที่บ้านแต่ขี้เกียจพกไป พอไปเจอแดดแรงในที่สุดต้องยอมซื้อ

11. กุญแจบ้าน ในเมื่อตอนที่เรากำลังเที่ยว เราแทบไม่ต้องใช้มันอยู่แล้ว งั้นหลังจากล็อคบ้านก่อนออกเดินทางปั๊บ

12. ไฟฉาย  เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอีกอย่างหนึ่ง ในช่วงเวลาที่เราเดินทางไปในสถานที่ที่มีแสงสว่างน้อย โดยเฉพาะในเวลาค่ำคืน

13. คัทเตอร์, กรรไกร, กรรไกรตัดเล็บ, มีดพกเอนกประสงค์  มันอาจไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์บ่อยนัก แต่พอถึงคราวจำเป็นเราหยิบมาใช้ได้ทันท่วงที อุปกรณ์เล็กๆ พวกนี้ อย่างน้อยก็ใช้ป้องกันตัวได้ พกไปไม่ผิดกฎหมาย

14. โทรศัพท์มือถือ บันทึกเบอร์โทรที่จำเป็นไว้ในโทรศัพท์ เพื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินจะได้ใช้โทรหาได้สะดวก

15. ถุงซิปล็อก ใส่ของใช้ในห้องน้ำ

16. ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ลืมกันเป็นประจำ ซื้อใหม่กันตลอด เหตุเพราะ..เอาไว้ก่อน เดี๋ยวพรุ่งนี้เช้ายังต้องใช้

17. โฟมล้างหน้า

18. แชมพู ครีมนวด ครีมอาบน้ำ แป้ง ครีมหรือโลชั่นหลังอาบน้ำและอุปกรณ์ทำความสะอาดร่างกาย - สบู่ 

19. กระดาษทิชชู แนะนำให้ซื้อแบบซองที่ดึงใช้ทีละแผ่น เพราะประหยัดเนื้อที่ดีค่ะ

20. ยาทากันยุง มีทั้งแบบโลชั่นและสเปรย์ เลือกใช้กันดูค่ะ

21. ถุงผ้าหรือกระเป๋าใบเล็ก ใส่ของใช้ประเภทอุปกรณ์ไฟฟ้าและอื่นๆ

22. สายชาร์จมือถือ

23. ปลั๊กพ่วง

24. กระเป๋าสัมภาระ หรือ เป้  เป็นสิ่งแรกเลยที่เราจะต้องมองหาไว้ เพราะถ้าไม่มีกระเป๋า เราก็จะนำสัมภาระต่างๆ ไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราจะต้องเลือกกระเป๋าให้เหมาะสมกับการเดินทางแบบ Backpacker ซะก่อน โดยเลือกให้มีขนาดที่สามารถสะพายไหว ไม่ใหญ่จนเกินไป เหมาะสมกับระยะเวลาเดินทาง และสถานที่ที่จะไป

25. เสื้อผ้า  ควรคำนึงถึงโปรแกรมการเดินทางว่าคุณจะทำอะไร ที่ไหนบ้าง ถ้าไม่เสี่ยงต่อการสูญเสียทรัพยากรในเป้ ก็จัดกางเกงไปสัก 3 ตัว เสื้อไม่เกิน 5 ตัว กางเกงใส่ซ้ำได้ บางคน ตัวเดียวตลอดงานยังเคยมี ส่วนเสื้อแห้งเร็ว วันที่เหลือเราซักเอา ชุดชั้นในเตรียมไป 3 ตัวเป็นอย่างน้อย เพื่อหมุนเวียนใส่

       - เสื้อ

       - กางเกงหรือกระโปรง

       - ชุดนอน

       - ชุดชั้นใน

26. ผ้าเช็ดตัว ใช้เช็ดตัว ใช้ห่มก็ได้ เป็นต้น พกไว้สารพัดประโยชน์

27. หมวก ใช้ปกปิดบังเเสงเเดด กันลม กันฝนบางๆ เป็นต้น

28. รองเท้าแตะ  นำไปเปลี่ยนสลับกับรองเท้าผ้าใบบ้างในบางครั้ง โดยเลือกแบบราคาไม่แพง และพร้อมที่จะทิ้งได้ตลอดเวลา

29. ผ้าอนามัย ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น

30. ยารักษาโรค ยาประจำตัวห้ามลืม สำหรับคนมีโรคประจำตัวสำคัญมาก หรือถ้าไม่มีโรคประจำตัว อย่างน้อยก็ต้องพก พาราเซตามอล ไปซักหน่อย ยาหม่อง ยาดม พลาสเตอร์ยา แอลกอฮอล์ล้างแผล เป็นต้น

31. กระเป๋าเครื่องสำอางและเครื่องประดับ

32. ถุงพลาสติก เรียกแบบชิคๆ ว่าถุงก๊อบแก๊บ เตรียมไปสัก 3 -4 ใบ เอาไว้ใส่เสื้อผ้าที่ใส่แล้ว เสื้อผ้าที่เปียกน้ำ

33. รอยยิ้ม - ไปที่ไหนก็มีแต่มิตรภาพ

 

 

รอยยิ้ม - ไปที่ไหนก็มีแต่มิตรภาพ